svasdssvasds

ขึ้นค่าไฟปี’67 ถึงเวลา..พลังงานทางเลือก คือ พลังงานทางรอด

ขึ้นค่าไฟปี’67 ถึงเวลา..พลังงานทางเลือก คือ พลังงานทางรอด

ได้รับข่าวเศร้าไปแล้ว ! ว่าจะมีการค่าไฟขึ้นปี’67 กกพ. ประกาศค่าเอฟที 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย มีผลงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 ทำให้หลายคนคิดว่าถึงเวลา..พลังงานทางเลือก คือ พลังงานทางรอด ในยุคนี้แล้ว

ได้รับข่าวร้ายไปแล้ว ! เมื่อ…ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และมีมติเห็นชอบให้ปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 เท่ากับ 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

เรื่องค่าไฟขึ้นปี’67 นับว่าเป็นข่าวร้ายมากๆ สำหรับประชาชน และภาคธุรกิจอย่างมาก ที่เพิ่งดีใจได้ไม่นานหลังรัฐประกาศลดค่าไฟฟ้าไปเมื่อเร็วๆนี้ แต่…ในเมื่อทำอะไรไม่ได้ หนทางรับมือค่าไฟขึ้น ค่าไฟแพง คือ ต้องหันมาใช้พลังงานทางเลือก หรือพลังงานทดแทน ซึ่งหนทางในอนาคตพลังงานทางเลือก จะกลายเป็น พลังงานทางรอด ที่ผู้คนโหยหายเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และลดค่าไฟฟ้าให้ถูกลง

 

ประเด็นเรื่องค่าไฟขึ้น ค่าแพง เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงมากในขณะนี้ ล่าสุดมีการจัดงานเสวนา KTC FIT Talks ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ "ถึงเวลาพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานทางรอด" เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยเชิญตัวแทนภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน ร่วมเปิดมุมมองต่อพลังงานทางเลือก แนวโน้มของการใช้งานรถพลังงานไฟฟ้าและโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงพลังงานทางเลือกในระดับครัวเรือน และสิทธิพิเศษเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสมาชิกบัตรเครดิตและผู้บริโภค

โดย “นายวัชรินทร์ บุญฤทธิ์” ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน ได้นำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ ในสัดส่วนประมาณ 15% ของพลังงานไฟฟ้า และพยายามเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนให้มากขึ้น ส่วนภาคเอกชนก็พยายามใช้พลังงานทดแทนด้วยการติดโซลาร์ รูฟท็อป เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยสิ่งแวดล้อม ช่วยลดต้นทุน

ทั้งนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) โดยกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนที่ร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2580 และมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งในส่วนของพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ซึ่งขับเคลื่อนผ่านมาตรการต่างๆ

ด้านนายสุวัฒน์ เทพปรีชาสกุล ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต "เคทีซี" หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เคทีซีตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้ ESG หรือแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนมาตลอด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องของการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคมไทยเพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง และพลังงานทางเลือกจากธรรมชาติกำลังเป็นความจำเป็นที่เข้ามาทดแทนพลังงานแบบเดิม เราจึงพยายามวางแผนกลยุทธ์การตลาดต่างๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนให้คนไทยและสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่สนใจเรื่องของพลังงานทดแทน สามารถเข้าถึงและจับต้องได้

อย่างไรก็ตามในงานเสววนายังมีการเผยยอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าในไทย ปี2566 มีสูงขึ้นถึง 57,000 คัน จากปัจจัยบวก คนหันใช้รถ EV เพื่อรักษ์โลกมากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สถานนีชาร์ทที่มีมากขึ้น รวมถึงรัฐเร่งส่งเสริมจึงคนมีความมั่นใจมากขึ้น แถมใช้รถ EV ช่วยประหยัดเงินเติมน้ำมันลดลงถึง 5 เท่า  การบำรุงรักษาน้อยกว่ารถที่ใช้น้ำมัน อีกทั้งยังมีข้อดี คือ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ทำให้คนใช้งานสะดวกสบาย ส่วนการโซลาร์ รูฟท็อป เทรนด์ในไทยขณะนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นการผลิตไฟฟ้าที่ต้นทุนต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน

ค่าไฟขึ้นปี’67 นับว่าเป็นปีความท้าทายวงการพลังงานไทย และชีวิตความเป็นอยู่ผู้คน ดังนั้นเชื่อได้ว่า ปี’67 พลังงานทางเลือก จะกลายเป็น พลังงานทางรอด !!! 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related