svasdssvasds

ครั้งแรกของโลก นักวิทย์จับภาพ "ปลา" ที่อยู่ลึกที่สุดในมหาสมุทรได้

ครั้งแรกของโลก นักวิทย์จับภาพ "ปลา" ที่อยู่ลึกที่สุดในมหาสมุทรได้

เป็นครั้งแรกของโลก ที่เราสามารถจับภาพสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในจุดที่ลึกที่สุดในโลกได้ และไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน และสิ่งมีชีวิตที่ว่าคือ สเนลฟิช หน้าตาเป็นไง ไปดู!

เป็นครั้งแรกของโลกที่เราได้เห็นหน้าตาและรูปร่างของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในจุดที่ลึกที่สุดใต้มหาสมุทร เมื่อวันที่ 2 เม.ย. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง สามารถจับภาพ “ปลา” ในระดับความลึกพิเศษ 8,336 เมตร หรือ 27,349 ฟุต ใต้มหาสมุทรได้ ซึ่งนี่เป็นกระบวนการการสังเกตธรรมชาติที่ลึกที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา

สเนลฟิช (Snailfish) Cr. University of Western Australia ภารกิจนี้ นำทีมถ่ายภาพโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น การถ่ายทำนี้ ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า แลนเดอร์ (Lander) ที่ได้นำไปหย่อนไว้ ณ ร่องลึกอิซุ-โอกาซาวาระ ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ผลคือ แลนเดอร์ สามารถจับภาพปลาสเนลฟิช (Snailfish) (ชื่อวิทยาศาสตร์คือ : Pseudoliparis belyaevi)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในความเป็นจริงเคยมีการสังเกตปลาที่ลึกที่สุดอยู่ก่อนแล้ว ในระดับความลึกที่ 8,178 ม. ณ ทางใต้ในมหาวมุทรแปซิฟิก ณ ร่องลึกบาดาลมาเรียนา แต่ไม่ประสบความสำเร็จใจการค้นพบสิ่งมีชีวิต จึงเพิ่มความลึกไปอีกโดยมาเริ่มที่ญี่ปุ่น

Snailfish มีมากกว่า 300 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญเป็นสัตว์น้ำตื้นและสามารถพบได้ในบริเวณปากแม่น้ำ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ในระดับความลึกขนาดนี้ เราสามารถพบปลาชนิดนี้ได้ ซึ่งคาดว่าพวกมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตในน่านน้ำเย็นจัดของอาร์กติกและแอนตาร์กติก และภายใต้สภาวะกดดันที่รุนแรงซึ่งอยู่ในร่องลึกที่สุดในโลก

มีการนำเหยื่อมาล่อปลา เพื่อหาสิ่งมีชีวิตด้วย Cr. University of Western Australia

เพราะร่างกายที่เป็นวุ้น เลยทำให้พวกมันอยู่รอดได้ สเนลฟิชไม่มีถุงว่ายน้ำเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ที่จะมีอวัยวะที่สามารถอัดแก๊สเข้าไปทำให้ควบคุมการลอยตัวได้ แต่ก็สามารถอยู่รอดได้ด้วยการดูดติดกับพื้นและกินสัตว์จำพวกครัสเตเชียนขนาดเล็กอยู่มีมากในร่องลึก

เป็นเรื่องยากมากที่เราจะพบสัตว์น้ำในระดับความลึกขนาดนี้ ที่หากเทียบความลึก 8 กม. พวกมันจะต้องเผชิญหน้ากับแรงดัน 800 เท่าของแรงดันที่พื้นผิวมหาสมุทร แต่ศาสตราจารย์ท่านหนึ่งเคยคาดการณ์ไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้วว่า เราอาจสามารถพบปลาได้ในความลึก 8,200-8,400 เมตร ซึ่งวันนี้การคาดการณ์ในวันนั้นก็เป็นจริงแล้วเรียบร้อย

Prof. Jamieson เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยทะเลลึก Minderoo-UWA ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจครั้งนี้ ที่นอกเหนือจากการค้นพบในบริเวณดังกล่าว พวกเขาก็ได้สำรวจร่องลึกริวกิวด้วย เขาทำงานร่วมกับทีมจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งโตเกียว

ที่มาข้อมูล

BBC

The University of Western Australia

related