svasdssvasds

แปลก! จระเข้มีลูกเอง โดยไม่ต้องสืบพันธุ์กับตัวผู้ อยู่ตัวเดียวมานาน 16 ปี

แปลก! จระเข้มีลูกเอง โดยไม่ต้องสืบพันธุ์กับตัวผู้ อยู่ตัวเดียวมานาน 16 ปี

นักวิทยาศาสตร์ พบปรากฏการณ์ครั้งแรกของโลกจาก “แม่จระเข้มีลูกโดยไม่ต้องมีสืบพันธุ์กับตัวผู้” ซึ่งแม่จระเข้อเมริกันตัวนี้อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลา 16 ปีที่สวนสัตว์แห่งหนึ่งในคอสตาริกา

ถือเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกและเชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน เมื่อนักวิจัยคอสตาริกาพบว่า เมื่อปี 2018 มีจระเข้อเมริกันตัวเมียตัวหนึ่งวางไข่ 14 ฟอง โดยที่ไม่มีจระเข้ตัวผู้อยู่ด้วยเลย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดอย่างมากสำหรับสัตว์สัตว์เลื้อยคลานที่เลี้ยงไว้ ซึ่งแม่จระเข้อเมริกันยังคงฟูมฟักไข่ที่คลอดออกมาอย่างทะนุถนอม นานกว่า 3 เดือน โชคร้ายที่ไข่ทั้งหมดก็ไม่มีฟองใดเลยที่สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังพบว่า ในไข่ใบหนึ่งมีลูกจระเข้ตายอยู่ โดยมีรูปร่างสมบูรณ์

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Biology Letters นักวิทยาศาสตร์ได้ทดสอบองค์ประกอบทางพันธุกรรมของตัวอ่อนของจระเข้ตัวนี้ พวกเขาพบลำดับดีเอ็นเอที่แสดงว่าเป็นผลจาก “การสืบพันธุ์โดยไม่มีส่วนร่วมทางพันธุกรรมของเพศผู้” หรือ facultative parthenogenesis (FP) ซึ่งจะใช้แค่พันธุกรรมจากตัวแม่เท่านั้น

แปลก! จระเข้มีลูกเอง โดยไม่ต้องสืบพันธุ์กับตัวผู้ อยู่ตัวเดียวมานาน 16 ปี Photo : Reuters

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

ปรากฏการณ์ “การสืบพันธุ์โดยไม่มีส่วนร่วมทางพันธุกรรมของเพศผู้” นี้ นักวิทยาศาสตร์บางคนเรียกสั้นๆ ว่า "การกำเนิดแบบบริสุทธิ์ หรือ virgin birth" ซึ่งได้รับการบันทึกไว้ในปลา นก กิ้งก่า และงูชนิดอื่นๆ ด้วย แต่นักวิทยาศาสตร์บอกว่า นี่เป็นตัวอย่างแรกที่พบในจระเข้

ในการสร้างเซลล์ไข่ เซลล์ตั้งต้นจะแบ่งออกเป็น 4 เซลล์

เซลล์หนึ่งกลายเป็นเซลล์ไข่และยังคงรักษาโครงสร้างเซลล์ที่สำคัญและไซโตพลาสซึมที่มีลักษณะเป็นเจล ในขณะที่เซลล์อื่นๆ มีสารพันธุกรรมพิเศษ จากนั้นเซลล์ใดเซลล์หนึ่งจะทำหน้าที่เป็นเซลล์สเปิร์ม (เซลล์ของตัวผู้) และหลอมรวมกับไข่เพื่อให้กลายเป็น "ปฏิสนธิ" โดยเซลล์ไข่ของตัวเมียสามารถพัฒนาเป็นตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิกับเซลล์สเปิร์มของตัวผู้

แปลก! จระเข้มีลูกเอง โดยไม่ต้องสืบพันธุ์กับตัวผู้ อยู่ตัวเดียวมานาน 16 ปี Photo : Freepik

จระเข้อเมริกันถือว่ามีเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติ ซึ่งการศึกษาระบุว่า ตามสมมติฐานข้อหนึ่ง “การสืบพันธุ์โดยไม่มีส่วนร่วมทางพันธุกรรมของเพศผู้” อาจพบได้บ่อยในบรรดาสปีชีส์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า "การกำเนิดบริสุทธิ์" ที่คอสตาริกาอาจนำไปสู่ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับบรรพบุรุษของจระเข้ที่เดินบนโลกในยุคไทรแอสซิกเมื่อประมาณ 250 ล้านปีก่อน

การค้นพบนี้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่น่าดึงดูดใจเกี่ยวกับความสามารถในการสืบพันธุ์ที่เป็นไปได้ของญาติของจระเข้และนกที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มของไดโนเสาร์ หรือ เทอโรซอร์ "กิ้งก่ามีปีก" ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในยุคดึกดำบรรพ์

ที่มา : Reuters

related