svasdssvasds

วงแหวนแห่งไฟคืออะไร? ชวนรู้จัก Ring of Fire จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวโลกถึง 90%

วงแหวนแห่งไฟคืออะไร? ชวนรู้จัก Ring of Fire จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวโลกถึง 90%

Ring of Fire หรือวงแหวนแห่งไฟคืออะไร? ทำไมถึงมีภูเขาไฟมากกว่า 500 ลูก สร้างแผ่นดินไหวรุนแรงบนโลกหลายครั้ง มันเกิดขึ้นได้อย่างไร มนุษย์แก้ไขได้ไหม?

เวลาเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟปะทุ คุณคิดว่าพื้นที่เกิดบ่อยสุดอยู่ที่ไหน? สปริงนิวส์ในคอลัมน์ Keep The World ชวนรู้จักกับจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวโลกและเป็นบ้านของภูเขาไฟกว่า 500 แห่ง ที่รู้จักกันในชื่อ “วงแหวนแห่งไฟ”

วงแหวนแห่งไฟ คืออะไร?

วงแหวนแห่งไฟ หรือ Ring of Fire คือ กลุ่มภูเขาไฟใต้น้ำที่ยังคงคุกรุ่นอยู่ กระจายอยู่โดยรอบของมหาสมุทรแปซิฟิก ลากยาวตั้งแต่ด้านใต้ของอเมริกาใต้ ไล่ไปตามแนวชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือ ผ่านช่องแคบแบริ่ง ลงผ่านประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซียและสิ้นสุดแถวฟิจิและนิวซีแลนด์

จุดสีแดงและส้มคือจำนวนภูเขาไฟที่กระจายอยู่บริเวณโดยรอบของมหาสมุทรแปซิฟิก พื้นที่ดังกล่าวจะทอดยาวตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบ 40,000 กิโลเมตร มีภูเขาไฟมากกว่า 450 ลูก ครอบคลุมพื้นที่ในมหาสมุทรและประเทศในทวีปต่าง ๆ รวมกันถึง 31 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศโบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ฟิจิ และสหรัฐอเมริกา

ด้วยลักษณะที่เป็นวง ๆ แบบนี้เลยถูกเรียกว่า วงแหวนแห่งไฟ แม้ลักษณะจะเหมือนกับเกือกม้าก็ตาม

วงแหวนแห่งไฟ รูปทรงเหมือนเกือกม้าหรือไม่ Cr. britannica อย่างไรก็ตาม วงแหวนแห่งไฟ ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวโลก และคาดเดาไม่ได้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ รุนแรงแค่นั้น เรียกได้ว่าเป็นกล่องสุ่มแผ่นดินไหวสำหรับประเทศที่อยู่ในเขตของวงแหวนแห่งไฟ

วงแหวนแห่งไฟเกิดขึ้นได้อย่างไร?

หลักการพื้นฐานความเป็นไปของโลก เมื่อมีภูเขาไฟก็ต้องมีแผ่นดินไหว 2 อย่างนี้มักอยู่คู่กัน แต่อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่มีภูเขาไฟก็ย่อมได้ และแผ่นดินไหวเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดการเลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก

ดังนั้น การเกิดขึ้นของวงแหวนแห่งไฟ เกิดจากการเกยกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่เลื่อนมาชนกันและเกิดการมุดตัวโดยแผ่นที่หนักกว่ามุดลงด้านล่างของแผ่นเปลือกโลกที่เบากว่า ซึ่งจุดที่เกิดการเกยกันของแผ่นเปลือกในวงแหวนแห่งไฟ คือจุดที่ลึกที่สุดของโลกใต้มหาสมุทร ที่เรียกกันว่า ร่องลึกมาเรียนา ที่มีความลึกอยู่ 10,984 เมตร หรือต่ำกว่าระดับน้ำทะเลลงไป 11 กิโลเมตร

ภาพจำลองการเกยกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น Cr. Booyabazooka/ Wikimedia Commons. แผ่นเปลือกโลกของเรามีทั้งหมด 12 แผ่นใหญ่ ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้ไม่อยู่นิ่ง แต่มันเคลื่อนตัวตลอดเวลาทีละนิดๆโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเคลื่อนห่างกัน เคลื่อนชนกัน หรือเคลื่อนมุดกันเอง เหมือนกับแผ่นน้ำแข็งที่ล่องลอยไปมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แล้วภูเขาไฟเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ภูเขาไฟในวงแหวนแห่งไฟ มีจำนวนเยอะมากเกือบ 500 ลูก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เมื่อเกิดการมุดกันของแผ่นเปลือกโลกก็มักจะมีช่องว่างเล็ก ๆ เกิดขึ้น ซึ่งใต้แผ่นเปลือกโลกของเราประกอบไปด้วยลาวาหรือหินหลอมละลาย เมื่อเกิดช่องว่าง ลาวาเหล่านี้ก็แทรกตัวขึ้นมายังผิวโลก ก่อให้เกิดเป็นภูเขาไฟน้อยใหญ่เหมือนทุกวันนี้

การระเบิดของภูเขาไฟตองกา ต้นปี 2565 Cr. Smithsonian Institution National Museum of Natural History Global Volcanism Program แต่ในด้านสิ่งแวดล้อม การปะทุของภูเขาไฟจะทำให้โลกของเราอ่อนแอได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ยุคสมัยใหม่ เราสามารถใช้เทคโนโลยีตรวจสอบความรุนแรงได้ เช่นภูเขาไฟใต้น้ำตองการะเบิดครั้งใหญ่ที่ประเทศอินโดนีเซียเมื่อต้นปี 2565 เราจะเห็นควันของภูเขาไฟที่ลอยขึ้นไปสูงมาก ซึ่งได้จากการจับภาพของกล้องดาวเทียมที่ลอยอยู่ในอวกาศ เขม่าควันที่ลอยขึ้นสูงนี้ปล่อยก๊าซที่ทำให้ชั้นโอโซนของเราอ่อนแอลงได้ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำโลกของเราร้อนขึ้นได้นั่นเอง

ที่มาข้อมูล

Britannica

Earth Sky

NOAA 

National Geographic Thai

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related