svasdssvasds

'Climate Change' ส่งผลอย่างไรต่อ สมอง พฤติกรรม และวิถีชีวิตของสัตว์โลก

'Climate Change' ส่งผลอย่างไรต่อ สมอง พฤติกรรม และวิถีชีวิตของสัตว์โลก

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อสัตว์เกิดขึ้นได้หลายแง่มุมเช่น ด้านสมอง ด้านพฤติกรรม หรือลงลึกไปถึงการกำหนดอนาคตของเส้นทางวิวัฒนาการ ชี้เป็นชี้ตายเลยว่า สัตว์ชนิดใดสามารถปรับตัวได้ก่อนก็รอด แต่หากแต่ใดทนไม่ได้ก็คงต้องให้ธรรมชาติคัดสรรไป

น้ำฝน อุณหภูมิ ฤดูกาล ความเป็นกรดของมหาสมุทร คุณว่ามีอะไรอีกบ้างที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์โลก?

โลกที่วิวัฒน์ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคม การเมือง อุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่างถูกลากจูงให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าเช่นเดียวกัน โลกของเรามีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ หากเราอ้างอิงถึงหนังของเสด็จพ่อโนแลนด์คงต้องเรียกว่า “Entropy”

ความวุ่นวายทั้งหมดนี้ ที่มนุษย์กำลังสร้างขึ้นนี้ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรม การปล่อยก๊าซคาร์บอน และมลพิษในรูปแบบอื่น ๆ

การปล่อยมลพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศ Cr. Unsplash

มีผู้คนทั่วทุกตารางนิ้วของโลกที่กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่อีกหนึ่งสิ่งมีชีวิตที่เราอาจจะลืมนึกถึงไปเช่น ‘สัตว์’ ก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่ากัน

ฉะนั้น คอลัมน์ Keep The World ชวนสำรวจผลกระที่สัตว์ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พวกเขาปรับตัวอย่างไร และผลกระทบที่สรรพสัตว์ได้รับมีอะไรบ้าง

เปลี่ยนที่ 1: ประสาทสัมผัส

อุณหภูมิของโลกที่ค่อย ๆ ขยับขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสมดุลของระบบนิเวศในธรรมชาติ ตั้งแต่พืชที่ต้องอาศัยแสงแดดเพื่อสังเคราะห์แสง เรื่อยไปจนถึงสัตว์ที่กินพืช (Herbivore) หรือสัตว์ประเภทอื่น ๆ ที่ต้องปรับการรับรู้ของตัวเองให้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

สัตว์ต้องเปลี่ยนที่อยู่อาศัยไปเรื่อย ๆ Cr. Unsplash

ประสาทสัมผัสที่ว่าสามารถจำแนกได้เป็น การมองเห็น การรับรส การดมกลิ่นและการสัมผัส โดยปกติแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal) จะมีโปรตีนพิเศษที่มีหน้าที่คอยรับรู้อุณหภูมิ คอยบอกว่าร้อนหรือเย็น โดยจะจำแนกได้แค่อุณหภูมิกลาง ๆ หรือไม่ก็สุดขั้วไปเลย

โปรตีนดังกล่าวช่วยให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคอยหาถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับพวกมัน แล้วหากโปรตีนเป็นหมันไปเพราะอากาศของโลกรวนล่ะ? สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็สูญเสียความสามารถในส่วนนี้ไป จากนั้นก็ค่อย ๆ ปรับตัว (คำว่าค่อย ๆ ฟังดูเหมือนไม่นาน แต่ใช้เวลานานมาก)

เปลี่ยนที่ 2: สมอง

'โลกร้อน’ หรือ ‘โลกเดือด’ ขึ้น อาจไปรบกวนการพัฒนาและการทำงานของสมองสัตว์ได้ นักวิจัย ยังสืบหาคำตอบกันอยู่ว่า อุณหภูมิที่สุดขั้วสามารถเปลี่ยนแปลงเซลล์ประสาทของสัตว์แต่ละตัวลงลึกไปถึงระดับพันธุกรรม โครงสร้างสมอง รวมถึงวิธีการทำงานโดยภาพรวมของสมองสัตว์อย่างไร

อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงมีผลต่อสัตว์ Cr. Unsplash

หากเรากระโดลงน้ำไปที่ทะเล นักวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของน้ำส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเช่น ความเป็นกรดในมหาสมุทร อาจส่งผลต่อการรับรู้โดยทั่วไป รวมถึงความสามารถทางประศาสตร์สัมผัสของสัตว์เช่น การติดตามกลิ่นของปลาในแถบปะการังหรือฉลาม

เปลี่ยนที่ 3: พฤติกรรม

ขั้นแรกเริ่ม สัตว์อาจจะตอบสนองต่อสภาพอากาศที่เลวร้ายสำหรับพวกมันด้วยการหอบลูก หอบครอบครัวพากันหนีย้ายไปที่อื่น และเมื่อจะหาว่าที่ใดเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยการรับรู้ของพวกมันก็ถูกรบกวนไปแล้ว ก็เป็นผลกระทบต่อเนื่องกัน

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่าง ๆ ของสัตว์อาจเปลี่ยนไปทำในช่วงเวลาอื่น ๆ ของวัน หรืออาจจะเปลี่ยนไปในระดับฤดูกาลเลยก็ได้ เช่น สัตว์บางชนิดอาจต้องเริ่มเวลาจำศีลออกไป หรือเลื่อนเข้ามาเร็วขึ้น

นกบินอพยพ

นอกจากนี้ การย้ายที่อยู่ใหม่ของสัตว์บางชนิด ไม่ว่าจะเป็นของวันหรือของฤดูกาลก็ตาม อาจทำให้สัตว์แต่ละชนิดต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ เช่น อากาศ คู่แข่ง ผู้ล่า อาหาร และแหล่งน้ำ

เปลี่ยนที่ 4: เส้นวิวัฒนาการ

ต้องบอกว่าสมองของสัตว์มีความยืดหยุ่น และจะได้รับการพัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละที่ที่สัตว์อาศัยหรือเผชิญ นั่นหมายความว่า สมองของสัตว์ตอนวัยเยาว์กับตอนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็คนละระดับชั้นกัน

ไอเดียประมาณนี้มีความคล้ายคลึงกับสิ่งมีชีวิตเช่น มนุษย์พอสมควร สมองของเราจะได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลที่ผ่านไป

อะไรบ้างที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ Cr. Pickpik

แต่มนุษย์มีข้อได้เปรียบตรงที่ เรามีระบบ Muscle Memory ที่ทรงพลัง และวิธีการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้เป็นอย่างดี อะไรเป็นภัยเราถอยก่อน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่คบเพลิงไฟด้ามนั้นจะเป็นของมนุษยชาติจวบจนทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม ระบบประสาทในสมองสัตว์เมื่อถึงคราวต้องปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ อาจสูญเสียความสามารถในการปรับตัวได้ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

แต่มองอีกมุม นี่อาจจะเป็นทางเลือกใหม่ ๆ เพราะเมื่อบริบทของโลกเปลี่ยนไปเช่นนี้ ประสาทสัมผัสและสัญชาตญาณของสัตว์แต่ละชนิดก็จะถูกคัดสรรโดยธรรมชาติ (Natural Selection) มีแต่ผู้ที่อยู่รอดได้ภายใต้เงื่อนไขใหม่นี้เท่านั้นถึงจะได้ไปต่อ

สัตว์ที่ปรับตัวได้ จะอยู่รอดต่อไป Cr. Pxhere

นักวิจิย ทิ้งท้ายไว้ว่า หากเราสามารถรู้การทำงานของระบบประสาทของสัตว์ว่าปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้อย่างไร เราอาจจะคาดเดาผลกระทบจากวิกฤตโลกการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่สัตว์แต่ละชนิดคาดว่าจะได้รับ

ที่มา: theconversation

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related