svasdssvasds

พาไปดู คามิคัตสึ ต้นแบบเมือง Zero Waste ที่มีระบบคัดแยกขยะอันดับหนึ่งของโลก

พาไปดู คามิคัตสึ ต้นแบบเมือง Zero Waste ที่มีระบบคัดแยกขยะอันดับหนึ่งของโลก

ในประเทศญี่ปุ่น มีเมืองเล็ก ๆ จากจังหวัดชิโกกุ ชื่อ "คามิคัตสึ" เป็นต้นแบบเมือง Zero Waste อันดับหนึ่งของโลก ด้วยระบบจัดการขยะที่ยั่งยืน และผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตของชาวเมืองจนเป็นเนื้อเดียวกัน นอกจากจะรีไซเคิลขยะได้ถึง 80% ยังสามารถสร้างเม็ดเงินหลักแสนบาทต่อปี

หลายปีมานี้ “คามิคัตสึ” (Kamikatsu) เมืองเล็ก ๆ จากแดนอาทิตย์อุทัยเป็นที่พูดถึงอย่างมาก ในแง่ของการเป็นเมืองที่เอาจริงเอาจังกับระบบจัดการขยะ จนกลายเป็นต้นแบบเมือง Zero Waste เบอร์หนึ่งของโลก

คามิคัตสึ เมืองเล็ก ๆ ที่ฝันใหญ่ว่าต้องการเป็นปลอดขยะแบบ 100%

ย้อนกลับไปในปี 2003 เทศบาลเมืองคามิคัตสึ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชิโกกุ ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการกลายมาเป็นเมือง Zero Waste หรือเมืองปลอดขยะ

แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วการจะปลอดขยะโดยสิ้นเชิงไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ผ่านมาแล้ว 20 ปี จนกระทั่งถึงวันนี้ เมืองเล็กๆแห่งนี้ประสบความสำเร็จในการนำขยะกลับมารีไซเคิลได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยการรีไซเคิลทั่วประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ และในสหรัฐฯ การรีไซเคิลอยู่ในอัตราตัวเลขหลักเดียวเท่านั้น

คามิคัตสึ เมืองปลอดขยะอันดับหนึ่งของโลก Cr. https://zwtk.jp/

สาเหตุที่ทำให้เมืองคามิตัคสึประสบในอัตราที่สูงขนาดนี้คือการศึกษาขยะอย่างแท้จริง ที่นี่มีการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง โดยแบ่งขยะออกเป็น 13 ชนิด และยังแบ่งแยกชนิดย่อยๆออกไปอีก ทำให้ที่นี่มีถังขยะมากถึง 45 ประเภท

เมืองเล็กๆแห่งนี้มีประชากรไม่ถึง 2,000 คนด้วยซ้ำไป และที่นี่ไม่มีรถขยะ ที่นี่ ชาวบ้านต้องนำขยะของตนเองไปที่ศูนย์ zero waste ภายในเมือง และคัดแยกขยะตามจุดต่างๆตามแต่ละประเภท

คามิคัตสึใช้ระบบแยกขยะกันละเอียดถึง 45 ประเภท Cr. www.env.go.jp

มีศูนย์ Zero Waste ไว้แยกขยะภายในเมือง

ที่ ศูนย์ zero waste นั้น ออกแบบโดยสถาปนิกฮิโรชิ นากามุระ เน้นความประหยัดและการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า โดยไม้และหน้าต่างของที่นี่ได้มาจากการบริจาคของคนในชุมชน ส่วนพื้นสร้างมาจากแก้วรีไซเคิล นอกจากนี้ยังมีวัสดุอื่นๆที่นำมาจากอาคารบ้านเรือนที่ถูกทิ้งร้างเอาไว้

ภายในศูนย์คัดแยกขยะนั้นจะมีป้ายติดอยู่ เช่น หากคุณไม่แน่ใจในประเภทของขยะ สามารถถามเจ้าหน้าที่ได้ที่ศูนย์

ศูนย์ Zero Waste ของเมือง ที่มองจากด้านบนจะคล้ายเครื่องหมาย ? Cr. www.awanavi.jp

ขยะสามารถจำแนกได้ทั้งหมด 13 ประเภท

การแยกขยะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวเมือง

ของที่ยังใช้ได้ เช่น  ของใช้ในครัวเรือน หนังสือ เป็นต้น ของเหล่านี้ต้องเป็นชาวบ้านในเมืองเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นำมาบริจาคที่นี่ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวบ้านในเมือง ก็สามารถนำของเหล่านี้ไปได้โดยไม่ต้องจ่ายเงิน

  • ขยะอาหาร
  • โลหะ
  • กระดาษ
  • เสื้อผ้าและผ้า
  • ผลิตภัณฑ์ชีวมวล
  • พลาสติก
  • ขวดแก้วและเหยือก
  • วัตถุอันตราย
  • ขยะชิ้นใหญ่
  • ขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ต้องเผาเท่านั้น
  • ขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ต้องฝังกลบเท่านั้น
  • ขยะเบ็ดเตล็ดที่ชาวบ้านต้องจ่ายเงินสำหรับการทิ้ง

ขยะแต่ละชนิดต้องถูกแยกอย่างละเอียด นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม คามิคัตสึถึงสามารถรีไซเคิลขยะได้ถึง 80% Cr. www.recruit.co.jp

การคัดแยกขยะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต

แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการคัดแยกขยะ แต่ชาวบ้านบอกว่า ด้วยความที่ประชากรมีจำนวนไม่มาก พวกเขาจึงทำได้

ขยะรีไซเคิลสร้างรายได้ให้ชาวบ้านปีละ 210,000 - 500,000 บาท

ขยะทุกชิ้นมีคุณค่า อยู่ที่เราจะมองเห็นหรือไม่

แต่นอกเหนือจากการคัดแยกขยะแล้ว ชาวบ้านยังการโน้มน้าวว่าไม่ควรซื้อสินค้าที่ในท้ายที่สุดแล้วมันจะกลายเป็นขยะ โดยมีการมอบรางวัลให้แก่ชาวบ้านเป็นคะแนน และเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาปฏิเสธไม่เอาถุงพลาสติก และคะแนนเหล่านี้ก็จะนำไปซื้อสินค้าได้

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ผลิตขยะพลาสติกต่อหัวประชากรเป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐฯ โดยแต่ละปี ญี่ปุ่นบริโภคถุงพลาสติกมากถึง 30,000 ล้านใบ

 

 

ที่มา: core77 , The Guardian

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related