svasdssvasds

สงครามอิสราเอล-ฮามาส : ทำลายสิ่งแวดล้อมไปมากแค่ไหน ใครต้องรับผิดชอบ?

สงครามอิสราเอล-ฮามาส : ทำลายสิ่งแวดล้อมไปมากแค่ไหน ใครต้องรับผิดชอบ?

สงครามอิสราเอล-ฮามาส เดินหน้าสู่เดือนที่ 3 ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งทะลุ 22,700 คน นอกเหนือจากตัวเลขเสียชีวิตแล้ว ตัวเลขปริมาณก๊าซคาร์บอนก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หลังการศึกษา พบว่า สงครามครั้งนี้ปล่อย Co2 ไปแล้ว 281,000 เมตริกตัน ใครต้องรับผิดชอบ?

เดินหน้าเข้าสู่เดือนที่ 3 สำหรับสงครามอิสราเอล-ฮามาส ที่ยังคงเดินหน้าสร้างความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดพุ่งทะลุ 22,700 คน และทุก ๆ วินาทีที่ผ่านไปยังคงมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

แต่นอกเหนือจากชีวิตผู้บริสุทธิ์ ที่ต้องสังเวยให้แก่ความขัดแย้งแล้ว สิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกหนึ่ง “เหยื่อ” ของสมรภูมิเดือดแห่งนี้ด้วย

ศพของผู้เสียชีวิตชาวปาเลสไตน์ Cr. Reuters

อิสราเอลทำลายสิ่งแวดล้อมไปแค่ไหน?

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฉนวนกาซา มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่า 20 ประเทศที่มีสภาพอากาศย่ำแย่รวมกันเสียอีก

ในช่วง 60 วันแรกของสงคราม คาดว่า การทิ้งระเบิดทางอากาศของอิสราเอล และการบุกรุกฉนวนกาซาทางภาคพื้นดิน ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศ 281,000 เมตริกตัน

นอกจากนี้ การศึกษาที่สำรวจกิจกรรมในสงคราม พบว่าอีกว่า ทหารอิสราเอลเผาถ่านหินระหว่างเกิดสงคราม 150,000 เป็นอย่างน้อย การศึกษาระบุว่า นี่แค่ตรวจสอบไม่กี่กิจกรรมเท่านั้น แต่ตัวเลขมลพิษกลับสูงลิ่ว

กลุ่มควันขนาดใหญ่จากการทิ้งระเบิดของฝ่ายอิสราเอล Cr. Reuters

พลุเหนือน่านฟ้าของฉนวนกาซ่าจากกองกำลังไม่ทราบฝ่าย Cr. Reuters

ฮามาสทำลายสิ่งแวดล้อมไปแค่ไหน?

ทางฝั่งของฮามาสก็ไม่น้อยหน้า เพราะจรวดที่ยิงใส่กองกำลังอิสราเอลในช่วงเกิดสงครามนั้น ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 713 ตัน เทียบเท่ากับปริมาณการเผาถ่านหิน 300 ตัน

แม้ตัวเลขจะไม่เยอะเท่าฝ่ายอิสราเอล ปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้ฝ่ายฮามาสหมัดเบากว่า แต่ก็สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมเช่นกัน

ฝ่ายฮามาสโจมตีตอบโต้ฝ่ายอิสราเอลด้วยปืนใหญ่ สร้างกลุ่มควันออกสู่อากาศ Cr. Reuters

ทั้ง 2 ฝ่ายต้องรับผิดชอบกับสิ่งผลกระทบที่ก่อเอาไว้

นอกเหนือจากชีวิตของผู้บริสุทธิ์ที่ต้องสังเวยให้แก่ความขัดแย้งในครั้งนี้แล้ว “โลก” ซึ่งบ้านหลังใหญ่และหลังเดียวของเรา กำลังเผชิญกับมลพิษทางอากาศอย่างหนักหน่วง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างเลี่ยงไม่ได้

“สิ่งแวดล้อมจะได้รับมลพิษไปอีกนาน แม้สงครามจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม” เบนจามิน นีมาร์ อาจารย์อาวุโสจากมหาวิทยาลัย Queen Mary University of Londonกล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ สมรภูมิเดือดระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ยังไม่มีวี่แววว่าจะสิ้นสุดลง ผ่านไปแล้ว 3 เดือนยอดผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้นทุกวัน บรรยากาศวันโลกาวินาศยังคงปกคลุมพื้นที่เขตสงครามแจ่มชัด และแน่นอนว่า โลกของเราต้องโอบรับกับก๊าซคาร์บอน รวมถึงมลพิษในรูปแบบอื่น ๆ จากสงครามในครั้งนี้ไปอย่างไม่ทราบจุดสิ้นสุด

 

 

ที่มา: The Guardian

related