svasdssvasds

รัฐลากอส ประเทศไนจีเรีย สั่งแบน Single-use Plastic มีผลแล้วตั้งแต่วันนี้

รัฐลากอส ประเทศไนจีเรีย สั่งแบน Single-use Plastic มีผลแล้วตั้งแต่วันนี้

รัฐลากอส ประเทศไนจีเรีย สั่งแบนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แม้ผู้ประกอบการออกมาประท้วง และขอความเป็นธรรมเรื่องบรรจุภัณฑ์ แต่รัฐลากอสลั่น ! "ไม่จำเป็นต้องต่อรองเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับเจ้าของธุรกิจที่ได้ประโยชน์อยู่ไม่กี่เจ้า"

รู้จัก รัฐลากอส ประเทศไนจีเรีย

ลากอส” ขึ้นแท่นเป็นรัฐแรกของไนจีเรีย สั่งแบนการใช้ - จำหน่ายพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกที่แก้ไม่จนมานานหลายปี โดยมีผลแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ลากอส (Lagos) เป็นรัฐเศรษฐกิจ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไนจีเรีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ และมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 21 ล้านคน

รัฐลากอส เป็นรัฐแรกของไนจีเรีย ที่สั่งห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง Cr. Reuters

ลากอสมีขยะเยอะแค่ไหน?

ในแต่ละวัน มีขยะพลาสติกถูกทิ้งประมาณ 12,000 ตัน หรือคิดเป็น 4.3 ล้านตันต่อปี เรื่องนี้เป็นปัญหามากเพราะขยะส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกทิ้งลงถังขยะ แต่กองกระจายเขลอะขละอยู่ตามริมถนน บริเวณท่อน้ำ

เราทราบกันดีว่าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและถ้วยโฟม เป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งแน่นอนต้องถูกส่งไปเผา และส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมขนานใหญ่ ด้วยปัญหาที่เผชิญ รัฐบาลลากอสในนามของกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำจึงสั่งห้ามใช้ - จำหน่าย โฟมและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ลากอสแม้จะมีพื้นที่ไม่เยอะเท่ารัฐอื่น ๆ ในประเทศไนจีเรีย แต่อัตราการใช้โฟมหรือพลาสติกก็ยังสูงไม่น้อยหน้ารัฐอื่น ๆ ส่วนใหญ่วัสดุ 2 ชนิดนี้ถูกใช้สำหรับใส่อาหาร ตามร้านค้า หรือแม้กระทั่งริมถนนก็พบพลาสติกขายเกลื่อน

รัฐลากอสมีขยะจำนวนมากที่ถูกทิ้งไม่ถูกที่ ก่อให้เกิดมลพิษ Cr. Reuters

ส่งผลให้ขยะพลาสติกซึ่งแน่นอว่าถูกทิ้งไม่เป็นที่ หรือถูกที่แล้ว แต่ไม่สามารถจัดการได้หมด ส่วนที่เล็ดลอดออกมาก็จะนอนจมอยู่ตามท่อระบายน้ำ บริเวณแหล่งน้ำต่าง ๆ หรือแม้แต่ริมถนนก็พบขยะพลาสติกได้เช่นกัน

ผู้ประกอบการประท้วงหนัก

แน่นอนการที่รัฐลากอสขยับตัวและสั่งแบนพลาสติกฟ้าผ่าเช่นนี้ ย่อมได้รับคำชม กระแสส่วนใหญ่เป็นไปในด้านบวก แต่ทางฟากของผู้ผลิตก็มองว่า แล้วรัฐมีทางเลือกสำหรับบรรจุภัณฑ์ให้กับพวกเขาหรือไม่?

ฟากของรัฐบาลได้ออกมาตอบ (โต้) คำถาม อย่างแซ่บซี๊ดถึงทรวงว่า รัฐไม่จำเป็นต้องต่อรองเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับเจ้าของธุรกิจที่ได้ประโยชน์อยู่ไม่กี่เจ้า เพราะประชาชนไม่ควรได้รับมลพิษจากขยะพลาสติกพวกนี้

โฟลาวี อูมุนนา ผู้ร่วมก่อตั้ง Climate and Ecological Protection Initiative กล่าวว่า การสั่งห้ามให้เป็นกิจลักษณะคือเรื่องที่ควรทำ นี่คือสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

นี่เป็นข่าวดีสำหรับสิ่งแวดล้อมในรัฐลากอส เพราะหากการสั่งห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีประสิทธิผล หมายความว่ามีคิดอัตราค่าปรับ และคนตื่นตัวเรื่องขยะกันเป็นวงกว้าง จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของรัฐได้จำนวนหลายตัน

 

ที่มา: Eco Watch , Times of India

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related