svasdssvasds

7 ทริคออกแบบความปลอดภัย ห้องน้ำจุดเสี่ยงเหตุลื่นล้มอุบัติเหตุในผู้สูงวัย

7 ทริคออกแบบความปลอดภัย ห้องน้ำจุดเสี่ยงเหตุลื่นล้มอุบัติเหตุในผู้สูงวัย

การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ที่ในอนาคตจะกลายเป็นกลุ่มประชากรใหญ่ของไทยและทั่วโลก ความปลอดภัยที่หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะห้องน้ำที่เป็นหนึ่งในจุดเสี่ยงในสาเหตุการเกิดเหตุการณ์ลื่นหกล้ม

การลื่นหกล้มเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ การลื่นหกล้มอาจนำไปสู่การบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป ตามหลักการออกแบบที่เรียกว่า Universal Design ที่ใช้กันแพร่หลายในงานอาคารออกแบบ สำหรับอยู่สบายและความปลอดภัยเพื่อทุกคนในครอบครัวนั้นต้องคำนึงถึงรายละเอียดดังนี้ 

  1. ใช้งานได้กับทุกคน (Equitable Use) คำนึงถึงความแตกต่างของสมรรถภาพร่างกายของคนทุกประเภท ทั้งคนปกติ เด็ก คนพิการรวมถึงผู้สูงอายุ
  2. ความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility in Use) การออกแบบและเลือกใช้วัสดุตามรูปแบบการใช้งานและความถนัดของแต่ละคน
  3. ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย (Simple and Intuitive Use) ไม่มีอุปสรรคทางความรู้ทักษะทางภาษา ใช้สัญลักษณ์ สี เพื่อความเข้าใจแทน
  4. ข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย (Perceptible Information) ไม่เน้นดีไซน์หวือหวาและทำให้อยากใช้งาน รวมถึงการสื่อสารหลายแบบทั้งภาพ อักษร เสียงหรือสัมผัส
  5. ลดความผิดพลาด (Tolerance for Error) การออกแบบเพื่อช่วยลดอันตรายจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
  6. ไม่ต้องออกแรงมาก (Low Physical Effort) เพื่อเลี่ยงการเกิดการบาดเจ็บ และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. ขนาดและพื้นที่ในการเข้าไปใช้งาน (Size and Space for Approach and Use) โดยเฉพาะผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่ต้องใช้วีลแชร์อาจต้องใช้พื้นที่มากกว่าปกติสำหรับการเคลื่อนตัวในการใช้ชีวิตประจำวัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้จากข้อมูลของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่เผยแพร่เอกสารในห้วข้อ การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563

พบว่าผู้สูงอายุที่ทำการตอบแบบสำรวจในระหว่าง 6 เดือนก่อนทำการทดสอบ กล่าวว่าเคยหกล้ม โดยเฉลี่ย 2.4 ครั้ง ผู้ชายหกล้ม 2.2 ครั้งและผู้หญิง 2.5 ครั้ง

กราฟสรุปสาเหตุการหกล้มจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

โดยสาเหตุของการหกล้มบ่อยที่สุดมาจาก

  • สะดุดวัตถุสิ่งของร้อยละ 33.6 
  • พื้นลื่นร้อยละ 30.7

ทำให้เป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลถึงร้อยละ 8.4 

ส่วนสถานที่หกล้มส่วนใหญ่พบว่ามาจาก 

  1. ล้มนอกบ้าน ร้อยละ 59.8
  2. การล้มในบ้าน ร้อยละ 40.2
  • ลื่นหกล้มพบร้อยละ 32.4 และ 27.1 ในผู้สูงอายุหญิงและชาย ตามลำดับ(ในจำนวนนี้ร้อยละ 13.5 หกล้มในห้องน้ำ ห้องครัว)

ซึ่งชนิดของส้วมในบ้านโดยทั่วแบ่งเป็น 2 ชนิด

  1. แบบส้วมนั่งห้อยขากับ 
  2. แบบส้วมนั่งยองๆ ซึ่งชนิดที่สองนี้พบในต่างจังหวัดมากกว่าในเมือง และมีข้อด้อยสำหรับผู้สูงวัยที่อายุมากกว่าเพราะทำให้การนั่งและลุกขึ้นลำบาก และเสี่ยงต่อการหกล้มอีกด้วย 

ดังนั้นถ้ามีความสะอาดพอกัน ส้วมนั่งห้อยขาน่าจะปลอดภัยกว่าสำหรับผู้สูงอายุ

ผลจากการสำรวจ พบว่าร้อยละของการใช้ส้วมแบบนั่งห้อยขากับนั่งยองๆ คิดเป็นร้อยละ 59.4 และ 40.6
ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามอายุ เพศ และภาค ยกเว้นในกรุงเทพฯที่ใช้ส้วมนั่งห้อยขาสูงสุดถึงร้อยละ 86.2 

การออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ที่ทางกรมอนามัยแนะนำ เพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ลื่มหกล้มมีดังนี้

  1. ห้องน้ำควรอยู่ติดกับห้องนอน 
  2. ใช้โถส้วมชักโครกนั่งห้อยขา หรือ แบบนั่งราบ 
  3. เก้าอี้นั่งอาบน้ำ ที่มีความสูงระดับข้อพับเข่า
  4. ติดตั้งราวจับที่บริเวณโถส้วมและเก้าอี้นั่งอาบน้ำ
  5. มีแสงสว่างที่เพียงพอ 
  6. ประตูทางเข้า-ออกควรเป็นแบบบานเลื่อน ที่มีความกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร และไม่ควรมีกลอนประตู 
  7. พื้นห้องน้ำควรเรียบเสมอกัน ไม่ลื่น หรือ ใช้แผ่นรองกันลื่น

การเผื่อพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุที่ใช้งานวีลแชร์ ภาพประกอบจาก freepik ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นกระบวนการคิดที่ไม่ต้องใช้นวัตกรรมใหม่มาช่วยในการออกแบบเพียงเข้าใจรูปแบบและจุดเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยก็ช่วยลดอุบัติเหตุและทำให้บ้านปลอดภัย อยู่สบายสำหรับทุกคน 

อ้างอิงข้อมูลจาก

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) sc

related