svasdssvasds

ชวนสังเกต 5 อาการ ที่บอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นคน “เสพติดคำชม”

ชวนสังเกต 5 อาการ ที่บอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นคน “เสพติดคำชม”

SPRiNG ชวนเช็ก 5 สัญญาณเตือน ที่บอกว่าคุณเข้าข่าย "เสพติดคำชม" อะไรคือผลลัพธ์ด้านลบที่อาจเกิดขึ้น และทำไมการโหยหาคำชมมากเกินไปถึงเป็นเรื่องที่คุณควรใส่ใจ?

ว่ากันว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่โหยหาการยอมรับจากกลุ่ม สิ่งนี้ไม่ได้เปลี่ยนไป แม้เวลาผ่านไปนานแค่ไหน ทุกครั้งที่เราได้รับคำชมสมองจะกระตุ้นการหลัง โดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ทำให้เรารู้สึกดีและอยากทำสิ่งนั้นอีก

แต่ถ้าเราโหยหาการยอมรับจากภายนอกมากเกินไป ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองจะสั่นคลอนทันทีเมื่อไม่ได้รับคำชม นี่คือกระบวนการที่ ‘คำชม’ ทำงานกับสมองของเรา ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการเสพติดก็ย่อมได้

ชวนสังเกต 5 อาการ ที่บอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นคน “เสพติดคำชม”

ในโลกของการทำงาน ‘คำชม’ ที่เรามอบให้แก่กันมีด้้านที่ถ้าเราไม่บาลานซ์ให้ดี อาจย้อนกลับมาทำร้ายเราได้ เช่น สมมติว่าเราทำงานได้ในระดับ A+ ย่อมเป็นเรื่องดีต่อทั้งตัวเราเองและองค์กร และเมื่อทำงานได้ดี สิ่งที่เราจะได้รับก็คือ การยอมรับนับถือ โบนัส ความไว้วางใจ และสิ่งที่พูดได้เดี๋ยวนั้นเลยก็คือ ‘คำชม’ (compliment)

ทุกครั้งที่ได้รับคำชม จากทั้งเพื่อนร่วมงานก็ดี หรือหัวหน้างานก็ดี ฝ่ายผู้รับก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกดี รู้สึกภูมิใจในตัวเอง ชื่นชมในความพยายามทำงานหนักของตัวเอง เรื่อยไปจนถึงมีไฟสู้ในโลกการทำงานต่อไป

ฟังแบบนี้ก็ดูดีนี่นา แล้วทำไมถึงมีการเตือนว่า เราไม่ควรเป็นมนุษย์ที่เสพติดคำชม ในโลกฝรั่งเรียกพฤติกรรมนี้ว่า ‘Praise Junkie’ แล้วอาการแบบไหนที่เข้าข่าย ผลด้านลบของมันคืออะไร SPRiNG ชวนมาสำรวจไปพร้อม ๆ กัน

 

1.  รู้สึกถูกโจมตี เมื่อถูกวิจารณ์หรือฟีดแบกในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าการให้ฟีดแบกในเนื้องาน หรือการวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ เป็นการทำร้าย โจมตี หักหน้า แล้วรับไม่ได้ อารมณ์เสีย พาลไปลงกับสิ่งอื่น สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าคุณอาจเสพติดคำชม

ชวนสังเกต 5 อาการ ที่บอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นคน “เสพติดคำชม”

คำแนะนำคือ ให้มองคำติชม คำวิจารณณ์ หรือฟีดแบก เป็นความหวังดี อีกฝ่ายซึ่งโดยมากแล้วเป็นหัวหน้างานยังเห็นจุดบกพร่องที่ให้เรากลับไปแก้ไข แทนที่จะปล่อยงานไม่ดีแบบนั้นออกไปก็ย่อมได้ ดังนั้น การได้รับโอกาสให้แก้ไข พัฒนาฝีมือควรเป็นเรื่องน่ายินดีมากกว่าจะพาลไปลงกับสิ่งอื่น

2. รู้สึกกังวลเมื่อสถานการณ์เงียบเกินไป

เงียบในที่นี้หมายถึงทำไมยังไม่มีใครมาขอคำปรึกษา หรือมาชื่นชมในงานที่ฉันทำเลย ทำไมถึงถูกมองข้าม เกิดเป็นความรู้สึกไม่สบายใจ นี่คืออาการของผู้เสพติดคำชม โหยหาการยอมรับ โหยหาคำชมเพื่อสร้างความมั่นคงให้ตัวเอง

คำแนะนำคือ ไม่ต้องไปโฟกัสกับคำชมมาก ในโลกการทำงานมีอะไรให้ทำและพัฒนาอีกหลายอย่าง เช่น งานที่รอการแก้ไข งานที่รอความคิดสร้างสรรค์ อย่าโหยหาการยอมรับจากคนอื่นมากจนเคยชิน

 

3. พูดถึงความพยายามในการทำงานของตัวเองเกินจริง

“กว่าจะทำงานนี้เสร็จนะ พี่ต้องไปติดต่อประสานงานหลายฝ่าย หลายรอบมาก คุยกันอยู่นานเลย จนงานลุล่วงสำเร็จ” ซึ่งอาจเป็นความจริง แต่คุณอาจหยิบจุดนี้ขึ้นมาเพื่อให้คนรอบตัวในที่ทำงานชื่นชม เยินยอ ที่มุมานะจนนำพางานนี้ให้สำเร็จได้

คำแนะนำคือ ไม่ควรหยิบจุดนี้มานำเสนอ ปล่อยให้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์ไป และแทนที่จะบอกว่าตัวเองเป็นคนลุยทำงานหนักอยู่คนเดียว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราทำเองคนเดียว หรือมีคนช่วยเราอีกแรง ดังนั้น ควรใช้คำพูดว่าทีมช่วยกันแก้ปัญหา ทีมรู้สึกมีส่วนร่วมและไม่รู้สึกถึงการโอ้อวด

 

4. ด้อยค่าตัวเอง เพื่อให้ผู้อื่นโยนคำชมให้

คนที่ไม่มั่นใจมีอยู่จริง แต่คนที่เสพติดคำชมลึก ๆ แล้วมั่นใจในผลงานมาก แต่แกล้งทำเป็นว่ายังรู้สึกไม่พอใจกับผลลัพธ์ โดยอาจจะกล่าวว่า “ยังทำได้ไม่ดีเลย” และหวังว่าอีกฝ่ายจะโยนสารพัดคำชมกลับมาให้เรารู้สึกใจชื้น

คำแนะนำคือ ไม่ควรเสียเวลามาใช้กับการสร้างบทสนทนาปลอม ๆ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวคุณเองและเนื้องาน เพราะถ้าเราทำบ่อยเข้า เราจะเสพติด และเมื่อเสพติดการบำบัดมันก็ยากเสมอ

 

5. รู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับ ‘คำชม’

เมื่อใดก็ตามที่มีคนชมคุณจะมั่นใจ และตัวใหญ่ขึ้น กลับกัน ถ้างานนั้น คุณไม่ได้รับคำชมความมั่นใจจะพังทลายลง รู้สึกหงุดหงิดอารมณ์ไม่ดี กล่าวคือ ปล่อยให้คำชมจากผู้อื่นเป็นตัวตัดสินว่าคุณทำงานนั้นได้ดีที่สุดเต็มความสามารถแล้วหรือยัง

ชวนสังเกต 5 อาการ ที่บอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นคน “เสพติดคำชม”

คำแนะนำคือให้ลองตั้งเป้าหมายในงานชิ้นนั้นดู เช่น เกิดปัญหาติดขัดในงาน แล้วตั้งเป้าว่าจะแก้ไขปัญหาให้ได้ เมื่อคุณทำสำเร็จก็จงยินดีที่ทำเป้าหมายสำเร็จ ไม่ใช่เฝ้ารอแต่คำชมในฐานะที่เป็นคนมากอบกู้สถานการณ์ เป็นต้น

 

ที่มา: psychology today, mind

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related