ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
เมื่อปี 2016 โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐด้วยนโยบายอเมริกาต้องมาก่อน จุดชนวนกระแสชาตินิยมฝั่งขวาจัดในการเมืองยุโรปให้คุกรุ่น เรื่องลัทธิชาตินิยมในยุโรปจะเป็นอย่างไร
ผู้ก่อตั้งนิตยาสาร "Financial Times" จอห์น ลอยด์ วิเคราะห์เรื่องลัทธิชาตินิยมที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลกว่ายุโรปยังเป็นพื้นที่สู้รบระหว่างพวกชาตินิยมขวาจัด และรัฐบาลเสรีนิยมฝั่งซ้าย แต่สงครามระหว่างสองฝ่ายนี้ไม่ใช่จำกัดอยู่แค่ในยุโรป ทั้งโลกกำลังต่อสู้กับลัทธิชาตินิยมในประเทศตัวเอง
ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ แนวทางประชาธิปไตยโลกมักถูกนำโดยสหรัฐฯ แต่ไม่ใช่สหรัฐฯในยุคสมัยโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ตอนนี้ป่าวประกาศว่าอเมริกาต้องมาก่อน ส่วนทางด้านยุโรปกำลังเป็นศูนย์กลางการต่อสู้ของนักการเมืองลัทธิชาตินิยม ที่ออกมาต่อต้านการสร้างสหภาพยุโรป ประเด็นร้อนเมื่ออังกฤษโหวตเบร็กซิท เพราะคนอังกฤษจำนวนมากมองว่าสหภาพยุโรปนั้นเข้าใจยากและครอบงำ
ส่วนปัญหาผู้อพยพ มักถูกฝั่งชาตินิยมยกขึ้นเป็นประเด็นหลักในการหาเสียง โดยเฉพาะเจาะกลุ่มผู้สนับสนุนชั้นแรงงาน เฉกเช่น การเลือกตั้งเยอรมนีที่เพิ่งผ่านพ้นไป พรรคขวาจัดอย่าง AFD ทะยานขึ้นเป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับสามในสภา จากที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยได้คะแนนเสียงพอที่จะมีผู้แทน กลับได้รับแรงสนับสนุนเพราะนโยบายต่อต้านผู้อพยพ
การเชื่อมโยงปัญหาสังคมกับการรับผู้อพยพเป็นปัญหาใหญ่ในยุโรป สวีเดน กำลังประสบปัญหาอัตราอาชญากรรมที่สูงขึ้น ถึงขนาดที่นักการเมืองพรรคชาตินิยมของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง Norway อ้างว่าบางพื้นที่ของสวีเดนว่าไม่ควรไป เพราะเป็นพื้นที่ที่มีผู้อพยพอยู่จำนวนมาก และมีปัญหาเรื่องกฏหมายและการควบคุมความสงบเรียบร้อย แน่นอนว่ารัฐบาลสวีเดนออกมาปฏิเสธ แต่นักวิเคราะห์ยังยอมรับว่าปัญหาอาชญากรรมในประเทศมีความเชื่อมโยงกับผู้อพยพ
ปัญหาผู้อพยพและการต่อต้านสหภาพยุโรปคือสองประเด็นหลักที่ฝั่งชาตินิยมใช้ในการหาเสียงสนับสนุน เบร็คซิทกลายเป็นข่าวช๊อคสหภาพยุโรปและคนทั่วโลกมาแล้ว ขณะกระแสลัทธิชาตินิยมกำลังมาแรงในประเทศประชาติปไตยทั่วโลก ฝรั่งเศสกำลังเปิดประเด็นปฏิรูปสหภาพยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียว ฝั่งไหนจะชนะ คงต้องรอดูกันต่อไป