svasdssvasds

ชาวบ้านหวั่น! ยกระดับ “ถ้ำหลวง” เป็นอุทยานแห่งชาติ กระทบที่ทำกิน

ชาวบ้านหวั่น! ยกระดับ “ถ้ำหลวง” เป็นอุทยานแห่งชาติ กระทบที่ทำกิน

ชาวบ้านผาหมี ชายแดนไทย-เมียนมา หวั่นแผนยกระดับ “ถ้ำหลวง” เป็นอุทยานแห่งชาติ จะกระทบที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้าน

ยกระดับเป็น "อุทยานแห่งชาติ"

จากกรณีที่ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ออกมาเปิดเผยหลายครั้งว่ากำลังผลักดัน วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ให้ยกระดับเป็นอุทยานแห่งชาติ ภายหลังปฏิบัติการช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาดามีจำนวน 13 คน ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างปิดถ้ำเพื่อฟื้นฟูพื้นที่นั้น พบว่าในปัจจุบันประชาชนในพื้นที่ยังไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากนัก โดยต่างมีการแสดงความคิดเห็น ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ชาวบ้านหวั่น! ยกระดับ “ถ้ำหลวง” เป็นอุทยานแห่งชาติ กระทบที่ทำกิน

โดยข้อมูลจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) ปี 2529 แจ้งว่าในปัจจุบันวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีเนื้อที่ 5,448.81 ไร่

 

ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่อง

น.ส.ศรินรัตน์ พฤกษาพันธ์ทวี ผู้ประกอบกิจการร้านกาแฟ ในหมู่บ้านผาหมี ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย กล่าวว่าปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ จึงอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสีย เพื่อนำมาพิจารณาหรือปรับตัว อีกทั้งหากมีชาวบ้านอยู่ในเขตพื้นที่ที่จะประกาศนั้น เกรงว่าจะได้รับผลกระทบเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน เพราะอยู่มานานตั้งแต่บรรพบุรุษ ก่อนการประกาศเป็นเขตวนอุทยานเมื่อปี 2529 ดังนั้นจึงอยากให้เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดก่อนจะดำเนินการ เพื่อให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือปรับตัวได้ทัน

ชาวบ้านหวั่น! ยกระดับ “ถ้ำหลวง” เป็นอุทยานแห่งชาติ กระทบที่ทำกิน

"อยากให้เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดก่อนจะดำเนินการ เพื่อให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ "

ชาวบ้านหวั่น! ยกระดับ “ถ้ำหลวง” เป็นอุทยานแห่งชาติ กระทบที่ทำกิน

นายอนุภาส ปฏิเสน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวว่าพื้นที่ดังกล่าวประกาศเป็นเขตวนอุทยานมานานมากกว่า 30 กว่าปีแล้ว จากการสอบถามข้อมูลทราบว่า ได้รับงบประมาณปีละ 450,000 บาท ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดพื้นที่ ทำให้ที่ผ่านมาการพัฒนาเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงเห็นว่าแนวทางการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติฯ ถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะได้มีการจัดสรรงบประมาณเข้าไปพัฒนาฟื้นฟูสภาพพื้นที่ได้มากขึ้น และเขตดังกล่าวยังสามารถจัดเก็บรายได้ เพื่อนำมาบริหารจัดการภายในอีกด้วย ในอนาคตเชื่อว่าหากมีการเปิดให้เข้าชมถ้ำได้อีกครั้งจะมีผู้คนจากทั่วโลกไปเยือนเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านที่อยู่โดยรอบก็สามารถจำหน่ายสินค้าสร้างรายได้ได้อีกทาง

ชาวบ้านหวั่น! ยกระดับ “ถ้ำหลวง” เป็นอุทยานแห่งชาติ กระทบที่ทำกิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตรียมทำประชาพิจารณ์ รอบถ้ำหลวงฯ ก่อนประกาศยกระดับเป็น อุทยานแห่งชาติฯ

พัฒนาไปอีกขั้น! ถอดบทเรียนกู้ภัยถ้ำหลวง ภารกิจระดับโลก

related