svasdssvasds

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ แถลงยืนยันพบ โควิดเดลต้า สายพันธุ์ย่อย เพิ่ม 4 ชนิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ แถลงยืนยันพบ โควิดเดลต้า สายพันธุ์ย่อย เพิ่ม 4 ชนิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผย ตรวจพบโควิดเดลต้า สายพันธุ์ย่อย เพิ่ม 4 ชนิดในไทย เฝ้าระวังผลกระทบต่อการระบาดในไทย

ศ.เกียรติคุณ ดร. วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าววันนี้ (24 ส.ค.) ว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยของเดลตาในไทย หลังจากตรวจสอบพันธุกรรมของเชื้อไวรัส พบความเปลี่ยนแปลงจากการกลายพันธุ์ ซึ่งตามปกติโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา นอกจากจะมีสายพันธุ์หลักเป็น "B.1.617.2" แล้วยังกระจายตัวแตกเป็นสายพันธุ์ย่อยอีกถึง 27 สายพันธุ์ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เปิดเผยถึง การสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (SARS-CoV-2 whole genome sequencing 30,000 bp) เมื่อ 15 ส.ค. 2564 จากตัวอย่างที่ส่งมาทั่วประเทศ อันเป็นการประสานงานกันระหว่างศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี และ กลุ่มพันธมิตร COVID-19 Network Investigations (CONI) พบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

B.1.1.7 (อัลฟา) 11%
B.1.351 (เบตา) 14%
B.1.617.2 (เดลตา) 71%

และสายพันธุ์ย่อยของเดลตาอีก 4 ตัวคือ 

- AY.4 หรือ B.1.617.2.4 ช่วงที่พบเดือน มิ.ย.-ส.ค. ในพื้นที่ ปทุมธานี 4  ราย บุรีรัมย์ 1 ราย กำแพงเพชร 1 ราย เชียงใหม่ 1 ราย สมุทรปราการ 1 ราย ชลบุรี 1 ราย
- AY.6 หรือ B.1.617.2.6 ช่วงที่พบเดือน ก.ค. ในพื้นที่ กทม. 1 ราย
- AY.10 หรือ B.1.617.2.10 ช่วงที่พบเดือน ก.ค. ในพื้นที่ กทม.1 ราย
- AY.12 หรือ B.1.617.2.15 ช่วงที่พบเดือน ก.ค.-ส.ค. ในพื้นที่ กทม. (พญาไท) 1 ราย สุราษฎร์ธานี  2 ราย

ทั้งนี้ อยู่ระหว่างสังเกตอาการ และเฝ้าระวังจำนวนผู้ติดเชื้อว่ามีการแพร่ระบาดมากน้อยอย่างไร ยังไม่สามารถระบุได้ว่าสายพันธุ์ดังกล่าว หลบเลี่ยงภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษา

ส่วนสายพันธุ์เดลตาพลัสที่พบในประเทศอินเดีย ซึ่งมีการกลายพันธุ์ในกรดอะมิโน ที่เรียกว่า k417n นั้น ยืนยันว่า ยังไม่พบในประเทศไทย

related