svasdssvasds

ยูเนสโก ประกาศให้ “ดอยเชียงดาว” เป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก

ยูเนสโก ประกาศให้ “ดอยเชียงดาว” เป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก

ข่าวดี ยูเนสโก้ ประกาศให้ "ดอยเชียงดาว" จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก หรือพื้นที่ที่มีระบบนิเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ นับเป็นอีกพื้นที่ที่ได้รับการยกเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แจ้งว่า องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศให้ “ดอยเชียงดาว” จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลกจากยูเนสโก (UNESCO) อย่างเป็นทางการ

สำหรับดอยเชียงดาวมีคุณค่าสำคัญที่ควรค่าต่อการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ได้แก่-มีสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ของจีน-มีภูมิประเทศเขาหินปูนอันโดดเด่น-มีภูมิปัญญาเหมืองฝาย ตัวอย่างกลไกการจ่ายแทนคุณระบบนิเวศ ในพื้นที่บ้านปางมะโอ พื้นที่แกนกลางที่ได้รับการดูแลโดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มาเป็นเวลากว่า 40 ปี นอกจากนี้ดอยเชียงดาวยังมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ โดยมีการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยเฉพาะเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยหลวงเชียงดาว ยอดดอยหลวงเชียงดาว สูงเป็นอันดับ 3 ของเมืองไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงการด้านมนุษย์และชีวมณฑล (International Co-orinating Council on the Man and the Biosphere Programme: MAB-ICC) ครั้งที่ 33 ในระหว่างวันที่ 13-17 กันยายน 2564 ณ เมืองอาบูจา สาธารณรัฐไนจีเรีย องค์การยูเนสโกมีกำหนดประกาศให้และพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ในวันที่ 15 ก.ย. 64 ซึ่งหลังจากนั้นทาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น. ผ่านทางระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) โดยมีอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานแถลงข่าว

ยูเนสโก ประกาศให้ “ดอยเชียงดาว” เป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก

“ดอยเชียงดาว” ตั้งอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว และอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ มีความโดดเด่นด้านภูมิทัศน์ด้วยภูเขาหินปูน มีดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับสามของประเทศไทย มีความสูง 2,225 เมตร จากระดับน้ำทะเลดอยเชียงดาวเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำปิงตอนบน โดยมีทั้งระบบนิเวศดั้งเดิมที่ได้รับการปกปักษ์รักษามาอย่างยาวนาน และพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟูให้คืนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าไม้ มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 40 ปี ดอยเชียงดาวยังเป็นแหล่งอาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ป่าสงวน ได้แก่ กวางผา และเลียงผา รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด และมีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบพืชและสัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกได้

นอกจากนี้พื้นที่บริเวณดอยเชียงดาวยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาทิ วัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลีซอ ปกากะญอ และวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งแต่ละกลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ พื้นที่ดอยเชียงดาว มีความพร้อมที่เอื้อต่อการวิจัยในพื้นที่ เนื่องจากมีสถานีวิจัยในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีประสบการณ์โดดเด่นในการจัดการพื้นที่คุ้มครองเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะความสำเร็จในการอนุรักษ์กวางผาในถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีสถานีวิจัยต้นน้ำ และสถานีวิจัยเกษตรพื้นที่สูง

สำหรับ “พื้นที่สงวนชีวมณฑล” เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศบนบก ทะเล หรือชายฝั่งทะเล ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และระบบนิเวศ ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบันประเทศไทย มีพื้นที่สงวนชีวมณฑล อยู่ทั้งสิ้น 5 แห่ง ได้แก่ 

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา 
  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสัก-ห้วยทาก จ.ลำปาง 
  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า จ.เชียงใหม่ 
  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง จ.ระนอง
related