svasdssvasds

จีนที่ย้อนแย้งกับท่าทีสับสนในนโยบายสิ่งแวดล้อม ที่ขัดแย้งกันเอง

จีนที่ย้อนแย้งกับท่าทีสับสนในนโยบายสิ่งแวดล้อม ที่ขัดแย้งกันเอง

จีนเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกที่ถูกเพ่งเล็งจากทั่วโลก ในประเด็นสิ่งแวดล้อม เพราะพวกเขาปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลถึงเกือบ 1 ใน 3 ของโลก แต่ในขณะเดียวกัน จีนยังคงต้องหน้าเรื่องทำเหมืองถ่านหินเชื้อเพลิงต่อไป ทั้งที่หลายๆประเทศกดดันจีน

เชื่อหรือไม่ ? จีนคือประเทศที่ปล่อยกาศเรือนกระจก มากกว่าที่มาจากชาติที่พัฒนาแล้วทั้งหมดรวมกัน  คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของโลก  จีนกำลังทำ อะไรอยู่ กับสิ่งแวดล้อม ?


.
ภาพสายพานการผลิต เป็นหนึ่งกระบวนการทำเหมืองถ่านหินเชื้อเพลิงที่อยู่ลึกลงไป 600 เมตรจากผิวดิน  ภาพที่เห็นเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในการผลิตไฟฟ้าของประเทศจีน  ในช่วงที่ผ่านมา จีนให้การสนับสนุนโครงการจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานถ่านหิน ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมทั้ง อินโดนีเซีย และบังกลาเทศ
.
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการผลิตถ่านหินในต่างประเทศ ได้เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว .... หลังจาก สี จิ้นผิง ผู้นำจีน เพิ่งจะประกาศในช่วง ก.ย. ที่ผ่านมา ว่า จะไม่สนับสนุน พลังงานถ่านหินในต่างประเทศอีกแล้ว  การประกาศของจีนครั้งนี้ ถือว่า สอดคล้องกับ นโยบาย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อนบ้านร่วมภูมิภาค ท่าทีของจีนที่เปลี่ยนไป สอดคล้องกับ สิ่งที่ สี จิ้นผิง เคยพูดเอาไว้ว่า  จีนจะทำให้ได้ตามเป้าที่ประกาศไว้ นั่นคือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ก่อนปี 2030 และทำให้ประเทศปล่อยคาร์บอนฯ 0% ก่อนปี 2060  หรือในอีก 39 ปีข้างหน้า

จีนที่ย้อนแย้งกับท่าทีสับสนในนโยบายสิ่งแวดล้อม ที่ขัดแย้งกันเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่ ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่ม ก็วิจารณ์เป้าหมายนี้ของจีน เพราะมองว่า ยังเป็นเป้าหมายที่ไม่มีความทะเยอทะยาน และจริงจังมากพอ กับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม  เพราะหากถึงเวลานั้น โลกอาจถึงจุดที่ไม่อาจย้อนแก้ไขได้อีกแล้ว
.
ทราบกันหรือไม่ว่า  จีน ยังคงพึ่งพาพลังงานถ่านหินภายในประเทศเป็นอย่างมาก แม้จะไม่สนับสนุนเรื่องนี้ในต่างประเทศแล้วก็ตาม จีนยังเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่พวกเขายังเดินหน้าผลิตพลังงานถ่านหินที่ใช้ในประเทศของตัวเองต่อไป  จากการเก็บสถิติ จีน ปล่อยก๊าซเรือนกระจก คิดเป็นสัดส่วนถึง 27%  ขณะที่ สหรัฐ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ราว 11 %  หากสหรัฐฯและจีนไม่ทำข้อตกลงแก้ไขปัญหาด้านนี้ จะเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกที่จะส่งผลร้ายต่อโลกในอนาคต

จีนปล่อยก๊าซเรือนกระจก เกือบ 1 ใน 3 ของโลก

ปัญหาขาดแคลนพลังงานในจีน
.
ช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จีนเพิ่งพุ่งชนกับปัญหา ขาดแคลนถ่านหินและพลังงานไฟฟ้าครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายปี  ทำให้ทางการจีน สั่งให้เหมืองถ่านหิน 72 แห่งในเขตมองโกเลีย เดินเครื่องเพิ่มกำลังการผลิตต่อปี อีกเกือบ 100 ล้านตัน เพื่อแก้เกมปัญหาการขาดแคลนพลังงานครั้งนี้  อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า การเพิ่มปริมาณการผลิตพลังงานถ่านหินจีน ก็เพื่อช่วยบรรเทาการขาดแคลน  แต่ไม่อาจยุติวิกฤตพลังงานได้
.
และแนะนำว่า รัฐบาลจำเป็นต้องปันส่วนไฟฟ้าอย่างเหมาะสมเพื่อให้มีปริมาณถ่านหินและไฟฟ้าเพียงพอ ตลอดช่วงฤดูหนาว ท่าทีของจีน ในประเด็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังเป็นตัวเลขที่น่ากังวล และจีนคงต้องตอบคำถามกับประชาคมโลกให้ได้  อีกทั้ง การสื่อสารจากจีน ก็ยังดูเป็นปัญหา เพราะ การประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 ที่จัดขึ้นที่สกอตแลนด์ ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายนนี้ สี จิ้นผิง ผู้นำจีน ก็จะไม่มาร่วมประชุม
.
แล้ว แบบนี้ จีนจะสื่อสารกับประชาคมโลกอย่างไร ?

related