svasdssvasds

สหรัฐฯ เล็งคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่ง 2022 โต้จีน จากปัญหาสิทธิมนุษยชน

สหรัฐฯ เล็งคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่ง 2022 โต้จีน จากปัญหาสิทธิมนุษยชน

โจ ไบเดน ประธานาธิบดี สหรัฐ เผยว่ายังมีความเป็นไปได้ ที่จะบอยคอต หรือ คว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน "ปักกิ่ง 2022" ซึ่งจะแข่งขันกันวันที่ 4 ก.พ. - 20 ก.พ. 2022 ด้วยเหตุผล ตอบโต้จีนจากปัญหาสิทธิมนุษยชน

"คว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว" ?
.
กีฬากับการเมืองดูจะเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก! โดยสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า โจ ไบเดน ประธานาธิบดี สหรัฐ ยังไม่ละทิ้ง 'ความเป็นไปได้' ที่จะ บอยคอต หรือ คว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน "ปักกิ่ง 2022" ซึ่งจะแข่งขันกันวันที่ 4 ก.พ. - 20 ก.พ. 2022 
.
สาเหตุที่ โจ ไบเดน ยังมีความคิดที่จะเลือกทาง "คว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว" ที่จีน หรือ "ปักกิ่ง 2022" นั่นเป็นเพราะ ตอบโต้จีนจากปัญหาคุกคามสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลจีน โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวมุสลิมอุยกูร์ ในมณฑลซินเจียง
.
แม้ที่ผ่านมา จีนจะพยายามชี้แจงหลายครั้งเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวฝ้ายในซินเจียงว่า ปัจจุบันใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน แต่เรื่องนี้ยังตกเป็นประเด็นที่ทางกลุ่มธุรกิจประเทศตะวันตกยังใช้โจมตีจีน และเรียกร้องให้ต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน จนเกิดรอยร้าวลึกขึ้น 


.
โดย ฝั่งจีนตอบโต้ด้วยการแบนสินค้าอย่าง ไนกี้ Nike , แอช แอนด์ เอ็ม H&M  เป็นต้น แม้ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางออนไลน์ ระหว่าง โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ และ สี จิ้น พิง ประธานาธิบดีจีน กลับไม่มีการพยายามหาข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่อย่างใด นั่นทำให้ทุกอย่างยัง "ซุกอยู่ที่ใต้พรม" อยู่ต่อไป 
.
ขณะที่ กระทรวงการต่างประเทศของจีนตอบโต้ความคิดเห็นของ โจ ไบเดน และกล่าวหาว่าสหรัฐ ละเมิด "จิตวิญญาณแห่งโอลิมปิก" โดยชี้ว่า "กีฬาทางการเมืองขัดต่อจิตวิญญาณของโอลิมปิก และส่งผลเสียต่อผลประโยชน์ของนักกีฬาจากทุกประเทศ" จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผย

สหรัฐฯ เล็งคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่ง 2022 โต้จีน จากปัญหาสิทธิมนุษยชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเด็น "เผิง ฉ่วย" ช่วยเติมเชื้อไฟ ?  
.
นอกจากนี้ ในช่วงหลังยังมีประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ อย่าง กรณี "เผิง ฉ่วย" นักเทนนิสจีนระดับโลก วัย 35 ปี ที่หายตัวอย่างลึกลับ และไม่มีการปรากฏตัวใดๆ นับตั้งแต่ออกมาโพสต์บนเวยป๋อ เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2021 โดยระบุว่าเธอเคยถูก จาง เกาลี่ อดีตรองนายกรัฐมนตรีจีนบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ด้วย ซึ่งเรื่องนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว  จนกระทั่งเรื่องดังกล่าวทำให้ สตีฟ ไซมอน ประธานสมาคมนักเทนนิสอาชีพหญิงโลก (WTA), รวมถึง องค์การสหประชาชาติ(UN)  ออกมาร่วมตามหา พร้อมติดแฮชแท็ก #WhereIsPengShuai ด้วย
.
แม้ เรื่องนี้ในการสืบสวนหาข้อสรุปความจริงจะยังไม่ปรากฏ 100 เปอร์เซนต์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ตอกย้ำ ปัญหาการคุกคามสิทธิมนุษยชน ในจีน 
.
โดยเบื้องต้น สหรัฐจะยังส่งนักกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ไปแข่งขันตามปกติ แต่ไม่มีนักการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ไปร่วมด้วยเลย  ขณะที่มีนักการเมืองสหรัฐ เรียกร้องให้คว่ำบาตรเต็มร้อยเปอร์เซนต์ แบบไม่มีนักกีฬาไปแข่งเลย 

 

ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกมีการ บอยคอย โอลิมปิก...
.
คงต้องยอมรับว่า กีฬากับการเมือง เป็นเรื่องที่แยกขาดจากกันไม่ออก...โดยหาก นับเอา กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ซึ่งถือเป็นกีฬาแห่งมวลมนุษยชาตินั้น เคยมีเหตุการณ์ การ "แบน" หรือ "บอยคอต" การเข้าร่วมการแข่งขันมาแล้ว หลายครั้ง 
.
โดยในช่วงเวลา ที่โลกทั้งใบต้องเจอกับภาวะ "สงครามเย็น" Cold War ซึ่งช่วงที่โลกตึงเครียดหนักในระหว่างยุค 1970s-1980s  โอลิมปิก 3 ครั้ง คือ ปี 1976  ที่เมืองมอนทรีอัล แคนาดา เป็นเจ้าภาพ , ปี 1980 ที่เมืองมอสโก สหภาพโซเวียต เป็นเจ้าภาพ และ ปี 1984 เมืองลอส แองเจลิส สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพ มีประเทศจำนวนมากที่ "คว่ำบาตรโอลิมปิก"  รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่เลือกการ "บอยคอต" โอลิมปิก 1980 ที่มอสโก ซึ่ง ปีนั้น มีชาติไม่เข้าร่วมโอลิมปิกสมัยใหม่ มากที่สุด ถึง 66 ชาติ 

เหตุการณ์การบอยคอตโอลิมปิกในอดีต

related