svasdssvasds

เด็กในอัฟกานิสถานตายทุกสัปดาห์ หลังรพ.โดนตัดไฟ บุคคลากรไม่ได้ค่าจ้าง

เด็กในอัฟกานิสถานตายทุกสัปดาห์ หลังรพ.โดนตัดไฟ บุคคลากรไม่ได้ค่าจ้าง

อัฟกานิสถานวิกฤต เด็กทารกแรกเกิดตายทุกสัปดาห์ หลังถูกตาลีบันเข้ายึดครอง โรงพยาบาลหลายแห่งถูกตัดไฟระหว่างผ่าตัด ขาดแคลนยาและบุคคลากรไม่ได้เงินค่าจ้างมานานแล้ว

“ฉันไม่รู้ว่าฉันจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร และฉันจะให้กำเนิดมนุษย์คนหนึ่งได้เหรอ”

แม่รายหนึ่งกำลังร้องขอให้หมอฆ่าเธอและลูกของเธอซะ เพราะคิดว่าออกไปก็ไม่รอดอยู่ดี เธอขาดสารอาหารมากจนไม่น่าจะมีน้ำนมเพียงพอใหลูกน้อยของเธอได้ดื่มประทังชีวิต

แพทย์ในอัฟกานิสถานกำลังเผชิญกับวิกฤตร้ายแรง และหลายคนทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง วิกฤตด้านมนุษยธรรมในอัฟกานิสถานได้ทวีความรุนแรงขึ้นในหลายด้าน และกำลังเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ

 

ดร.นูรีกล่าวว่า คนไข้ในหอผู้ป่วยแน่นมาก จนต้องเบียดเสียดผู้หญิงที่กำลังจะคลอดบุตร ผนังและผ้าปูที่นอนเต็มไปด้วยเลือด  พนักงานทำความสะอาดส่วนใหญ่ลาออกจากโรงพยาบาลเมื่อหลายเดือนก่อน เพราะพวกเขาเองก็ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง และห้องทำคลอดคนแน่นมาก จนบางครั้งผู้หญิงหลายคนต้องนอนเตียงเดียวกัน สิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียงและโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งก็ปิดตัวลง โรงพยาบาลแห่งนี้จึงกลายเป็นที่พึ่งแห่งสำคัญของผู้คน ที่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าใช้บริการมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า

“แผนกสูติกรรมเป็นหนึ่งในหอผู้ป่วยที่ควรจะเป็นที่ที่มีความสุขที่สุดในโรงพยาบาล แต่มันไม่มีในอัฟกานิสถานอีกต่อไป”

ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ในเดือนกันยายน  เธอได้เห็นทารกแรกเกิดห้าคนเสียชีวิตไปเนื่องจากขาดสารอาหารและอดตาย

cr.BBC ที่นี่มันนรกชัดๆ

อัฟกานิสถานกำลังเผชิญกับภัยแล้งที่รุนแรงและความขัดแย้งมาหลายทศวรรษ แต่การยึดครองของกลุ่มตาลีบันได้เร่งให้ประเทศตกต่ำจนไปสู่การล่มสลายทางเศรษฐกิจได้ในไม่ช้า ความช่วยเหลือจากนานาชาติที่หลั่งไหลเข้าช่วยนั้นช้าลง มีการช่วยค้ำจุนเศรษฐกิจและระบบสุขภาพมานานหลายศตวรรษจากนานาชาติ แต่ก็ได้หยุดชะงักลงเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้บริจาคชาวตะวันตกกังวลอย่างมากในการเคลื่อนย้ายเงินผ่านรัฐบาลที่ปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิง และขู่ว่าจะลงเธอพวกเธออย่างรุนแรงหากฝ่าฝืนกฎของชารีอะห์ ซึ่งหมายความว่าอัฟกานิสถานกำลังเผชิญกับวิกฤตความหิวโหยที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก ตามตัวเลขล่าสุดของสหประชาชาติ เด็กประมาณ 14 ล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะทุพโภชนาการอย่างเฉียบพลันในฤดูหนาวนี้

ทั่วทั้งประเทศ โรงพยาบาลที่ช่วยเยียวยารักษาภาวะอดอยากเหล่านี้กำลังพังทลายลง โดยสถานพยาบาลเกือบ 2,300 แห่งได้ปิดตัวลงแล้วในตอนนี้ แพทย์ในพื้นที่ห่างไกลรายรางว่า พวกเขาไม่สามารถจัดหายาพื้นฐานในการรักษาได้ แม้แต่ยาสามัญประจำบ้านอย่างยาพาราเซตามอลสำหรับผู้ป่วยหนักที่เดินทางมากว่า 12 ชั่วโมงเพื่อรับการรักษา เราก็ไม่สามารถช่วยเขาได้

ในกรุงคาบูล โรงพยาบาลเด็กขนาดใหญ่กำลังเผชิญกับความอดอยากที่เลวร้ายที่สุดในประเทศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล Dr.Siddiqi เห็นว่ามีอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนหลังจากถูกตัดเงินช่วยเหลือ มีเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี สูงสุด 4 คน เสียชีวิตทุกสัปดาห์จากการขาดสารอาหารหรือโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น อาหารเป็นพิษ บางครั้งก็มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบถูกอุ้มมาส่งแต่ก็สายเกินไปที่เราจะช่วยเขาได้แล้ว

สำหรับผู้ที่มาได้ทันเวลา เรายังพอมีทรัพยากรเล็กน้อยในการช่วยเหลือพวกเขา โรงพยาบาลกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารและยาอย่างร้ายแรง และยังต้องดิ้นรนเพื่อให้ผู้ป่วยอบอุ่นร่างกายได้ เพราะเราเองก็ขาดเชื้อเพลิงสำหรับให้ความอบอุ่นจากส่วนกลางด้วย ดังนั้น Dr.Siddiqi จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตัดและเก็บกิ่งไม้แห้งทุกวันเพื่อมาป้อนเข้าเตาฟืนอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งเราไม่อาจรู้ว่าเดือนข้างหน้าเราจะทำอย่างไรดี

แม้แต่ห้องผ่าตัดยังถูกตัดไฟ

ในแผนกสูติของดร.นูรี พวกเธอถูกตัดไฟบ่อยมาก การตัดไฟจะทำให้เห็นว่ามีเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดเสียชีวิตเพราะตู้อบเด็กล้มเหลวเพราะไม่มีกระแสไฟ เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากที่เราต้องมาเห็นพวกเขาตายไปต่อหน้าต่อตาเกือบทุกอาทิตย์ อีกทั้งการตัดไฟอาจส่งผลต่อการผู้ป่วยคนอื่นๆด้วย โดยเฉพาะระหว่างการผ่าตัด

“เมื่อวันก่อน เรากำลังผ่าตัดกันอยู่แต่จู่ๆไฟก็ดับไป ทุกอย่างหยุดนิ่ง ฉันวิ่งไปตะโกนขอความช่วยเหลือ มีคนกำลังเติมน้ำมันรถ เขาส่งต่อน้ำมันนั้นให้เราเพื่อจะได้เปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ มันทำให้ฉันเครียดมาก เวลาเกิดเรื่องแบบนี้”

แม้ว่าจะถูกบังคับให้ทำงานภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทายเช่นนี้ แต่บุคลกรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับค่าจ้างใดๆเลยในขณะนี้

Cr.BBC

ดร.ราห์มานี  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฟาราห์ ที่เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยโควิด เธอได้แบ่งปันกับ BBC ว่าเธอได้รับจดหมายจากกระทรวงสาธารณสุขที่นำโดยกลุ่มตาลีบัน ลงวันที่ 30 ตุลาคม ว่าพวกเขาขอให้เจ้าหน้าที่ทำงานต่อไปโดยทางกระทรวงยังไม่สามารถจ่ายเงินค่าจ้างให้ได้ จนกว่าจะได้รับทุน

เมื่อวันอังคาร ดร.ราห์มานี ยืนยันว่าขณะนี้โรงพยาบาลของเธอต้องปิดตัวลง เพราะไม่มีเงินทุนในการดำเนินงานต่อ มีภาพถ่ายยืนยันตอนที่ผู้ป่วยถูกเข็นออกจากโรงพยาบาลโดยใช้เปลหาม

ในบริเวณใกล้เคียง โรงพยาบาลอีกแห่งที่เชี่ยวชาญด้านการรักาผู้ติดยาก็ประสบปัญหาในการดูแลผู้ป่วย พวกเขาไม่สามารถให้ยากระตุ้นเพื่อถอนเฮโรอีน ฝิ่น และยาไอซ์ได้เพียงพอในการบำบัดผู้ป่วย ผู้ป่วยบางคนถูกจับมัดอยุ่กับเตียง บางคนถูกคล้องด้วยโซ่หรือกุญแจมือเพราะกลัวว่าเขาจะใช้ความรุนแรงและโจมตีเราได้ทุกเมื่อ เป็นเรื่องยากมากที่เราจะสามารถดูแลพวกเขาได้อย่างเหมาะสม ไม่อย่างนั้นโรงพยาบาลแห่งนี้ก็คือคุกสำหรับพวกเขาก็ไม่ผิดแปลกซะเท่าไหร่

อีกทั้งโรงพยาบาลแห่งนี้ก็ใกล้จะปิดตัวลงเช่นกัน เนื่องจากพนักงานน้อยลงและดร.ยังกังวลว่าถ้าเขาปิดโรงพยาบาลจะต้องมีผู้ป่วยที่น่าสงสารในฤดูหนาวอันโหดร้ายที่กำลังจะมาถึงนี้เป็นจำนวนมากแน่

รัฐบาลตาลีบันตอบกลับ

ทางด้านดร.คาลันดาร์ อิบาด รัฐมนตรีสาธารณสุขที่กลุ่มตาลีบันแต่งตั้งขึ้น บอกกับ BBC เมื่อเดือนพฤศจิกายนว่ารัฐบาลกำลังทำงานกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการช่วยเหลืออีกครั้ง

อย่างไรก็ตามผู้บริจาครายใหญ่ กำลังมองหาเส้นทางเลี่ยงกลุ่มตาลีบัน เพราะเกรงว่าความช่วยเหลือที่ส่งไปจะไม่ถูกใช้ตามวัตถุประสงค์ที่เหล่าผู้บริจาคตั้งใจไว้ และเมื่อวันที่ 10 พ.ย. สหประชาชาติประสบความสำเร็จในการหาเส้นทางรับอัดฉีดเงิน 15 ล้านเหรียญเข้าสู่ระบบสุขภาพของประเทศโดยตรงได้ มีการใช้งบประมาณ 8 ล้านดอลลาห์เพื่อจ่ายเงินค่าจ้างให้พนักงานสาธารณสุข 23,500 คนในเดือนที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีจำนวนค่อนข้างน้อยในขณะนี้ และผู้บริจาคก็หวังว่าเงินที่ส่งไปจะถูกใช้อย่างเหมาะสม แต่เวลาก็กำลังจะหมดลง เพราะเริ่มกลับมาขาดแคลนอีกรอบ โดยเฉพาะน้ำดื่มและการคงอุณหภูมิที่อบอุ่นให้กับคนไข้

และปัจจุบันก็มีแม่อุ้มลูกออกจากโรงพยาบาลไป ทั้งๆที่เด็กและตัวแม่เองยังไม่แข็งแรง พวกหมอกำลังเป็นห่วงคนเหล่านั้น เพราะพวกเขาทั้งไม่มีเงิน ไม่สามารถซื้ออาหารให้ตนเองและลูกได้ อีกทั้งสภาพอากาสกำลังลดอุณหภูมิลงเรื่อยๆ บางครั้งหมอก็สงสัยตัวเองเหมือนกันว่าทำไมยังทำงานนี้อยู่ ทุกๆเช้าเราจะถามตัวเองด้วยคำถามนี้ และก็ตอบตัวเองด้วยการให้กำลังใจว่า เพราะฉันหวังว่าอนาคตมันอาจจะดีกว่านี้ได้ไงล่ะ

ที่มาข้อมูล

Credit Picture : BBC

https://www.bbc.com/news/world-asia-59419962

https://www.bbc.com/thai/international-59049750

related