svasdssvasds

ความรุนแรง-ทารุณกรรมในครอบครัว ปกป้องเหตุเด็กถูกทำร้ายได้ 3 ช่องทาง

ความรุนแรง-ทารุณกรรมในครอบครัว ปกป้องเหตุเด็กถูกทำร้ายได้ 3 ช่องทาง

จากข่าวที่เด็กถูกทำร้ายวัยเพียง 6 ขวบถูกขังในรถจนเสียชีวิตจากคนในครอบครัว อีกครั้งที่เด็กต้องตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจากคนใกล้ตัว โดยที่จริงแล้วทุกคนสามารถช่วยเป็นหูเป็นตาให้กันและกันได้ ด้วยการแจ้งเหตุไปที่หน่วยงานได้ทั้งโทรและออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง

เรื่องในครอบครัวเขาคุณเข้าไปยุ่งได้ โดยเฉพาะเรื่องความรุนแรงในครอบครัว การกระทำความรุนแรงต่อเด็กที่ต่ำกว่า 18 ปีและยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตามกฎหมาย พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ระบุไว้ใน มาตรา ๔๑ ผู้ใดพบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กให้รีบแจ้งหรือรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่... เมื่อได้กระทำโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง

 

ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของคนในสังคม ที่จะช่วยกันสอดส่องดูแลเด็ก แม้ไม่ใช่คนในครอบครัวเดียวกันก็ตาม โดยสามารถแจ้งเหตุได้ที่

สายด่วน 1300 ตลอด 24ชั่วโมง
เว็บไซด์
cpis.dcy.go.th หรือ ดาว์นโหลดแอพพลิเคชั่น cpis
แอพแจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว

 


ภาพเหตุการณ์จำลองความรุนแรงในครอบครัว
แคมเปญ

#หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต #endviolence


CREDIT 
UNICEFThailand

เพื่อแจ้งเหตุได้อย่างทันท่วงที เป็นการช่วยเหลือให้เด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อความรุนแรงต่างๆ ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือ โดยที่คุณไม่ต้องนั่งห่วงว่าเด็กจะเป็นอย่างไร เพราะสามารถติดตามผลการช่วยเหลือได้ผ่านแอพนี้เช่นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์สลดและช่วยหยุดความรุนแรงในครอบครัว โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปเป็นผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กต่อไปตามขั้นตอน

 

ข้อมูลจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถิติความรุนแรงในครอบครัว ระหว่างเดือน ต.ค.63-ก.ย.64 พบว่ามีรายงานการกระทำความรุนแรงในครอบครัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ย 200 เรื่องต่อเดือน โดยส่วนใหญ่เด็กและผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำ ทั้งนี้ความเป็นความรุนแรง ทั้งทางร่างกาย 64% จิตใจ 32% และเรื่องเพศ 4% จากสถิติปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงมาจาก ยาเสพติด สุรา การพนัน หย่าร้าง หึงหวง รวมทั้งความเครียดทางเศรษฐกิจและนโยบายกักตัวอยู่ที่บ้านจากสถานการณ์โควิด-19


ความรุนแรงในครอบครัวสามารถตัดไฟได้ตั้งแต่ต้นลม เพียงถ้าเราทุกคนให้ความร่วมมือและสอดส่องดูแลซึ่งกันและกัน เพราะถึงแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับครอบครัวของเราแต่การเพิกเฉยและมองข้ามความรุนแรงไม่ว่าจะรูปแบบใด อาจเป็นเหตุให้เรื่องทะเลาะ ตบตี เพียงเล็กน้อย ลงท้ายเป็นการทารุณกรรมและโศกนาฎกรรมในภายหลัง แม้จะไม่ถึงกับชีวิตแต่ก็ได้ตราเป็นบาดแผลให้กับเหยื่อไปตลอดชีวิต การหยุดความรุนแรงโดยการช่วยกันแจ้งเหตุร้ายใกล้ตัว จึงเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยยับยั้งและทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น

 

related