วันพืชมงคล 2565 คืออะไร ความหมาย ที่มา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
วันพืชมงคล 2565 คืออะไร ความหมาย ที่มา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีขั้นตอนอย่างไร อีก 1 วันสำคัญด้านวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของไทย
วันพืชมงคล 2565 ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม มีความหมายตามความเชื่อโบราณเกี่ยวกับการเพาะปลูก เพื่อความอุดมสมบูรณ์ทั้งดิน น้ำ และพืชพรรณธัญญาหาร รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้เกษตรกรของชาติ
ข่าวที่น่าสนใจ :
- หัวใจติดดิน! "5 คนดัง" ทิ้งชีวิตหรูในเมือง ผันตัวเป็นเกษตรกร ทำไร่ทำสวน
-
เกษตรอินทรีย์ เพื่อเศรษฐกิจยั่งยืน และชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร
-
กรมวิชาการเกษตร สั่งระงับเพิ่มอีก 5 ล้ง หลังพบทุเรียนปนเปื้อนโควิด
ประวัติ วันพืชมงคล มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประธานในพระราชพิธี ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม และมายึดถือพิธีพราหมณ์ที่ควบคู่พิธีทางสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า "พระราชพิธีพืชมงคล" ตั้งแต่นั้นมา
พระราชพิธีพืชมงคล คืออะไร? การทำขวัญเมล็ดพันธุ์พืช อาทิ ข้าวเปลือกจ้าว, ข้าวเหนียว, ข้างฟ่าง, ข้าวโพด, ถั่ว, งา, เผือก, มัน ตามความเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นจะปราศจากโรคภัย ให้ความอุดมสมบูรณ์ เจริญงอกงามดี
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ คืออะไร? พิธีไถนาหว่านเมล็ดข้าว เพื่อเป็นอาณัติสัญญาณว่าฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และยังเป็นสิริมงคล สร้างขวัญกำลังใจแก่เกษตรกร
นอกจากนี้จะมีพิธีพยากรณ์ "พระโคเสี่ยงทาย" ให้เลือกกินอาหาร 7 อย่าง คือ ข้าวเปลือก, ข้าวโพด, ถั่วเขียว, งา, เหล้า, น้ำ, หญ้า มีความหมาย ดังนี้
- กินข้าว,ข้าวโพด : ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
- กินถั่ว,งา : ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
- กินน้ำ,หญ้า : น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์
- กินเหล้า : การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
Cr. เนื้อหา กรุงเทพธุรกิจ