svasdssvasds

วันโหวตเลือกนายกฯ พิธา จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช็กความเป็นไปได้ แต่ละเหตุการณ์

วันโหวตเลือกนายกฯ พิธา จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช็กความเป็นไปได้ แต่ละเหตุการณ์

ฉายภาพฉากทัศน์ หรือ Scenario ต่างๆ ในวันโหวตเลือกนายกฯ ชี้ชะตานายกฯพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะได้เป็นผู้นำประเทศหรือไม่ , วันนั้น มีโอกาสจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช็กความเป็นไปได้แต่ละเหตุการณ์

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นี้  จะมีการเปิดรัฐสภา โหวตเลือกนายกฯ คนที่ 30 ,สำหรับ การโหวตครั้งนี้ จะเป็นไปตามที่คาดหวังกันไว้หรือไม่  พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคจะถูกโหวตผ่านฉลุยหรือไม่ คงต้องมาลุ้นกัน , แต่อย่างที่ทราบๆกันดีว่า พิธา จะต้องเจอกับด่านสำคัญ นั่นคือการโหวต จาก ส.ว. 

โดยคาดว่า การเมืองไทย อาจจะเจอกับ ฉากทัศน์  หรือ Scenario ต่างๆ ดังนี้ 

• ตัวแปรอยู่ที่ ส.ว. 250 เสียง จะโหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์กี่เสียง ? 

ฉากทัศน์ ที่ 1 หรือ Scenario ที่ 1 การโหวตเลือกนายกฯ พิธา มีเสียง ส.ว.พอหนุน ว่าที่นายกฯพิธา เป็นนายกฯตัวจริงได้หรือไม่  หากวิเคราะห์กันตามตัวเลขแล้ว , พรรคร่วมรัฐบาล ทั้ง 8 พรรค มีอยู่ทั้งสิ้น 312 เสียง หักเสียงของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ที่ไปดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส. ของพรรคก้าวไกลที่ลาออกไป  

ทำให้ ณ ขณะนี้ มีเสียงสนับสนุนนายพิธา คงเหลือ 310 เสียง ยังขาดอยู่ 66 เสียง ถึงจะได้เสียงกึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง ตามที่รัฐสภากำหนด  => ถ้าหากเสียง ส.ว. ไม่พอ จะนำไปสู่ฉากทัศน์ที่ 2 หรือ Scenario ที่ 2 

ฉากทัศน์ที่ 2 Scenario ที่ 2  การจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล สามารถ ดึงพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันมาร่วมหนุนได้หรือไม่ => น่าจะใช้วิธีโหวตหลายครั้ง => ถ้ายังได้เสียงไม่ครบ 376 อีก ก็จะนำไปสู่ฉากทัศน์ที่ 3 

ฉากทัศน์ที่ 3   Scenario ที่ 2 ก้าวไกลต้องยอมเปลี่ยนให้เพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทน

วันโหวตเลือกนายกฯ พิธา จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช็กความเป็นไปได้ แต่ละเหตุการณ์  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรณี พรรคเพื่อไทย มีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แทนก้าวไกล 

ฉากทัศน์ที่ 1  Scenario ที่ 1 
รักษาพันธสัญญาร่วมตั้งรัฐบาล 8 พรรคไว้ตามที่ตกลงกันไว้ 

ถ้าเลือกฉากทัศน์ นี้ แล้วหวังจะได้เสียง ส.ว. เพื่อไทยต้องแสดงจุดยืนชัดว่า ทั้ง 8 พรรค จะไม่แก้มาตรา 112 รวมทั้งการดำเนินการอื่นที่ ส.ว. คัดค้าน ถ้าก้าวไกลยอมรับเงื่อนไข เพื่อไทยคงตั้งรัฐบาลได้ แต่กระทรวงที่เป็นโควตาแต่ละพรรค ต้องเจรจากันใหม่ 

ฉากทัศน์ที่ 2 หรือ  Scenario ที่ 2  
ถ้าพรรคก้าวไกลไม่ยอมรับเงื่อนไข ก็ต้องฉีก MOU ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล แล้วเพื่อไทยจำเป็นต้องเริ่มกระบวนการเปิดเจรจากับพรรคการเมืองอื่นเพื่อตั้งรัฐบาล 

แนวโน้มสถานการณ์ของการจัดตั้งรัฐบาล

  • ก้าวไกล โดยการนำของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะสู้ ในประเด็นการจัดตั้งรัฐบาลเองจนถึงที่สุด เพื่อรักษาสิทธิ์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะใช้มวลชนร่วมกดดัน 
  • การเสียเก้าอี้ประธานสภา แม้จะเสียให้คนกลางอย่าง "วันมูหะมัดนอร์ ทะมา" แต่ก้าวไกลก็รู้ดีว่า เป็นการ "แพ้ทางยุทธศาสตร์"  แม้จะมองแง่บวกว่าเอาชนะเพื่อไทยได้ เพราะเพื่อไทยเกือบพังและถูกโจมตี ดิสเครดิต ด้อยค่าอย่างหนัก แต่ในทางยุทธศาสตร์การต่อสู้ในเกมชิงอำนาจ รักษาอำนาจ ต้องถือว่าก้าวไกลแพ้ เพราะ 

ก้าวไกลไม่ได้ประธานสภาไปเป็นของตนเองตามที่หวัง ทำให้เสนอกฎหมาย หรือเปลี่ยนกติกาสภาให้เข้าทางตัวเองไม่ได้ตามที่คิด

ในแง่ของตัว "วันนอร์" เมื่อได้รับเลือกด้วยเสียงเอกฉันท์ จะกลายเป็นแรงกดดันให้ต้องแสดงบทบาทที่เป็นกลางจริงๆ เหมือนกรณี "ชวน หลีกภัย" และเป็นการปรามพรรคประชาชาติ ไม่ให้ "ล้ำเส้น" เรื่องชายแดนใต้ เพราะมีตำแหน่งประธานสภาค้ำอยู่ ขยับยาก ต้องเป็นกลาง 

อย่างไรก็ตาม ในประเด็น อาจารย์ "วันนอร์" เป็นการผูกเกลียวกันแน่นขึ้นระหว่างเพื่อไทย - ก้าวไกล โดย ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ชี้ ประเด็นการเลือกประธานสภา ซึ่งสุดท้ายแล้ว ลงเอยที่ วันมูหะมัดนอร์ มะทา เชื่อว่า การที่ ฉากการเมือง หลังเลือกตั้ง 2566 ลงเอยแบบนี้ในตำแหน่งประธานสภาฯ จะส่งผลผูกมัดแน่นขึ้นด้วยซ้ำ เพราะต่างฝ่ายต่างยอมกัน 

วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ

related