svasdssvasds

“ปริญญา” เตือน “เพื่อไทย” เจรจาพรรคต่างขั้วตั้งรัฐบาล ระวังเสียอำนาจต่อรอง

“ผศ.ดร.ปริญญา เทวนฤมิตรกุล” เตือน “พรรคเพื่อไทย” เปิดวงเจรจากับพรรคต่างขั้ว ระวังสูญเสียอำนาจต่อรอง แนะ ควรตั้งรัฐบาลโดยคำนึงถึงเสียงข้างมาก

ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดอภิปรายเรื่อง วิเคราะห์การโหวตนายกรัฐมนตรีรอบ 3 และการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย โดย “ผศ.ดร.ปริญญา เทวนฤมิตรกุล” ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นดังต่อไปนี้

“เพื่อไทย” เจรจาพรรคต่างขั้วตั้งรัฐบาล ระวังเสียอำนาจต่อรอง

"ผศ.ดร.ปริญญา" ระบุว่า การลงมติของสมาชิกรัฐสภา ที่เสียงส่วนใหญ่เห็นชอบให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเป็นญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 ทำให้การเสนอชื่อนายกฯ คนเดิมเป็นครั้งที่ 2 ไม่สามารถทำได้ ตนมองว่า เป็นการตีความว่า ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ

ผลที่เกิดขึ้นก็คือ นอกจากแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคอันดับ 1 ต้องออกไป เลือกใหม่ไม่ได้แล้ว ว่าที่นายกฯ ทุกคนจะถูกเสนอชื่อได้เพียงหนเดียว จึงเป็นเหตุผลให้พรรคเพื่อไทยต้องไปเชิญพรรคอื่นๆ เข้ามาแล้ว และนำไปสู่การตั้งเงื่อนไขว่า พรรคก้าวไกลต้องออกไป คำถามต่อมา คือ พรรคเพื่อไทยจะมีทางเลือกอะไรได้บ้าง ?

1. จัดตั้งรัฐบาลบนพื้นฐานของ 8 พรรค ที่ได้มีการตกลงกันไว้ โดยมองว่าตัวเลขผู้ที่ลงคะแนนเลือก 8 พรรค อยู่ที่ 27 ล้านเสียง ขณะที่พรรคฝั่งอนุรักษ์นิยมรวมกันไม่ถึง 10 ล้านเสียง จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมรัฐบาลของ 27 ล้านเสียงควรจะเป็นทางเลือกแรก

ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรยอมรับว่า ข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อที่ 41 อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นใช้บังคับไม่ได้

“ปริญญา” เตือน “เพื่อไทย” เจรจาพรรคต่างขั้วตั้งรัฐบาล ระวังเสียอำนาจต่อรอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ที่จริงแล้วมติการตีความเป็นปัญหาก่อให้เกิดบรรทัดฐานที่ผิดๆ นี่ไม่ใช่ปัญหาของ “พิธา” หรือ “ก้าวไกล” แต่เป็นเรื่องที่ สว.ทำหน้าที่เลยบทบาทไปมาก”

2. “พรรคเพื่อไทย” ยอมกับสิ่งที่พรรคอื่นมาตั้งเงื่อนไขต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องยกระดับไม่เอาพรรคอันดับ 1 ดูเหมือนว่า ขณะนี้จะโน้มเอียงทางนี้ หากยอมรับเช่นนี้ พรรคเพื่อไทยต้องระมัดระวัง

- เพราะเสียจุดแข็งที่สุด คือ อำนาจต่อรอง ทั้งที่มีเสียงรวมกับก้าวไกล 292 เสียง กระทรวงสำคัญๆ จะไม่อยู่ในมือ

- ต้องรับผลที่ตามมาในแง่ความรู้สึกของประชาชน เพราะจะทำให้คนมองว่า เตรียมการมาแล้ว และถูกมองว่า เป็นพวกเดียวกับ สว.

- เพื่อไทยต้องระมัดระวัง เรื่องการสลายขั้วประชาธิปไตย

“ผศ.ดร.ปริญญา เทวนฤมิตรกุล” ได้ระบุว่า “ดังนั้นตนจึงเห็นว่าควรจัดตั้งรัฐบาลของประชาชน 27 ล้านคน อย่างถึงที่สุดก่อน”

“ปริญญา” เตือน “เพื่อไทย” เจรจาพรรคต่างขั้วตั้งรัฐบาล ระวังเสียอำนาจต่อรอง

ทางเลือกของ “พรรคก้าวไกล”

ส่วนพรรคก้าวไกล “ผศ.ดร.ปริญญา” มองว่า มี 2 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 ยืนยันเรื่องการแก้ไข ม.112 แล้วเป็นฝ่ายค้าน

ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนแปลงการแก้ไข ม.112 เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้ ม.112 ที่เกินความเหมาะสมไปในหลายกรณี รวมถึงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน เพราะกฎหมายฉบับนี้โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 7 ปี แต่คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41/2519 เพิ่มโทษเป็น 15 ปี

ทางเลือก คือ เสนอร่าง พ.ร.บ.ที่จะมาแก้ไข หรือ ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองดังกล่าว เพราะมองว่า มีประชาชนจำนวนไม่น้อย ที่คิดว่า ถ้าเรื่องนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญอาจจะปรับเปลี่ยนได้พอสมควร

โดย “ผศ.ดร.ปริญญา” กล่าวว่า “การตั้งรัฐบาล ฝ่ายที่ควรเกี่ยวข้องน้อยที่สุด คือ “วุฒิสภา” เพราะกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องของ สส. ไม่ถูกต้องที่ สว.จะมาตั้งเงื่อนไขต่างๆ

“ทุกฝ่ายอยากเห็นบ้านเมืองเดินไปข้างหน้า ไม่นำไปสู่การเมืองบนท้องถนน พรรคการเมืองต้องหาทางออก แล้วให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินในการเลือกตั้งครั้งต่อไป”

related