svasdssvasds

เปิด 10 ข้อบังคับใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ลั่น ไม่เอาระบบเผด็จการ

เปิด 10 ข้อบังคับใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ลั่น ไม่เอาระบบเผด็จการ

พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค ยึดอุดมการณ์ 10 ข้อ ยืนยัน ไม่เอาระบบเผด็จการ ควบคู่ทำการเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์ตามที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง ลงวันที่ 5 เมษายน 2566 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ มีคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จํานวน 33 คน นั้น

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 กรณี ที่ประชุมใหญ่สามัญพรรคประชาธิปัตย์ ประจําปี 2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ.2561 โดยยกเลิกทั้งฉบับ และใช้ข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2566 แทน ดังนี้ 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1. พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการเมืองโดยวิถีทางอันบริสุทธิ์

2. พรรคประชาธิปัตย์ จะดำเนินการเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน

3. พรรคประชาธิปัตย์ จะดำเนินการเมืองโดยอาศัยหลักกฎหมายและเหตุผลเพื่อความศักดิ์สิทธิ์แห่งรัฐธรรมนูญ และเพื่อเป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังให้มีความนับถือและนิยมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4. พรรคจะไม่สนับสนุนระบบ และวิธีแห่งเผด็จการไม่ว่าจะเป็นระบบและวิธีการของรัฐบาลใดๆ

เปิด 10 ข้อบังคับใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ลั่น ไม่เอาระบบเผด็จการ เด็ดขาด

5. พรรคจะกระจายอำนาจการดำเนินการในท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากความใกล้ชิตขององค์กรในท้องถิ่นมีมากกว่าส่วนกลาง

6. พรรคมีจุดประสงค์ที่จะให้คนไทยทุกคนมีที่ทำกิน ที่อยู่ และอาชีพ และจะเคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่มิได้ละเลยที่จะคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

7. พรรคสนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรี แต่เชื่อว่ากรแทรกแซงของรัฐเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น ในกิจการสาธารณูปโภค หรือเพื่อสร้งความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

8. พรรคจะส่งเสริมการรักษาไว้ซึ่งการศึกษา ศาสนา สาธารณสุขและสาธารณูปการศิลปะ วรรณกรรม จารีตประเพณี ธรรมเนียมนดีของชาติและความปลอดภัยของประชาชน

9. พรรคเชื่อว่าการป้องกันประเทศนั้น ต้องอาศัยการก่อให้เกิดความรวมมือพร้อมเพรียงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ และจะต้องให้มีการบำรุงกำลังหลัก คือ กองทัพให้ทันสมัยทั้งคุณภาพและปริมาณเท่าที่จะเหมาะสมแก่แผนการทางยุทธศาสตร์และนโยบายทางการเมือง

10. พรรคจะส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างประเทศ

คลิกที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็ม >>>>>>>>> การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์ 

เปิด 10 ข้อบังคับใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ลั่น ไม่เอาระบบเผด็จการ เด็ดขาด

•  "ชวน หลีกภัย" เผยถึงเคส กรณี 16 สส. ขัดมติพรรค ส่ง เศรษฐา เป็นนายก

สำหรับ พรรคประชาธิปัตย์ นั้น มีประเด็นร้อนแรงขึ้นมา จากการโหวตนายกฯเศรษฐา ทวีสิน เพราะมี 16 สส. โหวตสนับสนุนให้ แคนดิเดตนายกฯ เพื่อไทย ได้เป็นนายกฯคนที่ 30 ประเด็นนี้  

นายชวน หลีกภัย กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในวันที่ 21 ส.ค. 66 นัดประชุมในเวลา 14.00 น. เพื่อพิจารณาการเลือกนายกรัฐมนตรีวันที่ 22 ส.ค. ซึ่งตนออกจากจ.ตรังตั้งแต่ตี 4 เพื่อให้ทันเข้าร่วมการประชุม เนื่องจากว่า นายเดชอิศม์ (ขาวทอง) รองหัวหน้าพรรคฯ ระบุว่า “ใครไม่เคารพมติพรรคให้ลาออก” จึงต้องรีบมาจากจ.ตรัง มาถึงประมาณบ่าย  ซึ่งในที่ประชุม พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ สส.สงขลา เสนอว่า เมื่อไม่ได้ร่วมรัฐบาลแล้ว ต้องลงมติ “ไม่เห็นชอบ” ก็เลยต้องมาหามติว่าจะ “งดออกเสียง”หรือจะอย่างไรต่อไป

สำหรับตน ขออนุญาตว่า “ไม่เห็นชอบ” เพราะไม่สามารถทรยศคนภาคใต้ได้ เนื่องจากในการรณรงค์หาเสียง ตนได้รณรงค์เรื่องที่เขาไม่พัฒนาภาคใต้ หรือพัฒนาจังหวัดที่เลือกพรรคเขาก่อน จังหวัดอื่นไว้ทีหลัง และอีกหลายรูปแบบ รวมทั้งนโยบายที่ทำให้เกิดความไม่สงบ

“ผมก็บอกที่ประชุมตรงๆว่า ผมไม่ขอทรยศคนภาคใต้ ขอลงมติ “ไม่เห็นชอบ” ที่ประชุมก็ไม่มีใครคัดค้านขัดข้อง สำหรับคนอื่นๆในที่ประชุมมีมติ “งดออกเสียง” นี่คือที่มา โดยผู้เสนอคือ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เสนอให้โหวต”ไม่เห็นชอบ” นี่คือที่มา คือข้อเท็จจริง ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่บอกให้ งดออกเสียง” 

เมื่อถามว่า ในที่ประชุมได้มีการถกเรื่อง ให้ “เห็นชอบ” โหวตหนุน นายเศรษฐา ทวีสิน หรือไม่ นายชวน กล่าวว่า “คนที่อยากเป็นรัฐบาลก็มี แต่ไม่ใช่กลุ่มสส.ภาคใต้”

ทราบมาก่อนหรือไม่ว่า จะมีการฝืนมติพรรค นายชวน กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะนั่งอยู่ในที่ประชุมรัฐสภาตลอด แต่ไม่ได้ตกใจอะไร ที่ผลปรากฏออกมาเช่นนั้น เพราะเห็นมีอาการไม่ปกติมาตลอด ขณะที่เรียกชื่อก็ไม่อยู่กัน แล้วเขาเข้ามาตอนที่เรียกลงมติเสร็จแล้ว ประธานในที่ประชุม ก็จะเรียกคนที่ยังไม่ลงมติ เนื่องจากอะไรก็ตาม ลงมติได้ คนกลุ่มนี้ก็เลยมาลงมติ แต่ทั้ง 16 คน ก็ไม่ใช่มีบทบาททุกคน ที่มีบทบาทก็ นายเดชอิศม์(ขาวทอง), นายชัยชนะ (เดชเดโช), พล.ต.ต.สุรินทร์ (ปาลาเร่) ที่มีบทบาทในเรื่องนี้ ซึ่งสส.ส่วนใหญ่ก็เฉยๆ เมื่อผู้นำเขาว่าอย่างไรก็ไปตามนั้น

related