svasdssvasds

เปิดเกร็ดเบื้องหลัง "แฮตตี แม็กแดเนียล" นักแสดงผิวดำคนแรกชนะรางวัลออสการ์

เปิดเกร็ดเบื้องหลัง "แฮตตี แม็กแดเนียล" นักแสดงผิวดำคนแรกชนะรางวัลออสการ์

ในปี 1940 "แฮตตี แม็กแดเนียล" สร้างประวัติศาสตร์ เป็นคนดำคนแรกที่คว้ารางวัลออสการ์มาครองได้สำเร็จ ! สปริงส์พาไปย้อนเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมดูว่าจากวันนั้นจนถึงวันนี้ เวทีออสการ์มอบรางวัลให้กับคนดำไปแล้วกี่คน?

เปิดที่มา "วิมานลอย" ภาพยนตร์ระดับตำนาน 

เชื่อว่าใครที่พอติดตามอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาบ้างอาจเคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของ “Gone with the Wind” หรือในชื่อไทยว่า “วิมานลอย” ภาพยนตร์ระดับตำนานที่ผ่านมา 85 ปี ก็ยังไม่สิ้นมนต์ขลัง

“เถอะน่ะ...แล้วพรุ่งนี้ก็จะสว่างอีกครั้ง” ประโยคปิดจบเรื่องราวของ Gone with the Wind

วิมานลอยเป็นเจ้าของรางวัล “Best Picture” ในงานประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 12 ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์สีเรื่องแรกที่สามารถคว้ารางวัลนี้ได้ และหากรวมรางวัลทั้งหมดแล้ว ในค่ำคืนนั้น Gone with the Wind กวาดรางวัลออสการ์กลับไปนอนกอดที่บ้านได้ทั้งสิ้น 10 รางวัล

Gone with the Wind Credit ภาพ IMDb

“วิมานลอย” ถูกดัดแปลงมาจากนิยายในชื่อเดียวกันจากนักเขียน มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ นักเขียนชาวอเมริกันผู้เหน่งหน่ายกับการอยู่บ้านเฉย ๆ จึงใช้เวลาว่างเพื่อแต่งนิยาย กระทั่งเกิดเป็น “Gone with the Wind” นิยายเรื่องแรกและเรื่องสุดท้ายของเธออีกด้วย

วิมานลอยว่าด้วยเรื่องราวความรักท่ามกลางสงครามกลางเมืองในสหรัฐฯ ที่ฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ห้ำหั่นกัน โดยเรื่องโฟกัสไปที่ตัวละครเอก สการ์เล็ต โอฮารา (วิเวียน ลีห์) ลูกสาวเจ้าของไร่ฝ้ายในรัฐจอร์เจีย ที่มีการใช้แรงงานทาส และมีตัวละครคนรับใช้ผิวดำ (แฮตตี แม็กแดเนียล) คอยดูแลอยู่ไม่ห่าง

แม้จะเป็นภาพยนตร์ที่มีการถกเถียงในหลากหลายแง่มุม บ้างว่าเป็นสุดยอดภาพยนตร์แห่งยุคสมัย แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็มีเช่นกัน จอห์น ริดลีย์ ผู้เขียน “12 Year A Slave” ก็ได้ฉะภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้อย่างแสบสัน โดยบอกว่า

"ภาพยนตร์เรื่องนี้มองข้ามความโหดร้ายของยุคทาส และได้ตรึงความเจ็บปวดของคนดำไว้ตลอดกาล”

เปิดเกร็ดเบื้องหลัง \"แฮตตี แม็กแดเนียล\" นักแสดงผิวดำคนแรกชนะรางวัลออสการ์

ดังนั้น สปริงส์ถือโอกาสหยิบเรื่องราวเบื้องหลังชัยชนะของแฮตตี แม็กแดเนียลมาเล่าสู่กันฟัง ตั้งแต่จุดเริ่มต้น รวมถึงดูว่าสัดส่วนผู้ชนะคนดำบนเวทีออสการ์มีมากน้อยแค้ไหน

ลูกสาวทหารผ่านศึก ฉายแววเต้นกินรำกิน

แฮตตี แม็กแดเนียล เกิดวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1893 ที่เมืองวิชิตา รัฐแคนซัส เธอเกิดมาในครอบครัวใหญ่ พ่อเป็นทหารผ่านศึก และเธอเป็นลูกคนที่ 13 ด้วยความที่ครอบครัวมีกันหลายคน ชีวิตความเป็นอยู่-ปากท้องดำเนินไปอย่างอัดคัต

หลังจากนั้น ในช่วงปี 1901 แฮตตีในวัยเยาว์ก็เริ่มฉายแวว เธอเริ่มร้องเพลงที่โบสก์ เต้นรำ และแสดงละครที่โรงเรียน แถมมีเรื่องเล่าว่าเพื่อน ๆ ก็ถูกอกถูกใจการร้องรำทำเพลงของแฮตตีไม่น้อย

เหมือนกับว่าสิ่งที่เธอเป็นในวัยเด็กกำลังทำนายฉายภาพในอนาคตของแฮตตียังไงยังงั้น...

เปิดเกร็ดเบื้องหลัง \"แฮตตี แม็กแดเนียล\" นักแสดงผิวดำคนแรกชนะรางวัลออสการ์

“คนดำคนแรก” ชนะรางวัลออสการ์

ในปี 1940 ณ งานประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 12 แฮตตี แม็กแดเนียล ซึ่งขณะนั้นอายุ 46 ปี ถูกเรียกขานเสียงดังกึกก้องว่าเธอคือผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Suppporting Actress) จากบทบาท Mammy

เปิดเกร็ดเบื้องหลัง \"แฮตตี แม็กแดเนียล\" นักแสดงผิวดำคนแรกชนะรางวัลออสการ์

“มันทำให้ฉันรู้สึกถ่อมตัวมาก รางวัลนี้แด่คนดำและอุตสาหกรรมภาพยนตร์" แฮตตี แม็กแดเนียล กล่าวขณะขึ้นรับรางวัลออสการ์

คงไม่ต้องเอื้อนเอ่ยกันอีกสำหรับชะตากรรมที่คนดำต้องต่อสู้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในยุคนั้น มีการเอารัดเอาเปรียบ กีดกัน และเหยียดเชื้อชาติกันอย่างออกนอกหน้า

แต่เมื่อแฮตตีถูกท้วงติงว่า ทำไมเธอถึงลดเกียรติ คุณค่าของตัวเอง และยอมไปรับบทสาวใช้รองมือรองเท้าให้พวกคนขาว แฮตตีตอบกลับไปว่า

 "ฉันยอมเล่นบทคนใช้เพื่อรับเงิน 700 เหรียญ ดีกว่าไปเป็นคนใช้แล้วรับเงินแค่ 7 เหรียญ" 

ซึ่งถ้อยคำดังกล่าวถูกตีความกันไปต่าง ๆ นานา บ้างว่าเธอลืมชาติพันธุ์ และรากเหง้าความเป็นคนดำของตัวเอง หรือฝ่ายที่สนับสนุนแฮตตีก็จะแก้ต่างว่า แฮตตีกำลังเสียดสีประชดประชันถึงความไม่เท่าเทียมระหว่างสีผิวในสังคมสหรัฐฯ ต่างหาก

นี่ถือเป็นหมุดหมายครั้งสำคัญของคนดำบนอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลก ซึ่งแฮตตี แม็กเดเนียล ได้สร้างประวัติศาสตร์เอาไว้ ส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับคนในแวดวงอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลกมากมาย

เทียบสัดส่วนคนดำชนะรางวัลออสการ์

นับตั้งแต่ปี 1929 อันเป็นปีซึ่งมีการจัดงานประกาศรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 ล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 94 ปี มีผู้ชนะรางวัล Academy Awards กว่า 3,000 รายชื่อ แต่รู้หรือไม่ว่า มีคนดำเพียง 63 คนเท่านั้นที่สามารถคว้ารางวัลมาครองได้

*หมายเหตุ รายชื่อด้านล่างสปริงส์จัดเรียงตามสาขารางวัลที่ได้

สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor) 

  • ปี 1964 - Sidney Poitier จากเรื่อง Lilies of the Field
  • ปี 2002 - Denzel Washington จากเรื่อง Training Day
  • ปี 2005 - Jamie Foxx จากเรื่อง Ray
  • ปี 2007 - Forest Whitaker จากเรื่อง The Last King of Scotland
  • ปี 2022 - Will Smith จากเรื่อง King Richard

 

สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) 

  • ปี 2002 - Halle Berry จากเรื่อง Monster's Ball

 

สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (Best Supporting Actor) 

  • ปี 1983 - Louis Gossett Jr. จากเรื่อง An Officer and a Gentleman
  • ปี 1990 - Denzel Washington จากเรื่อง Glory
  • ปี 1997 - Cuba Gooding Jr. จากเรื่อง Jerry Maguire
  • ปี 2005 - Morgan Freeman จากเรื่อง Million Dollar Baby
  • ปี 2017 and 2019 - Mahershala Ali จากเรื่อง Moonlight และ Green Book
  • ปี 2021 - Daniel Kaluuya จากเรื่อง Judas and the Black Messiah

 

สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Supporting Actress) 

  • ปี 1940 - Hattie McDaniel จากเรื่อง Gone with the Wind
  • ปี 1991 - Whoopi Goldberg จากเรื่อง Ghost
  • ปี 2007 - Jennifer Hudson จากเรื่อง Dreamgirls
  • ปี 2010 - Mo'Nique จากเรื่อง Precious
  • ปี 2012 - Octavia Spencer จากเรื่อง The Help
  • ปี 2014 - Lupita Nyong'o จากเรื่อง 12 Years a Slave
  • ปี 2017 - Viola Davis จากเรื่อง Fences
  • ปี 2019 - Regina King จากเรื่อง If Beale Street Could Talk
  • ปี 2022 - Ariana DeBose จากเรื่อง West Side Story

 

สาขาภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม (Best Animated Film)

  • ปี 2019 - Peter Ramsey จากเรื่อง Spider-Man: Into the Spider-Verse

 

สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design)

  • ปี 2019 - Ruth E. Carter จากเรื่อง Black Panther

 

สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Feature)

  • ปี 2013 - T.J. Martin จากเรื่อง Undefeated
  • ปี 2017 - Ezra Edelman จากเรื่อง O.J.: Made in America
  • ปี 2022 - Ahmir “Questlove” Thompson จากเรื่อง Summer of Soul (...Or, When the Revolution Could Not Be Televised)’

 

สารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Documentary Short)

  • ปี 2010 - Roger Ross Williams จากเรื่อง Music by Prudence

 

สาขาแต่งหน้าและทำผมยอดเยี่ยม (Best Makeup and Hairstyling)

  • ปี 2021 - Mia Neal and Jamika Wilson จากเรื่อง Ma Rainey's Black Bottom

 

สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Score)

  • ปี 1985 - Prince - ‘Purple Rain’
  • ปี 1987 - Herbie Hancock - ‘Round Midnight’
  • ปี 2021 - Jon Batiste - 'Soul'

 

สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Song)

  • ปี 1973 - Isaac Hayes - 'Theme from Shaft' จากเรื่อง 'Shaft'
  • ปี 1984 - Irene Cara - 'Flashdance... What a Feeling' จากเรื่อง 'Flashdance'
  • ปี 1985 - Stevie Wonder - 'I Just Called to Say I Love You' จากเรื่อง 'The Woman in Red'
  • ปี 1986 - Lionel Richie - '"Say You, Say Me' จากเรื่อง 'White Nights'
  • ปี 2006 - Frayser Boy, Juicy J and DJ Paul - 'It's Hard out Here for a Pimp' จากเรื่อง 'Hustle & Flow'
  • ปี 2015 - Common and John Legend - 'Glory' จากเรื่อง 'Selma'
  • ปี 2021 - H.E.R., D'Mile and Tiara Thomas - 'Fight For You' จากเรื่อง 'Judas and the Black Messiah'

 

สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Film)

  • ปี 2014 - Steve McQueen จากเรื่อง 12 Years a Slave

 

สาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม (Best Production Design)

  • ปี 2019 - Hannah Beachler จากเรื่อง Black Panther

 

สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Animated Short Film)

  • ปี 2018 - Kobe Bryant จากเรื่อง Dear Basketball
  • ปี 2020 - Matthew A. Cherry and Karen Rupert Toliver จากเรื่อง Hair Love'

 

สาขาภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม (Best Live Action Short Film)

  • ปี 2021 - Travon Free จากเรื่อง Two Distant Strangers

 

สาขาออกแบบเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound)

  • ปี 1989 และ 2007 - Willie D. Burton จากเพลง Bird และ Dreamgirls
  • ปี 1990 และ 1991 - Russell Williams II จากเพลง Glory และ Dances with Wolves

 

สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay)

  • ปี 2010 - Geoffrey Fletcher จากเรื่อง Precious
  • ปี 2014 - John Ridley จากเรื่อง 12 Years a Slave
  • ปี 2017 - Barry Jenkins และ Tarell Alvin McCraney จากเรื่อง Moonlight
  • ปี 2019 - Kevin Willmott และ Spike Lee จากเรื่อง BlacKkKlansman

 

สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Screenplay)

  • ปี 2018 - Jordan Peele จากเรื่อง Get Out

 

รางวัลพิเศษให้เพื่อเป็นเกียรติ

  • ปี 1947 - James Baskett - Special Academy Award for his portrayal of Uncle Remus in 'Song of the South'
  • ปี 1995 - Quincy Jones - Jean Hersholt Humanitarian Award
  • ปี 2001 - Sidney Poitier - Academy Honorary Award
  • ปี 2011 - James Earl Jones - Honorary Academy Award
  • ปี 2011 - Oprah Winfrey - Jean Hersholt Humanitarian Award
  • ปี 2014 - Harry Belafonte - Academy Honorary Award
  • ปี 2015 - Spike Lee - Academy Honorary Award
  • ปี 2017 - Charles Burnett - Academy Honorary Award
  • ปี 2018 - Cicely Tyson - Academy Honorary Award
  • ปี 2020 - Tyler Perry - Jean Hersholt Humanitarian Award
  • ปี 2021 - Danny Glover - Jean Hersholt Humanitarian Award
  • ปี 2021 - Samuel L. Jackson - Academy Honorary Award
  • ปี 2022 - Euzhan Palcy - Academy Honorary Award

 

นิทานถึงคราวอวสาน: 16 ตุลาคม 1952 แฮตตี แม็กแดเนียล เสียชีวิต

แม้จะเป็นสาวใช้คนดำผู้เขย่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ แต่หลังจากนั้นชีวิตของแฮตตีก็เรียกว่าไม่ได้อู้ฟู่จากชื่อเสียงเท่าไรนัก มีบันทึกว่าแฮตตีรับจ๊อบคอยเอนเตอร์เทนทหารอเมริกันในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ

ในปี 1951 แฮตตีมีโอกาสได้ทำรายการโทรทัศน์ชื่อว่า The Beulah Show แต่จู่ ๆ เธอก็เกิดอาการหัวใจวายขึ้นมา กระทั่งเธอตัดสินใจถอนตัวจากรายการ ขณะนั้นเอง พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก แพทย์วินิจฉัยว่าเธอป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม

16 ตุลาคม 1952 แฮตตี แม็กเดเนียล จากโลกนี้ไปในวัย 59 ปี...

 

 

ที่มา: Entertainment Weekly

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related