svasdssvasds

วันแรงงาน 2566 สสส. เผย ปี 66 แรงงานไทยเครียดจัด แห่โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต

วันแรงงาน 2566 สสส. เผย ปี 66 แรงงานไทยเครียดจัด แห่โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผย ปี 66 แรงงานไทยเครียดจัด แห่โทรสายด่วนสุขภาพจิต สูงอันดับ 1 พร้อมเผยที่ทำงานแบบไหนอยากร่วมงานด้วย

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ข้อมูลสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เมื่อเดือน ม.ค. 2566 พบว่า

• วัยแรงงานอายุ 20-59 ปี ขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงาน สูงอันดับ 1 กว่า 5,989 สาย จากทั้งหมด 8,009 สาย

สะท้อนความต้องการวิธีจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มแรงงานจึงต้องได้รับการดูแลสุขภาวะทุกมิติอย่างจริงจัง นอกจากนี้ ยังสอบถามถึง

"ที่ทำงานที่อยากร่วมงานด้วย" หลักๆ คือ

• สิ่งแวดล้อมดีเหมาะกับการทำงาน

• บรรยากาศดีไม่มีมลพิษทางอารมณ์

• ใส่ใจผู้อื่น รับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง

• เครื่องมือทันสมัยครบครัน

• เพื่อนร่วมงานเป็นมิตร ให้เกียรติ

• มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อองค์กรเดียวกัน ไม่โยนงาน ทำงานอย่างเป็นระบบ  

 ด้าน สสส. ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต ได้ผลักดันกฎหมายว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 กำหนดให้ตรวจสุขภพประจำปี (การตรวจร่างกายและสภาวะจิตใจ) เป็น สวัสดิการที่กฎหมายกำหนด รวมถึงประเมินสุขภาพจิตในสถานประกอบการด้วยระบบ Mental Health Check in ปีละ 1 ครั้ง

 ผ่านโปรแกรม MIO ได้นำไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาแล้วกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ในจำนวนนี้ยกระดับเป็นองค์กรสุขภาวะต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ 25 แห่ง ต่อยอดเป็นนวัตกรรมหนังสือดิจิทัล “เลือก รับ ปรับ ใช้” รวมถึงงานวิจัยด้านประสิทธิผลของ MIO อีก 5 เรื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• วันแรงงาน 2566 "โรคฮิต" มนุษย์เงินเดือน อาการและวิธีรักษา ก่อนเป็นหนัก

• เปิดนโยบายค่าแรง ในเลือกตั้ง 2566 วันแรงงาน 1 พ.ค. ค่าแรงขั้นต่ำจะขึ้นไหม ?

• ส่องนโยบายประชานิยม อดีตถึงปัจจุบัน ก่อนเลือกตั้ง 66 ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นไหม ?

 ซึ่งโปรแกรม MIO มีหลักการสำคัญคือ การนำจิตวิทยาสติ (Mindfulness Psychology) สมาธิ/สติในแนวจิตวิทยาและศาสตร์สมอง (Neuro Science) มาใช้ภายในองค์กร จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจ และเน้นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีจิตที่ปล่อยวาง เข้าอกเข้าใจ นำไปสู่การปฏิบัติต่อกันและกันด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย โดยเน้นการพัฒนาจากระดับบุคคลไปสู่ทีม และองค์กร เพื่อช่วยเสริมสร้าง “ความสุข” ให้แก่บุคลากร

โดยแบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 กลุ่ม

1. หลักสูตรสำหรับผู้บริหาร

2. หลักสูตรสำหรับวิทยากร

3. หลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไป

related