svasdssvasds

ขอทาน - วณิพก แตกต่างกันอย่างไร ร่วมเปิดร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการขอทาน 2559

ขอทาน - วณิพก แตกต่างกันอย่างไร  ร่วมเปิดร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการขอทาน 2559

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบหรือแยกไม่ออก คำว่า "ขอทาน" กับ "วณิพก" 2 คำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน และในช่วงที่กระแส "ขอทานจีน" เป็นเรื่องร้อนยิ่งกว่าไฟในสังคมไทยในตอนนี้ จึงอยากชวนหาคำอธิบายถึง 2 คำนี้ เอาให้กระจ่างชัด รวมถึง เปิดร่างพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ด้วย

 เส้นแบ่งในความหมายของ "ขอทาน" กับ "วณิพก" นั้น มีก็มีรายละเอียดปลีกย่อยอยู่ ,  โดย ขอทาน แตกต่างกับ วณิพก อยู่แล้ว  ซึ่งแน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่ คนไทยก็สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง การแบมือขอเงิน สองสามแบบที่ว่าได้ , หากไปยิงคำถามถามคนทั่วไปว่า การแสดงเปิดหมวก หรือ การแสดงศิลปะบางอย่างอย่าง ที่เปิดฟลอร์โลกศิลปะริมถนน แตกต่างจากการขอทานหรือไม่ ,เชื่อแน่ว่าคนส่วนใหญ่เกิน 95% สามารถแยกแยะได้ นี่คือการแสดงความสามารถนะ ไม่ใช่ทำท่า บมือทำท่าน่าสงสาร และใช้ความเห็นใจจู่โจมเข้ากลางใจของจิตใจคนอ่อนไหว เพื่อขอเงินเฉยๆ

โดย  วณิพก : เป็นบุคคลที่แสดงความสามารถ อาทิ การร้องเพลง การแสดงอื่นๆ การเต้น การร้องเพลง การเล่นดนตรี เพื่อ ให้ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ชม  

โดย วณิพก จะต้องมีบัตรผู้แสดงความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด , วณิพก ต้องมีใบรับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ ให้ทำการแสดงได้

  

ขณะที่ ขอทาน : คือผู้ที่ขอเงินหรือทรัพย์สิน จากผู้อื่น เพื่อเลี้ยงชีพ  ไม่ว่าจะด้วยการขอด้วย กิริยาอาการใดๆ , ร้องขอด้วยวาจา , อ้อนวอนด้วยข้อความ เพื่อให้ผู้อื่นเกิดความสงสาร ส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้ 

ทราบกันหรือไม่ว่า ในอดีตไทยเคยมี พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช 2484  ซึ่งใช้บังคับมานานมากแล้ว ว่าด้วยเรื่องบทบัญญัติเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้ทำการขอทาน ต่างๆ , อย่างไรก็ตาม มีการปรับปรุงและเปลี่ยนโฉมพระราชบัญญัติ ขอทาน ขึ้นมาใหม่ ในช่วงเวลา ไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนมาเป็น พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559  มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 27 มาตรา ซึ่งเราจะไม่ลงลึกถึงรายละเอียดทุกข้อ

ขอทาน - วณิพก แตกต่างกันอย่างไร  เปิดร่างพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน  

• บทลงโทษของขอทาน 

แต่ข้อที่อยากให้ทุกๆคนทราบกัน ก็คือโทษของ "ขอทาน" ณ ปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มีดังนี้ 1. ผู้ใดทำการขอทาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  2. กรณีผู้ทำการขอทานได้ยอมรับการเข้าคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแล้ว ต่อมาผู้ทำการขอทานผู้นั้น ไม่ยอมรับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิ และได้ออกไปจากสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

นอกจากนี้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำการขอทาน ผู้ที่ถูกส่งตัวไปยังสถานสงเคราะห์แต่ไม่ไปหรือหลบหนี ผู้ที่ช่วยเหลือให้หลบหนีจากสถานสงเคาระห์ และผู้ใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือกระทำด้วยวิธีการอื่นใดให้ผู้อื่นขอทาน หรือนำบุคคลอื่นมาใช้ประโยชน์ในการขอทานของตน

รวมไปถึงกำหนดบทลงโทษสำหรับ "วนิพกที่ไม่ขออนุญาต" หรือ ผู้ที่เล่นดนตรีหรือแสดงความสามารถอื่นใดในที่สาธารณะโดยไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือระเบียบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด

หากจะระบุให้ชัดๆ นั่นคือ ขอทาน มีความผิด / ขณะที่ วณิพก แสดงความสามารถเปิดหมวกแลกเงินไม่ผิด (แต่ต้องมีใบอนุญาต!)

แต่ในทางกลับกัน , มันก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องราวเหล่านี้ อาทิ ประเด็น ประชาชนคนทั่วไปที่มีความสามารถมีสิทธิทำมาหากินตามรัฐธรรมนูญรับรอง หากใครและใครก็อยากแสดงออกต่อประชาชน เช่น การเปิดหมวก เล่นดนตรี แสดงมายากล เดาะฟุตบอล ฯลฯ มันควรจะเป็นสิทธิที่ติดตัวมาแต่ต้น เหมือนกับนานาอารยประเทศที่เขามีนักแสดงแบบนี้ทั่วไปตามลานสาธารณะ ย่านท่องเที่ยว หรือที่ซึ่งรัฐจัดให้ ก็ในเมื่อมันเป็นสิทธิ แล้วทำไมต้องไปขออนุญาต ไปสอบให้คณะกรรมการ (ที่ส่วนใหญ่ก็ข้าราชการ พม.) ให้การรับรองอีกที ว่าคนคนนี้มีความสามารถจริง ...แล้วหากคณะกรรมการไม่เห็นชอบขึ้นมาละ ? จะเกิดอะไรขึ้นตามมา...  ซึ่งตรงจุดนี้ มันอาจจะกลายเป็นช่องโหว่ ในการแสดงหาผลประโยชน์บางอย่างได้ 

ขณะเดียวกัน , ขบวนการค้ามนุษย์ ก็อาจจะใช้ การเลี่ยงบาลี เลี่ยงใช้หนีโทษ ด้วยการใช้วิธีขอทานแฝง , เพราะกฎหมายนี้ยังมีประเด็นปัญหาอยู่ เช่น อาจก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนลักษณะการขอทานเป็นการขอทานแฝง คือ เอาคนชรามาขายของหรือนำเด็กมาเล่นดนตรีแทนการขอเงินตรงๆ ทำให้คนตัดสินใจซื้อเพราะความสงสาร ซึ่งกฎหมายไม่สามารถเอาผิดได้และปัญหาการค้ามนุษย์อาจไม่ลดลง

นอกจากนี้ในส่วนของการเยียวยา หากรัฐไม่สามารถเยียวยาบุคคลที่เป็นขอทานได้อย่างทั่วถึงก็จะทำให้เขากลับมาทำผิดซ้ำอีก และประเด็นสุดท้ายคือการแสดงในที่สาธารณะต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แต่ไม่ระบุหลักเกณฑ์ละเอียดจะก่อเกิดความยุ่งยากรวมไปถึงปัญหาการทุจริตที่จะตามมา

ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ ณ ปี 2023 , ก็มีคนยากจนเข้าสู่การขอทานจริง ๆ คนที่ถูกค้ามนุษย์โดยขบวนการจริง ๆ และยังมีคนที่เหมือนถูกขบวนการนำพามา แต่จริง ๆ มาด้วยตัวเองอยู่จริง  กลุ่มคนเหล่านี้ กลายเป็นคนชายขอบของสังคม ที่ต้องการการใส่ใจจากทุกๆส่วน เพราะสังคมที่ดี เราไม่ควร ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Leave No Man Behind...

เปิดสถิติขอทานทั่วประเทศจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สะท้อนความจริงแค่ไหน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related