svasdssvasds

ย้อนรอย แฮชแท็ก #MeToo แคมเปญสะท้อนเหยื่อถูก "คุกคามทางเพศ" มีอยู่ทั่วโลก

ย้อนรอย แฮชแท็ก #MeToo แคมเปญสะท้อนเหยื่อถูก "คุกคามทางเพศ" มีอยู่ทั่วโลก

ชวนย้อนกลับไปเรียนรู้ ถึง #MeToo แคมเปญดังในอดีต ที่เหมือนกระจกสะท้อนถึงปัญหาการ "คุกคามทางเพศ" ที่มีอยู่ทุกซอกมุมของโลก ครั้งหนึ่งในอดีต มีเหยื่อ ที่กล้าเปิดเผยว่าเคยถูกล่วงละเมิด และร่วมแชร์คำว่า Me Too ผ่านโซเชียลมีเดียจำนวนมาก

โลกเปลี่ยนไปทุกๆนาที และโลกของเราไม่เคยเหมือนวินาทีก่อน ที่มันกลายเป็นอดีตไปแล้ว...ครั้งหนึ่ง แรงกระเพื่อมถึงปัญหา Sexual Harrassment ในสังคมไทยให้โหมกระพือมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพราะได้รับคลื่นลมแรงกระแส Metoo มาสาดซัดจากทั่วทุกมุมโลกด้วย และทุกๆครั้ง ที่เกิดเรื่องของการ "คุกคาม" แฮชแท็กนี้ ก็จะถูกกลับมาหยิบยกพูดถึงเสมอ  

ทราบหรือไม่ ปัญหาล่วงละเมิดทางเพศไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่การ "คุกคามทางเพศ" หรือ Sexual Harrassment เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัยในอดีต และพบปัญหานี้แทบทุกสังคมและทุกวงการทั้งในไทยและต่างประเทศ จนเกิดแคมเปญ #MeToo ขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อนและโด่งดังไปทั่วโลก  

ดังนั้น เราจึงอยากย้อนเข็มนาฬิกา ดูปรากฏการณ์ #MeToo อีกครั้งว่าแคมเปญนี้มีที่มาอย่างไร ?

ย้อนรอย แฮชแท็ก #MeToo แคมเปญสะท้อนเหยื่อถูก "คุกคามทางเพศ" มีอยู่ทั่วโลก

• แฮชแท็ก #MeToo เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 2007  

แคมเปญ #MeToo ถือกำเนิดขึ้นในอดีต เป็นเวลามากกว่า 10 ปีแล้ว โดยนักเคลื่อนไหวสตรีผิวดำ ชื่อ "ทารานา เบิร์ค" (Tarana Burke) ซึ่งผุดไอเดียนี้ขึ้นในปี 2007 เมื่อเธอได้บอกกับหญิงผิวสีรายหนึ่งที่รอดชีวิตจากการทำร้ายทางเพศมาได้ว่าเธอไม่ได้อยู่ตามลำพัง แต่ยังมีเพื่อนหัวอกเดียวกันอย่าง ทารานา เบิร์ค ที่เคยถูกล่วงละเมิดเหมือนกับเธอเช่นกัน

"นี่ไม่ใช่แคมเปญที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นไวรัลแค่สั้นๆ ประเดี๋ยวประด๋าว แต่เป็นวลีที่ผู้รอดชีวิตใช้กับผู้รอดชีวิตด้วยกัน เพื่อให้พวกเขารู้ว่าไม่ได้อยู่เพียงลำพัง เป็นความเคลื่อนไหวเพื่อเยียวยาสิ่งที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดขึ้นอีก" ทารานา เบิร์ค กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโครงการ #MeToo
 

• เคมเปญ #Metoo รุนแรงทะลุปรอทอีกครั้ง จากเคส ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน 

ส่วนที่แคมเปญ #metoo นี้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งในปี 2017 เรื่องมันถูกสุ่มไฟใส่ประเด็นร้อนจาก “ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน (Harvey Weinstein)” ผู้สร้างภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดชื่อดังและทรงอิทธิพลในวงการหนัง ถูกสื่อแฉว่ามีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศกับผู้หญิงมานับไม่ถ้วนเป็นเวลากว่า 20 ปี แต่ที่ผ่านมาเรื่องเงียบตลอดเพราะเขามีทั้งเงิน อำนาจ และเครือข่ายมากมายที่ช่วยให้เขารอดตัวได้ทุกครั้ง ไม่เคยแปดเปื้อนความในเชิงเสียหาย 

อย่างไรก็ตาม ณ เวลานั้น จากการเปิดโปงทำให้มีเหยื่อกว่า 80 รายออกมายืนยันว่า ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน คุกคามพวกเธอจริงๆ และในตอนนั้น “อลิสสา มิลาโน (Alyssa Milano)” นักแสดงสาวชื่อดังก็ได้ โพสต์ในทวิตเตอร์ว่า “ถ้าคุณเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ให้ติดแฮชแท็ก #MeToo เพื่อตอบรับทวิตนี้” ทำให้มีคนนับล้านร่วมกันติดแฮชแท็กนี้ ซึ่งรวมถึงเหล่าบรรดานักแสดงและเซเลบมากมาย

ย้อนรอย แฮชแท็ก #MeToo แคมเปญสะท้อนเหยื่อถูก "คุกคามทางเพศ" มีอยู่ทั่วโลก

ทั้งนี้ ในช่วง ปี 2017 ส่วนหนึ่งที่ทำให้แฮชแท็ก #MeToo กลายเป็นกระแสอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าไฟไหม้ลามทุ่ง ก็เพราะว่าเกิดการเปิดโปงคดีล่วงละเมิดทางเพศครั้งร้ายแรงในฮอลลีวู้ด เมื่อนักแสดงหญิงจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น แองเจลีนา โจลี่, กวินเนธ พัลโทรว์, แอนน์ แฮทธาเวย์ , เคท เบ็คคินเซล เป็นต้น  กล้าตบเท้าออกมาประกาศตัวว่าเคยถูกล่วงละเมิด ทางเพศ Sexual Harrassment ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จาก "ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน" ผู้บริหารที่ทรงอิทธิพลยิ่งของวงการ

เคสของฮาร์วี่ ไวน์สตีน ทำให้การล่วงละเมิดทางเพศถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ทุกวงสนทนา และมีคนดัง คนมีชื่อเสียงผู้บริหารในฮอลลีวู้ด และผู้บริหารอุตสาหกรรมอื่นๆ ถูกขุดคุยว่ากระทำการล่วงละเมิดทางเพศกันหลายคน อาทิ บิล โอเรียลลี นักข่าวและพิธีกรรายการทีวีชื่อดังของสหรัฐ รอย ไพรซ์ ผู้บริหาร Amazon Studios และผู้กำกับ เจมส์ โทแบ็ค เป็นต้น


• Me too กับสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกๆวงการ 


ไม่ใช่แต่เพียงเคสของวงการฮอลลิวู้ด ที่เกิดเรื่องที่ซุกไว้ใต้พรม แบบ ล่วงละเมิด ทางเพศ Sexual Harrassment , เพราะเรื่องแบบนี้ มันมีในทุกวงการ และเคสที่กลายเป็นข่าวดังมาก นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ เลดี้ กาก้า (Lady Gaga) ซึ่งเธอเองก็เคยถูกปฏิบัติที่ไม่ดี และเธอก็เป็นหนึ่งที่ ออกมา Call Out กับเรื่องเหล่านี้ด้วย 

“ฉันเข้าใจถึงมูฟเมนท์ #MeToo ฉันรู้ดีว่าบางคนสะดวกใจที่จะออกมาบอกชื่อคนก่อเหตุ แต่ฉันไม่รู้สึกอย่างนั้น ฉันไม่อยากเจอหน้าคนคนนั้นอีกแล้ว ระบบที่เราอยู่มันช่างเป็นกดขี่ข่มเหงและอันตรายเหลือเกิน”

การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมนั้นสามารถทำได้หลายทาง ในขณะที่หลายคนพร้อมออกมาเปิดหน้าชนกับผู้ก่อเหตุโดยตรง เลดี้ กาก้า (Lady Gaga) ศิลปินป๊อปสตาร์เบอร์ต้นๆของโลก ผู้คอยสนับสนุนเรื่องสิทธิสตรีมาตลอด ให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2021 ในรายการของโอปราห์ (Ophrah Winfrey) พิธีกรชื่อดังว่า เธอเคยถูกข่มขืน แต่ยังไม่พร้อมจะบอกชื่อของผู้ก่อเหตุ  โดย กาก้า เล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตเมื่อตอนอายุ 19 ปี เธอถูกโปรดิวเซอร์คนนึงบอกให้ถอดเสื้อผ้าออก พอเธอไม่ทำตาม โปรดิวเซอร์ก็บอกว่า เขาจะเผาผลงานเพลงของเธอทั้งหมด แล้วเขาก็ไม่หยุด เธอได้แต่ยืนตัวแข็ง จำอะไรไม่ได้ ก่อนที่เธอจะกล่าวอีกว่า “ชายคนนั้นข่มขืนฉัน และทำให้ฉันตั้งครรภ์อย่างเลี่ยงไม่ได้” หลังจากเหตุการณ์นั้นมาอีกหลายปี เธอก็ต้องเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์

“ตอนแรก ฉันรู้สึกถึงความเจ็บปวดแบบเต็มๆ แล้วถึงค่อยเริ่มชา จากนั้นฉันก็รู้สึกป่วยเป็นสัปดาห์ต่อๆ กันมา และฉันถึงได้รู้ว่า มันเป็นความเจ็บปวดแบบเดียวกับที่ฉันรู้สึก เมื่อคนที่ข่มขืนฉันทิ้งให้ตั้งท้อง ฉันต้องไปอยู่บ้านพ่อแม่เพราะฉันอ้วกตลอดและไม่สบาย และเพราะฉันถูกล่วงละเมิด ฉันจึงถูกขังอยู่ในสตูดิโอเป็นเวลาหลายเดือน”

แม้ เลดี้ กาก้าจะไม่ได้กล่าวชื่อของผู้ก่อเหตุ แต่หลายคนก็มองว่า การออกมาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ก็นับว่าต้องใช้ความกล้าหาญอย่างยิ่งเช่นกัน

• #MeToo ในไทย 

จากนั้นมา  แฮชแท็ก #MeToo ก็ยังคงถูกใช้ ในอีเว้นท์สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิสตรีอยู่เรื่อยๆ ,ในส่วนไทย แน่นอนว่ามีผู้หญิงในทุกสาขาอาชีพก็ถูกล่วงละเมิดทางเพศเช่นกัน โดยเกิดเป็นคดีรายวันอยู่เรื่อยๆ ซึ่งในส่วนของข้อมูลปี 2022 พบว่า หญิงไทยถูกละเมิดทางเพศ-กระทำความรุนแรง มากกว่า 7 คน และต้องเข้ารับการบำบัดรักษากับแจ้งความร้องทุกข์ 30,000 คนต่อปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงติดอันดับโลก

แม้ว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาอะไรๆ จะยังคล้ายเดิม แต่อีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้าอะไรๆ อาจเปลี่ยนไปก็ได้  ซึ่งจะเปลี่ยนได้จริงหรือไม่...คำตอบมันอยู่ที่เราทุกคน จะขับเคลื่อนเรื่องนี้ หนักแน่นจริงจังแค่ไหน

และที่สำคัญที่สุดอีกหนึ่งประการ  การคุกคาม และ ความรุนแรงที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น บนโลกใบนี้อีกแล้ว 

ที่มา

time.com today theguardian
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related