svasdssvasds

เฉลิม ซัด เศรษฐา อย่ามายุ่งปมตัดขาดทักษิณ จวก แบบนี้รัฐบาลพังในอีกไม่นาน

เฉลิม ซัด เศรษฐา อย่ามายุ่งปมตัดขาดทักษิณ จวก แบบนี้รัฐบาลพังในอีกไม่นาน

งานนี้ดูจะเป็น ความเดือด เขย่าเพื่อไทย - ทักษิณ ไม่น้อยเลย กับวิวาทะ เฉลิม บ้านใหญ่บางบอน ฉะ เศรษฐา นายกฯ อย่ามายุ่งปมตัดขาดทักษิณ จวกถ้าเป็นแบบนี้รัฐบาลพังในอีกไม่นาน

ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นเรื่องบานปลาย ขยายออกมาวงนอกเพื่อไทยแล้ว สำหรับ เคส พี่เหลิม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ประกาศตัดขาดความสัมพันธ์กับ พี่โทนี่ "ทักษิณ ชินวัตร" 

โดย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เทคแอคชั่นกับเรื่องราวกรณีที่กลายเป็น "สปอร์ตไลท์" วงในการเมือง กับความขัดแย้ง งอน ไม่ลงรอย ระหว่าง  ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สส.บัญชีรายชื่อ กับ อดีตนายใหญ่ ทักษิณ  โดย กล่าวถึงกรณีความขัดแย้งระหว่าง ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ว่า ตนคงไปบอกใครให้พูดอะไรไม่ได้หรอก มันไม่เกี่ยวกับตน แต่อย่างที่พูดโดยรวมว่า ถ้ามีปัญหากันก็เจรจาด้วยการถ้อยทีถ้อยอาศัย ใช้ภาษาที่ไม่ก้าวร้าว ตนยึดหลักนี้และพูดมาโดยตลอด ก็ขอให้เป็นในลักษณะนั้นแล้วกัน

ตีความจากสารระหว่างบรรทัด นายกฯ กำลังบอกว่า ให้คุยกันดีๆ รู้จักกันมานาน ก็ควรดีๆกันไว้

เดือดกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว! เฉลิม ซัด เศรษฐา อย่ามายุ่งปมตัดขาดทักษิณ จวกถ้าเป็นแบบนี้รัฐบาลพังในอีกไม่นาน

อย่างไรก็ตาม ต่อมา มันเหมือนกับการ เติมฟืนใส่เข้าไปในกองไฟดราม่า ให้เร่าร้อนรุนแรง มากขึ้น เมื่อมีรายงานข่าวว่า ร.ต.อ. เฉลิม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับตัวนายกฯ เศรษฐาเลย  เพราะมันเป็นเรื่องระหว่างเจ้าตัวกับทักษิณเท่านั้น  ถ้าผู้สื่อข่าวมาถามความเห็น เศรษฐาก็ควรตอบว่าไม่รู้ ไม่ใช่มากล่าวถึงที่มา ความเป็นมาของตนกับทักษิณแบบนี้ จะเป็นนายกฯ ก็เป็นไป แต่เชื่อว่าถ้าเป็นแบบนี้รัฐบาลจะพังในอีกไม่นาน ไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

 นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ได้เผยแพร่เอกสารใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ลงวันที่ 21 สิงหาคม โดย นพ.ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ ถึงเหตุผลในการไม่ไปลงมติเลือก เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมหนังสือแจ้งลาประชุมถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 21-24 สิงหาคมที่ผ่านมา 

โดยอ้างถึงใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ระบุว่า “ร.ต.อ. เฉลิม รักษาอยู่ในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เนื่องจากมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีเส้นเลือดในสมองตีบ ได้ทำบอลลูนเส้นเลือดในสมองไปแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เครียดจากการทำงาน และจากตัวโรคเดิม จึงแนะนำว่าให้หยุดพักผ่อน ตั้งแต่วันที่ 21-25 สิงหาคมที่ผ่านมา”

สำหรับ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง เป็น สส.และคร่ำหวอดในวงการมาอย่างยาวนาน และแต่ก็น่าเสียดายที่ เขาและลูกชาย วัน อยู่บำรุง ไม่เคยเป็น สส.พร้อมกันเลย

 

ย้อนทำความรู้จักกับ เส้นทาง บ้านใหญ่แห่งบางบอน 
 

หากใครที่ติดตามการเมืองมานานฯ คงจะได้ยืนชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่คร่ำหวอดในสภาฯ มามากกว่า 40 ปีแล้ว โดยในสมัยรุ่งๆ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. กทม. แทนตำแหน่งที่ว่าง ในปี 2524 แต่ได้รับเลือกตั้งลำดับที่ 2 จากนั้นนายพิชัย รัตตกุลหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้มาชวนให้เข้าพรรคประชาธิปัตย์   จากนั้น 2 ปี ในปี 2526 ร.ต.อ.เฉลิม ได้ลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์และได้เป็น สส.สมัยแรก ได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จากนั้น ร.ต.อ.เฉลิม ได้จดทะเบียนตั้งพรรคมวลชนในปี 2528 จากนั้นในปี 2529 ร.ต.อ.เฉลิม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคมวลชนและได้ที่นั่งในสภาฯจำนวน 3 ที่นั่งโดยเป็นพรรคฝ่ายค้าน

การเลือกตั้งปี 2531 พรรคมวลชนได้ที่นั่งในสภาฯจำนวน 5 ที่นั่ง และพรรคมวลชนได้เข้าร่วมรัฐบาล โดย ร.ต.อ.เฉลิม ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปรับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

กระทั่งปี 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ได้ทำรัฐประหาร พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ซึ่งมีการกล่าวหาว่า ร.ต.อ.เฉลิม ร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์จำนวน 32 ล้านบาท เหตุการณืดังกล่าวทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ต้องขอลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศจากนั้นในการเลือกตั้งในปี 2535 ร.ต.อ.เฉลิม จึงได้เดินทางกลับประเทศและลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 4            

ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ร.ต.อ.เฉลิม ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.  รวมถึงพรรคมวลชน ที่เขาคุมบังเหียน ได้ที่นั่งในสภาฯจำนวน  4 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2538 สมาชิกพรรคมวลชนได้รับการเลือกตั้งจำนวน 3 ที่นั่ง  และ ร.ต.อ.เฉลิม ได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 

เดือดกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว! เฉลิม ซัด เศรษฐา อย่ามายุ่งปมตัดขาดทักษิณ จวกถ้าเป็นแบบนี้รัฐบาลพังในอีกไม่นาน

ปี 2539 สมาชิกพรรคมวลชนได้รับการเลือกตั้งจำนวน 2 ที่นั่ง เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม ได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทั่งการเลือกตั้งในปี 2544 สมาชิกพรรคมวลชนได้ยุบรวมเข้ากับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งต่อมาได้พรรคความหวังใหม่ได้ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทยในปี 2545 ซึ่งในครั้งนั้น ร.ต.อ.เฉลิม มีความขัดแย้งกับสมาชิกบางกลุ่มในพรรคไทยรักไทย ทำให้ออกจากพรรคไทยรักไทยแล้วลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 แต่ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 4

ระหว่างปี 2548 –2550 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้ถอยออกจากแวดวงการเมืองและไปเรียนหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้น ร.ต.อ.เฉลิม กลับเข้าสู่แวดวงการเมืองอีกครั้งกับพรรคพลังประชาชนจากการชักชวนของทักษิณ ชินวัตร ที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศขณะนั้น และในการเลือกตั้งปี 2550  ร.ต.อ.เฉลิม เป็น สส.แบบสัดส่วนลำดับที่ 2 และร.ต.อ.เฉลิม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในปี 2551 ก่อนที่สุดท้ายแล้ว ในเวลาต่อมา เมื่อมีการปรับ ครม. สมัครได้ให้ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ นั่ง มท.1 แทน แล้ว เฉลิม ถูกย้ายไปเป็น รมว.สาธารณสุข  

จากนั้น เมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน ส่งผลให้นายสมชายถูกตัดสิทธิทางการเมืองต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ สมาชิกของพรรคได้มาตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อพรรคเพื่อโดยที่ประชุม สส.พรรคเพื่อไทยมีมติเลือก ร.ต.อ.เฉลิม เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคและประธาน สส.พรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่คล้ายกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

กระทั่งการเลือกตั้งในปี 2554 พรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดและสามารถจัดตั้งรัฐบาล , เป็นแม่ทัพเดินสายปราศรัยทั่วภาคอีสาน 

โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกฯหญิงคนแรก  และ ร.ต.อ.เฉลิม ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โดยได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นในปี 2556 ร.ต.อ.เฉลิม ถูกปรับให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 

และในระหว่างการชุมนุมของ กปปส. ร.ต.อ.เฉลิม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง

กระทั่งในปี 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดเฉพาะตัว  ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีรักษาการ จนนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการเมืองและการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในวันที่  22 พฤษภาคม 2557 

จากนั้นในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคเพื่อไทยไม่ได้ สส.แบบบัญชีรายชื่อ ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ไม่ได้กลับเข้ามาเป็น สส. แต่มีทายาทางการเมืองเข้ามาในสภาแทนคือ นายวัน อยู่บำรุง สส. กทม. เขตบางบอน

และในการเลือกตั้งปี 2566 ร.ต.อ.เฉลิม ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ ร.ต.อ.เฉลิม จะวางตัวทายาททางการเมืองไว้ อย่าง วัน อยู่บำรุง , แต่ทั้ง พ่อและลูก คู่นี้ ไม่เคยเข้าสภาฯ พร้อมกันเลย เพราะในการเลือกตั้ง 2566  ร.ต.อ.เฉลิม ได้กลับมาเป็น สส.บัญชีรายชื่อ แต่ลูกชาย สอบตก ในการลงเขต , ส่วน เมื่อ 4 ปีที่แล้ว  ร.ต.อ.เฉลิม ไม่ได้เป็น สส. เพราะ บัญชีรายชื่อในการเลือกตั้งระบบเมื่อปี 2562 พรรคเพื่อไทย ไม่ได้ สส. แม้แต่คนเดียว , แต่ ครั้งนั้น วัน อยู่บำรุง ได้เป็น สส.เขต ในกทม.
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related