svasdssvasds

จากกรณีไอซ์ รักชนก : เปิดกฎหมาย สส. ต้องพ้นตำแหน่งหรือไม่ ถ้าศาลสั่งจำคุก

จากกรณีไอซ์ รักชนก : เปิดกฎหมาย สส. ต้องพ้นตำแหน่งหรือไม่ ถ้าศาลสั่งจำคุก

เปิดเหตุผล ทำไม #ไอซ์รักชนก ศรีนอก สส. ก้าวไกล จะพ้นตำแหน่งสส.ทันที ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อสู้คดีชั้นอุทธรณ์ภายในวันนี้ จากการที่เธอโดนโทษ จำคุก 6 ปี ไม่รอลงอาญา จากคดี ม.112 และ พ.ร.บ.คอมฯ

จากกรณีที่ ไอซ์ รักชนก ศรีนอก สส. ก้าวไกล จากกรุงเทพฯ โดนศาลพิพากษา จำคุก 6 ปี ไม่รอลงอาญา จากคดี ม.112 และพ.ร.บ.คอมฯ ทำให้หลายๆคน มีคำถามขึ้นในใจว่า เธอจะพ้นสภาพจากเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ ทำให้ iLaw เปิดกางรัฐธรรมนูญ พลิกดูข้อบังคับต่างๆ  และหากสมมุติ ไอซ์ รักชนก  จะพ้นตำแหน่งสส.ทันที  หากไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อสู้คดีชั้นอุทธรณ์ภายในวันนี้ (วันที่ 13 ธ.ค. 2566) 

ไอซ์ รักชนก ศรีนอก สส. ก้าวไกล จากกรุงเทพฯ โดนศาลพิพากษา จำคุก 6 ปี ไม่รอลงอาญา จากคดี ม.112 และพ.ร.บ.คอมฯ

• เงื่อนไขดำรงตำแหน่ง สส.                       
                                    

1.ถูกพิพากษาจำคุกโดย คดียังไม่ถึงที่สุด - ได้ประกันตัวทันที  ผลลัพธ์  ไม่พ้นตำแหน่ง
2. ถูกพิพากษาจำคุก โดยคดียังไม่ถึงที่สุด - ไม่ได้ประกันตัว เข้าคุกจริง ผลลัพธ์  พ้นตำแหน่ง
3. ศาลมีคำพิพากษาเป็นที่สุดให้จำคุก โดยไม่รอการลงโทษ   ผลลัพธ์  พ้นตำแหน่ง
4. พิพากษาเป็นที่สุดในจำคุก  แต่ให้รอการลงโทษจำคุก (ยกเว้น เป็นการกระทำโดยประมาท เป็นความผิดลหุโทษ หรือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท)  ผลลัพธ์  พ้นตำแหน่ง    

• เงื่อนไขการรับสมัครเลือกตั้ง
                                            

1.ถูกดำเนินคดี แต่คดียังไม่ถึงที่สุด ได้ประกันตัว  ผลลัพธ์ สมัครรับเลือกตั้งได้
2. ถูกพิพากษาจำคุก และถูกคุมขังด้วยหมายศาล  ผลลัพธ์ หมดสิทธิ์ลงเลือกตั้ง
3. ถูกพิพากษาจำคุกแล้ว พ้นโทษไม่ถึง 10 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง (ยกเว้นถูกจำคุกเพราะการกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ)  ผลลัพธ์ หมดสิทธิ์ลงเลือกตั้ง

จากกรณีไอซ์ รักชนก : เปิดกฎหมาย สส. ต้องพ้นตำแหน่งหรือไม่ ถ้าศาลสั่งจำคุก

โดย iLaw ระบุว่า  ลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 หมวดที่ 7 รัฐสภา โดยลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งจะอยู่ในมาตรา 98 ส่วนเงื่อนไขให้พ้นตำแหน่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถูกดำเนินคดีปรากฎอยู่มาตรา 101 
 
มาตรา 98 (6) กำหนดห้ามคนที่ต้องคำพิพากษาจำคุกและถูกขังโดยหมายศาลลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วน (7) กำหนดห้ามผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกแล้วพ้นโทษยังไม่ถึงสิบปีนับจากวันพ้นโทษถึงวันเลือกตั้งลงสมัครรับเลือกตั้ง ยกเว้นแต่ถูกพิพากษาจำคุกจากความผิดที่ทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ระยะเวลาต้องห้ามสิบปีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ขยายจากระยะเวลาต้องห้าม 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญ 2550 
 
มาตรา 98 (9) (10) และ (11) ยังกำหนดห้ามผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาในความผิดบางประเภทลงสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่มีการกำหนดระยะเวลานับจากวันพ้นโทษไว้ด้วยซึ่งหมายความว่าคนที่ถูกดำเนินคดีเหล่านั้นจะไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเลยตลอดชีวิต (9) กำหนดลักษณะต้องห้ามผู้ที่เคยถูกพิพากษาเป็นที่สุดให้ยึดทรัพย์และผู้ที่เคยถูกพิพากษาจำคุกในกฎหมายป้องกันการทุจริต (10) กำหนดห้ามผู้ที่เคยถูกตัดสินว่าทำความผิดเกี่ยวกับหน้าที่ราชการ หรือความผิดบางประเภท เช่น ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการฉ้อโกง กฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายยาเสพพย์ติด (เฉพาะผู้ผลิต นำเข้า และจำหน่าย) และความผิดตามกฎหมายป้องกันการค้ามนุษย์ เป็นต้น 
 
ความผิดที่เกิดจากการแสดงออกทางการเมือง รวมทั้งมาตรา 112 ไม่ได้ถูกกำหนดเป็นลักษณะต้องห้าม "ตลอดชีวิต" คนที่ต้องโทษจำคุกในคดีประเภทนี้จะเข้าลักษณะต้องห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งในระยะเวลาสิบปี นับจากวันพ้นโทษถึงวันเลือกตั้งเท่านั้น
 
ในการเลือกตั้งปี 2566 นักการเมืองอย่างณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ซึ่งเคยถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 2 ปี 8 เดือนจากกรณีชุมนุมหน้าบ้านพล.อ.เปรมในปี 2550 และเพิ่งครบกำหนดโทษจำคุกในวันที่ 29 มีนาคม 2564 ก็ยังติดเงื่อนไขไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ จึงช่วยพรรคเพื่อไทยหาเสียงเท่านั้น แต่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 2566 เอง
 
สำหรับคนที่มีคดีติดตัวแต่ขณะเข้าสู่ตำแหน่ง สส.ศาลยังไม่มีคำพิพากษาออกมา ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ไปได้ตามปกติจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจึงจะต้องพิจารณาว่า คำพิพากษาที่ออกมาทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งพ้นจะตำแหน่งเพราะเข้าข่ายเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งหรือไม่ โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 101 กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคดีความที่จะส่งผลให้บุคคลพ้นสมาชิกภาพส.ส.ไว้ใน (6) คือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 และ (13) คือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้ศาลจะให้รอลงอาญาโทษจำคุก ยกเว้นคดีที่เป็นการกระทำโดยประมาท เป็นความผิดลหุโทษ หรือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท   
 
ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อผู้ดำรงตำแหน่ง สส. ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกระหว่างดำรงตำแหน่ง หากคำพิพากษาที่ออกมายังไม่ถึงที่สุดและตัว ส.ส. ได้รับการประกันตัวในวันที่ศาลมีคำพิพากษาเพื่อจะยื่นอุทธรณ์คดีต่อ ก็จะไม่พ้นจากตำแหน่งเพราะถือว่ายังไม่ถูกออกหมายขังตามมาตรา 98(6) และคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 101(13) แต่หากคำพิพากษาที่ออกมาเป็นที่สุดให้ลงโทษจำคุก ไม่ว่าศาลจะรอการลงโทษจำคุกให้หรือไม่ ตัวผู้ถูกดำเนินคดีก็จะพ้นจากตำแหน่งเพราะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 101 (13) หรือหากตัวส.ส.ถูกพิพากษาจำคุกและไม่ได้รับการประกันตัว คือ ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ "แม้เพียงวันเดียว" ก็จะพ้นจากตำแหน่งเพราะถือว่าเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 98 (6) แล้ว    
 
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่อยู่ในสมัยประชุม สส.ก็จะมีเอกสิทธิ์คุ้มครองจากกระบวนการทางคดีอาญาบางประการเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างราบรื่นและเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งฟ้องคดีจนกระทบกับเสียงลงคะแนนในสภา โดยมาตรา 125 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ห้ามจับกุม คุมขัง หรือออกหมายเรียกทั้งส.ส.และส.ว. ไปสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิก ในกรณีที่ตัวสมาชิกสภาถูกจับกุมคุมขังตั้งแต่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุมพนักงานสอบสวนหรือศาลจะต้องปล่อยตัวสมาชิกสภาที่ถูกคุมขังทันทีที่ประธานสภาที่ผู้ถูกจับเป็นสมาชิกร้องขอ นอกจากนั้นในกรณีที่มีการฟ้องร้องคดีต่อสมาชิกรัฐสภา ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างสมัยประชุมก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดขวางการประชุมสภาของตัวสมาชิกผู้ถูกดำเนินคดี

ที่มา iLaw

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related