“มาดามเดียร์” ถกทางแก้ปัญหาพนันบอล สร้างรายได้เข้าประเทศ ด้านนักวิชาการ แนะรื้อกฎหมายพนันล้าสมัยควบคู่ปฏิรูปตำรวจ
น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรม กทม. พรรคประชาธิปัตย์ จัดเวที ฟัง-คิด-ทำ “พนันบอล” ควรหยุดหรือถูกกฎหมาย? โดยมี รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์สำนักวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายธนิศร์ พิริยะโภคานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โพรเมสซ์ จำกัด และ “เบลล์ ขอบสนาม” เข้าร่วม
โดย น.ส.วทันยา กล่าวว่า เรื่องของการพนันฟุตบอลเป็นเรื่องที่อยู่ในสังคมของทุกประเทศอยู่แล้ว แทนที่จะทำให้การพนันเป็นเรื่องใต้โต๊ะ ก็หยิบขึ้นมาไว้บนโต๊ะ เพื่อง่ายต่อการควบคุมดูแลได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ในประเทศอังกฤษ เรื่องของการพนันฟุตบอลเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย โดยได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของการพนันมาตั้งแต่ปี 1960 และหลังจากนั้นปี 2005 ก็ยังได้มีการปรับปรุงเพิ่มมาตรการควบคุมไม่ให้มีการโฆษณาไปถึงเยาวชน และจะต้องมีการให้ความรู้กับประชาชน ทั้งนี้ในส่วนของการพนันฟุตบอลซึ่งมีคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องน้อยกว่าการพนันประเภทอื่น แต่มูลค่ากลับสูงที่สุด อย่างเช่น ในประเทศไทย ปี 2564 มีเม็ดเงินหมุนเวียนในวงการพนันฟุตบอล 180,000 ล้านบาท คิดเป็น 1.12% ของ GDP
ด้าน รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การพนันถูกกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ในบางประเทศได้ทำอยู่แล้ว แต่มีอีกหลายประเทศก็ไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าการเล่นพนันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สินค้าและบริการปกติ เพราะการเล่นพนันก่อให้เกิดผลกระทบกับทั้งตัวผู้เล่น ครอบครัว และสังคม ดังนั้นหากประเทศไหนทำให้ถูกกฎหมายก็ต้องมีการกำหนดกรอบกติกาในการควบคุมไว้ค่อนข้างมาก ส่วนกรณีของประเทศอังกฤษนั้นสิ่งหนึ่งที่นอกจากมีการออกกฎหมายให้การพนันถูกกฎหมายแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีการดำเนินการไปควบคู่กัน คือ การปฏิรูปตำรวจอย่างจริงจัง เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกัน จึงต้องปฏิรูปเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อมีการทำการพนันให้ถูกกฎหมายก็ต้องมีการปราบในส่วนที่ผิดกฎหมายด้วย เนื่องจากการตรากฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้การพนันที่ผิดกฎหมายหมดไปได้
ส่วนประเทศไทยนั้นถ้าเราพร้อมขนาดนั้นก็ทำได้ แต่หากไม่มีการปฏิรูประบบผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม จะคาดหวังเพียงว่าออกกฎหมายอย่างเดียว เราก็จะเจอทั้งพนันที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมายอยู่แบบนี้ ส่วนที่ผิดกฎหมายจะไม่หายไป แล้วการกำกับต้องทำอย่างไรไม่ให้ส่งผลร้ายต่อสังคมมากเกินไป เพราะการพนันส่วนหนึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาหนี้การพนัน และจะนำไปสู่การเกิดอาชญากรรม ความรุนแรง และปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมาก รวมถึงจะมีการกำหนดมาตรการป้องกันเยาวชนเข้าถึงการพนันได้อย่างไร
“การทำให้ถูกกฎหมายโดยที่เราไม่แก้ปัญหาเดิมที่มีอยู่ เราก็จะเจอทั้งพนันที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมายเกลื่อนไปหมด และพนันที่ถูกกฎหมายก็จะสู้พนันที่ผิดกฎหมายไม่ได้ เพราะพนันที่ถูกกฎหมายราจะเก็บเสียภาษี แต่พนันที่ผิดกฎหมายเขาจ่ายส่วยอย่างเดียวไม่ได้จ่ายภาษี” รศ.ดร.นวลน้อย กล่าว
“เราใช้รัฐธรรมนูญมา 20 ฉบับ แต่กฎหมายการพนันหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเราใช้มา 2 ฉบับ มันเทียบกันไม่ได้เลย ผมคิดว่ากฎหมายพนันนี้มันล้าสมัยมาก ถึงเวลาที่ต้องสังคยานาได้แล้ว” ดร.ณัฐกร กล่าว
ดร.ณัฐกร กล่าวต่อว่า บางประเทศที่ที่มีการทำให้การพนันถูกกฎหมาย เพราะมองว่ารัฐจะสามารถคุ้มครองผู้เล่นได้ดีกว่าที่จะปล่อยให้ไปเล่นกับเว็ปไซต์เถื่อนที่อาจจะถูกโกงได้ หรือยังจะสามารถวางมาตรการกำกับ เช่น อายุผู้เล่น และผู้ให้บริการได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้การที่จะทำให้การพนันชนิดใดถูกกฎหมายนั้นจะต้องออกกฎหมาย โดยการออกกฎหมายผ่านการออกประชามติของประชาชน เพื่อทำให้การดำเนินนโยบายมีความชอบธรรม แต่หากจะให้พรรคการเมืองทำเองตนมองว่าอาจจะมีความเสี่ยง
ด้าน นายธนิศร์ ได้ให้ข้อมูลเปรียบเทียบมูลค่าการพนันว่า การพนันบอลในประเทศไทยมีเม็ดเงินหมุนเวียนปีละ 180,000 ล้านบาท ขณะที่สลากกินแบ่งรัฐบาล มีเม็ดเงินหมุนเวียนเพียงปีละ 130,000 ล้านบาท และเมื่อรวมการพนันทั้งถูกและผิดกฎหมายในประเทศไทยมีเม็ดเงินหมุนเวียนปี 2564 อยู่ที่ 740,000 ล้านบาท และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวช่วงปี 2563 ที่มีมูลค่า 800,000 ล้านบาท ซึ่งมีความใกล้เคียงกัน แต่การที่นักท่องเที่ยวเข้ามานั้นมีต้นทุนสูงเพราะการใช้ทรัพยากร แต่การพนันไม่มีการใช้ทรัพยากรอะไรและทำให้มีต้นทุนต่ำ และหากมองว่าเรื่องของการพนันเป็นธุรกิจโอกาสเสียงที่จะเจ้งมีต่ำมากหากไม่โดนโกง ดังนั้นไม่ว่าจะมองมุมไหนในเชิงตัวเลขถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
ส่วนการป้องกันควบคุมทุกวันนี้เทคโนโยลีก้าวหน้ามาก เราสามารถสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวังในข้อมูลในออนไลน์ต่าง ๆ ว่ามีข้อมูลที่สุ่มเสี่ยงหรือไม่ โดยเป็นการทำงานในเชิงรุก รวมถึงยังอีกสิ่งที่น่าสนใจ คือ เทคโนโลยีบล็อกเชน ที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันการเข้าถึงของเยาวชน เช่น เมื่อมีเยาวชนเข้าถึงจะมีการส่งSMS ไปขออนุญาตจากทางผู้ปกครอง ดังนั้นจะเห็นว่า