หาคำตอบ? “เม พรีมายา” โชว์บ้านหลังใหญ่โต มีรถหรู ไลฟ์สไตล์กินหรู มีเงินเที่ยว ใช้ของแบรนด์เนม กลยุทธ์กระตุ้นให้คนอยากเป็นลูกทีม เพราะเชื่อว่าขายแบรนด์นี้แล้วชีวิตต้องดี แต่ผลประโยชน์ "ธุรกิจขายตรง" ใคร? ได้มากสุด
“เม พรีมายา” หรือ น.ส.พิชญ์นรี ตันติวิทย์ ซีอีโอเจ้าของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภายใต้ชื่อแบรนด์ PRIMAYA (พรีมายา) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดนนทบุรี ที่ 41/2566 ลงวันที่ 17 ม.ค. ในฐานความผิด โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ที่กำลังเป็นกระแสร้อนแรงในขณะนี้ กับประโยคของลูกทีมที่ว่า “3 เดือนสร้างเงิน 15 ล้านบาท กำเงินก้อนสุดท้ายในชีวิต พลิกชีวิตจากการขายของออนไลน์จากการลงทุนแค่ 6,000 บาท ถ้าไม่มีพรีมายา เป็นขอทานแน่”
"ธุรกิจขายตรง" หรือ การขายของออนไลน์ยุคนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพลักษณ์ของเจ้าของแบรนด์ที่ดูกินหรู อยู่สบาย มีเงินเที่ยว ใช้ของแบรนด์เนม มีบ้านหลังใหญ่โต มีรถหรู ต่างมีส่วนทำให้คนสนใจอยากจะประสบความสำเร็จไปด้วย กรณีของ “เม พรีมายา” เป็นอีก 1 บทพิสูจน์ว่า การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีมีผลทำให้หลายคนอย่างสร้างตัวตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่องรายได้ "เม พรีมายา" PRIMAYA สนั่นโซเชียล! ลงทุน 6,000 บาท ได้คืน 15 ล้านบาท
ย้อนดราม่าไทม์ไลน์ “เม พรีมายา” ลงทุนนิดเดียว 3 เดือนรวยพันล้าน จริงหรือ?
ใบเตย สุธีวัน เจอดราม่า! โดนโยงเอี่ยว เม พรีมายา เหตุเป็นหุ้นส่วนคลินิก?
วันนี้ สปริงนิวส์ มีโอกาสได้คุยกับ 1 ในลูกทีมที่ออกมาแฉพฤติกรรมของเจ้าของแบรนด์ “เม พรีมายา” ผ่านทางทวิตเตอร์ @threadforfriend บอกเล่าประสบการณ์ตรงที่ได้เจอจากคนวงใน เธอเป็นคนหนึ่งที่ยอมรับว่า จุดเริ่มต้นมาจากที่ตัวเองเคยเป็นติ่งของ เม พรีมายา เพราะรู้จักตั้งแต่สมัยเรียน ชื่นชอบทั้งหน้าตา ความเก่ง และติดตามมาตลอด เมื่อเห็น เม พรีมายา ขายอะไรก็อย่างอุดหนุน จนมาถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ที่ลองแล้วเห็นผลจริง น้ำหนักลด ก็เริ่มมั่นใจ เริ่มเชื่อมากขึ้น และตัดสินใจเป็นตัวแทน (ปี 2565 เจ้าหน้าที่ได้ล่อซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท พรีมายา ผ่านทางเฟซบุ๊ก พบว่า ผลิตภัณฑ์มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง และมีสารไซบูทรามีน)
และจุดเปลี่ยนเริ่มขึ้น จากการไปงานสัมมนา ที่ทำให้รู้ว่าการขายของออนไลน์ที่ทำอยู่ ไม่ได้เน้นแค่ผลิตภัณฑ์ แต่เน้นการสร้างคอนเทนต์ให้คนเชื่อ ให้คนสนใจอยากตาม และมีคำนึงที่ทำให้เราเข้าใจการสร้างคอนเท้นของเค้ามากขึ้น คือประโยคจากโค้ชที่ว่า..
“เป็นแม่ค้าออนไลน์ต้องใช้ชีวิตให้คนอื่นเสพ” คือต้องทำคอนเทนต์ยังไงก็ได้ ให้คนอยากรู้ว่า ทำอะไร ขายอะไร ทำไมรวยขนาดนี้ โชว์ความสำเร็จ ขายแบรนด์นี้แล้วชีวิตต้องดี
จึงทำให้เริ่มเข้าใจว่า การสร้างภาพลักษณ์หรูหรา ประสบความสำเร็จ ของ “เม พรีมายา” เป็นส่วนหนึ่งของการทำคอนเทนต์ จึงตัดสินใจว่า การขายของแบรนด์พิมมายา หลังจากนี้จะไม่เน้นที่ตัว ceo แต่เริ่มขายจากรีวิว คุณภาพ และลูกค้าประจำต่อ
กลยุทธ์ที่ 2 ของแบรนด์ คือ “การสต็อกของและการขายตัดราคา” เริ่มที่ตัวแทนรายย่อย มักจะสต็อกของไม่มากนัก ด้วยทุนที่ต้องจ่ายไปก่อนไม่ได้มีมากนัก ทำให้ได้สินค้าจากแบรนด์มาขายมาขายในราคาที่สูงกว่า ตัวแทนรายกลาง-รายใหญ่ ที่มีทุนสั่งสต็อกของมาจำนวนมาก ก็จะได้ส่วนลดมากกว่า หลังจากนั้นลูกค้ารายใหญ่ (บางทีก็เป็นพวกแอปขายของ) ก็จะขายตัดราคา แน่นอนว่าผู้บริโภคก็ย่อมจะเลือกซื้อที่มีราคาต่ำกว่า ส่งผลให้ตัวแทนรายย่อยสต็อกปล่อยไม่ออก เมื่อไปเรียกร้องกับทางแบรนด์ให้มีมาตรการกับผู้ค้าที่ขายตัดราคา ซึ่งแบรนด์ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะตั้งรักษาลูกค้ารายใหญ่ที่สต็อกที่เป็นแสนเป็นล้านบาท สุดท้ายตัวแทนรายย่อยก็เริ่มหมดไป
กลยุทธ์ที่ 3 คือ พอเริ่มไม่ง้อตัวแทนรายย่อยแล้ว จะปล่อยโปรอะไรก็ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า ตัวแทนก็อยู่ไม่ได้ แบรนด์ก็จะใช้วิธี ให้ฝากแบรนด์ส่ง โดยแบรนด์จะจัดทำระบบขึ้นมา ให้ตัวแทน กรอกที่อยู่ลูกค้า แล้วโอนเงินให้แบรนด์เป็นเงินต้นทุน แล้วตัวแทนรับส่วนต่าง
ซึ่งแบบนี้ กลายเป็นว่า คนที่สต็อกเพื่อหวังว่าจะได้ต้นทุนถูก กำไรเยอะ เสียเปรียบคนไม่สต็อก ที่ไม่ต้องเสียอะไร แล้วฝากแบรนด์ส่ง ซึ่งแบรนด์ก็ได้ออเดอร์จากตัวแทนที่ช่วยหามาให้ แล้วเอามาถ่ายคอนเทนต์ว่า แบรนด์มีออเดอร์เยอะมาก ทั้งๆที่ในนั้นก็มีออเดอร์ของตัวแทนที่ช่วยขาย สุดท้ายคนที่เปิดบิลสต็อกสินค้าก่อนหน้านี้ ทุนจม และเจ้าของแบรนด์เริ่มไม่สนใจตัวแทนรายย่อย ทำให้หลายคนเลิกขายไป
สุดท้าย ตัวแทนพรีมายารุ่นใหม่ๆ จะถูกสอนให้หาตัวแทน ให้ตั้งเป้าว่า เดือนนี้จะต้องเพิ่มสต็อก ขยายยอดได้เท่าไหร่
เช่น เดือนนี้อยากได้ 1 ล้าน ต้องขายได้กี่กล่อง ต้องหาตัวแทนเพิ่มกี่คน ต้องให้ตัวแทนสต็อกต่อเท่าไหร่ นั่นคือ การมุ่งเน้นหาตัวแทน ซึ่งก็คือ ธุรกิจขายตรง ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่า ธุรกิจขายตรง จำนวนไม่น้อยแอบแฝงด้วยแชร์ลูกโซ่
ที่มา : @threadforfriend
ทำความรู้จักลักษณะของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่
1. มีการชักชวนประชาชนให้สมัครเป็นสมาชิกให้ร่วมเข้าเป็นเครือข่าย โดยจะไม่มุ่งเน้นในการ จำหน่ายสินค้าหรือบริการ
2. ผลตอบแทนจากธุรกิจประเภทดังกล่าวมาจากการหาสมาชิกมาเข้าร่วมลงทุนเพิ่ม ไม่ได้มาจากการ จำหน่ายสินค้าหรือบริการแต่อย่างใด
3. ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่จะมีการเก็บค่าสมัครสมาชิกค่อนข้างสูง และจะมีการให้ซื้อ สินค้าที่มีคุณภาพต่ำ
4. มีการดำเนินงานอย่างเป็นขบวนการ มีแม่ทีมในการออกหาสมาชิกเพิ่ม
ถึงแม้ว่าแบรนด์ พรีมายา จะไม่ได้เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ แต่จุดเริ่มต้นและพฤติการณ์ขายแบบหาขยายลูกทีม โฆษณาชวนเชื่อว่าสามารถขายได้กำไร 15 ล้านบาทภายในเวลาเพียง 3 เดือน อาจทำให้คนตั้งข้อกังขาได้ แม้ล่าสุด แม่ทีมคนดังกล่าวจะออกมาแก้ต่างว่า 15 ล้านบาทไม่ใช่กำไรแต่เป็นรายได้รวมของลูกทีมทั้งหมดกว่า 600 คน แต่เรื่องนี้ ก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่า การทำธุรกิจของพรีมายา เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน หรือมีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่ หรืออาจจะเป็นมหากาพย์ ปลาหมอตายเพราะปาก หรือ ตายเพราะการสร้างคอนเทนต์โซเชียลก็เป็นได้ แต่ที่แน่ๆคนรวยคือเจ้าของแบรด์ตัวแทนอาจจะได้เปอร์เซนต์ แต่รายได้หลักเข้ากระเป๋าคนเดียว