svasdssvasds

ห้ามทานปูที่มีรู เพราะฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป กรมอนามัยชี้ชัดข่าวปลอม

ห้ามทานปูที่มีรู เพราะฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป กรมอนามัยชี้ชัดข่าวปลอม

กรมอนามัยเตือน ข่าวปลอม กับกระแสหลีกเลี่ยงทานปูที่มีรู เพราะมีการฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป โดยภาพที่ถูกแชร์เป็นภาพเก่า ซึ่งสื่อต่างประเทศได้ออกมาชี้ว่า ภาพปูมีรูที่ท้องไม่ได้เกิดจากการฉีดฟอร์มาลีน แต่เป็นการฉีดน้ำทะเลเข้าไป เพื่อเพิ่มน้ำหนักและรักษาความสดของปู

จากที่ได้มีการแชร์ข้อความ พร้อมรูปในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ กับประเด็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการรับประทานปูที่มีรู เพราะมีการฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป ทางด้านศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอนามัย 

หน่วยงานสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ และจากที่มีการแชร์ข้อความว่าห้ามรับประทานปู ที่มีรู เพราะว่ารูนั้นเอาไว้ฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป 

ทางกรมอนามัย รวมไปถึงหน่วยงานสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้ว่า ภาพนี้เป็นภาพเก่าถูกแชร์ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งสื่อต่างประเทศได้ออกมาแจ้งว่าภาพปูที่มีรู ที่ท้องไม่ได้เกิดจากการฉีดฟอร์มาลีน แต่เป็นการฉีดน้ำทะเลเข้าไป

เพื่อเพิ่มน้ำหนักและรักษาความสดของปู ซึ่งฟอร์มาลีนเป็นสาร ที่มีพิษใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา จึงถือเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามใช้ในอาหาร 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ ตามกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 คือผู้ใช้สารนี้ กับอาหารหรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิตจำหน่ายอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ และถ้าหากตรวจพบสารดังกล่าว
จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยอาหารทะเลในช่วงหน้าร้อนมักจะต้องเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำ เพื่อป้องกันการเน่าเสีย รวมถึงปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย เช่น เชื้ออหิวาต์เทียม ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง

ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารทะเลสามารถใช้วิธีการดมกลิ่น หรือถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้สงสัยได้เลยว่า มีฟอร์มาลีนอยู่ และก่อนการทำอาหารควรล้างให้สะอาด 
เพราะฟอร์มาลีนส่วนมากจะถูกชะล้างออกไปหมดเนื่องจาก มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภค
 

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด

นอกจากนั้นประชาชนสามารถได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 
โดยติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.anamai.moph.go.th หรือโทร. 02 5904000
 

related