svasdssvasds

ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2

ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2

สะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน

สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เริ่มสร้างจากสถานีหนองปลาดุก (กิโลเมตรที่ 64+196) ถึงสถานีกาญจนบุรี ระยะทางยาวประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นทางราบโดยตลอด

ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่วนจากสถานีกาญจนบุรีภูมิประเทศเริ่มเป็นเนินสูง มีภูเขาเล็กน้อย และจากน้ำตกขึ้นไปเป็นเขามีความลาดชันสูง ซึ่งจุดที่มีความลำาบากที่สุด คือ "ช่องเขาขาด" เพราะต้องตัดภูเขาให้เป็นช่องสำหรับสร้างรางรถไฟ การก่อสร้างใช้เวลา 3 เดือน เชลยศึกต้องทำงานถึง18 ชั่วโมงต่อวัน แรงงานที่ทำางานหนักและเจ็บป่วย ได้เสียชีวิตที่ช่องเขาขาดนี้เป็นจำานวนมาก ในช่วงกลางคืนจะใช้น้ำมันตะเกียง แสงสลัวริบหรี่และเงาของเหล่าทหารเชลยศึก จะปรากฏบนผนังช่องเขาที่ถูกตัดจึงเป็นสถานที่ที่ได้รับการขนานนามว่าช่องไฟนรก

ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2

แล้วจึงลาดลงผ่านหมู่บ้านและตำบลน้ำตกไทรโยค จนถึงตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ เป็นระยะทางยาวรวม 88 กิโลเมตร จากนั้นเลียบลำน้ำแควน้อยขึ้นไปจนถึงนิเกะ กิ่งอำเภอสังขละบุรี (อำเภอสังขละบุรีปัจจุบัน) และไปจนถึงพรมแดนไทย-พม่า ที่ด่านเจดีย์สามองค์ รวมระยะทาง 303.95 กิโลเมตรซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและโครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจนสะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบันมีการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง รัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแด่ผู้เสียชีวิต คือ สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก (สุสานดอนรัก) สุสานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิต มีขนาดพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุศพเชลยศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม โดยเชลยศึก 300 คนเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคและฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ บนหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำไว้อาลัยที่โศกเศร้า

ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ย้อนอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแคว ร่องรอยประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2