svasdssvasds

7 วันอันตรายสงกรานต์ วันที่5 เสียชีวิต 192 ราย สาเหตุหลักขับรถเร็ว

7 วันอันตรายสงกรานต์ วันที่5 เสียชีวิต 192 ราย สาเหตุหลักขับรถเร็ว

ศปถ. รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน 7 วันอันตรายเทศกรานต์ 2564 วันที่ 5 (10-14 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,795 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 192 ราย จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น ปทุมธานี (จังหวัดละ 8 ราย) สาเหตุหลักขับรถเร็ว รองลงมาดื่มแล้วขับ

วันนี้ (15 เม.ย.64) เวลา 10.30 น. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 14 เมษายน 2564 ช่วง 7 วันอันตรายสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันที่ห้าของการรณรงค์ “สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด” เกิดอุบัติเหตุ 330 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 37 ราย ผู้บาดเจ็บ 328 คน

• สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 34.55 ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 31.52

• ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 85.84

• ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 60.61 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 38.18 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.27

• ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 26.67

• ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 17.81

ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,908 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 59,315 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 341,495 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 71,889 ราย มีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ 18,998 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย 17,599 ราย

• โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ครั้ง)

• จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ปทุมธานี (4 ราย)

• จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก นครศรีธรรมราช (จังหวัดละ 13 คน)

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วันอันตรายเทศกรานต์ ในช่วง 5 วันของการรณรงค์ (10 – 14 เม.ย. 64)

• เกิดอุบัติเหตุรวม 1,795 ครั้ง

• ผู้เสียชีวิตรวม 192 ราย

• ผู้บาดเจ็บ รวม 1,818 คน

• จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 15 จังหวัด

• จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ นครศรีธรรมราช (76 ครั้ง)

• จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น ปทุมธานี (จังหวัดละ 8 ราย)

• จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (82 คน)

related