svasdssvasds

ติดตามข่าวโควิด-19 ยังไง ไม่ให้เครียด วิตกกังวล เกิดอาการแพนิค?

ติดตามข่าวโควิด-19 ยังไง ไม่ให้เครียด วิตกกังวล เกิดอาการแพนิค?

ข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 มีการรายงานข่าวเป็นประจำทุกวัน และแทบตลอดทั้งวัน จนทำให้หลายคนรู้สึกเครียด วิตกกังวล จนนำไปสู่อาการแพนิค กลัวโรคระบาดตามๆ กันไป วันนี้มีคำแนะนำในการ ติดตามข่าว อย่างมีสติ เตรียมพร้อมรับมือ ไม่ประมาท และไม่ก่อให้เกิดความเครียดตามมา

ติดตามข่าวจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

การนั่งไถฟีดเฟซบุ๊ก หรือฟีดทวิตเตอร์ทั้งวัน อาจจะช่วยให้เรารับรู้ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว แต่ท่ามกลางข่าวสารต่างๆ ที่ถาโถมเอามาในหน้าฟีดของเรานั้น มีทั้งข่าวที่เป็นความจริง และข่าวลวง ข่าวลือ ปะปนกันอยู่ การเสพข่าวทุกข่าวที่ไม่ได้ผ่านการคัดกรองเลย อาจทำให้เรายิ่งรู้สึกเครียด กังวล วิตกกังวล วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดความเครียดจากการเสพข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไปคือ การเลือกรับข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

ติดตามข่าวโควิด-19 ยังไง ไม่ให้เครียด วิตกกังวล เกิดอาการแพนิค?

เตรียมพร้อมอย่างมีสติ

หลายข่าว ฟังแล้วน่ากลัว น่าตื่นตระหนก แทนที่เราจะวิตกกังวล จนไม่เป็นอันทำอะไร ลองใจเย็นๆ ค่อยๆ วิเคราะห์ข่าวนั้นอย่างมีสติ ว่าโรคระบาดนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร เราสามารถเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างไรบ้าง มีวิธีไหนที่จะช่วยป้องกันตัวเรา และคนที่เรารัก ให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้บ้าง

เมื่อเรารู้วิธีที่จะรับมืออย่างถูกต้องแล้ว ก็เริ่มเตรียมตัวให้พร้อมแบบไม่แตกตื่นตกใจ เช่น ใช้หน้ากากอนามัยปิดจมูกและปากเมื่อเดินทางไปในที่ชุมชน หมั่นล้างมือเมื่อสัมผัสสิ่งของต่างๆ อย่าลืมทำความสะอาดสิ่งของที่เราต้องสัมผัสบ่อยๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเงิน หลีกเลี่ยงการนำมือไปสัมผัสใบหน้า มีสติอยู่เสมอเมื่อต้องเดินทางออกไปนอกบ้าน เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อดีในที่ทำงานของชาว introvert ที่เราอยากให้คุณเชื่อมั่นในตัวเอง

พฤติกรรมสุขภาพปลอม ๆ ที่เราคิดว่าดี ทําไปอาจไม่เวิร์ค

เคลียร์ To Do List ในวันที่ “ขี้เกียจทำงาน”

ดูแลตัวเองให้ดี

นอกจากการรักษาความสะอาดภายนอกอย่างดีแล้ว อย่าลืมเสริมภูมิคุ้มกันให้ตัวเรา ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ สะอาด ถูกหลักอนามัย ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ปละพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายของเราแข็งแรง

พูดคุยกับคนรอบข้าง

เมื่อรู้สึกเครียดหรือไม่สบายใจ ควรพูดคุยกับคนรอบข้าง เพื่อเป็นกำลังใจให้กันและกัน ผ่อนคลายความตึงเครียด

ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

หากมีอาการผิดปกติ เช่น เครียด วิตกกังวลอย่างรุนแรง ตื่นตระหนก กลัว ไม่สบายใจ รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือมีอาการผิดปกติทางร่างกายต่างๆเช่น มือและเท้าเย็น เหงื่อแตก หายใจตื้น ใจสั่น เจ็บหน้าอก เวียนหัว กล้ามเนื้อตึงเกร็ง รู้สึกอ่อนล้า อ่อนเพลีย ควรรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดตามมา เช่น โรคแพนิค (Panic Disorder)  โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) เป็นต้น

related