svasdssvasds

รวมสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคม นี่แค่ต้นปีเองนะ?

รวมสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคม นี่แค่ต้นปีเองนะ?

ขึ้นปีใหม่ใครๆก็คาดหวังให้เกิดแต่เรื่องราวดีๆ แต่เป็นไปได้ยากสำหรับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ยังคงอุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วเดือนมกราคมเกิดอะไรขึ้นบ้างนะ?

มกราคมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม ช่างรู้สึกยาวนานเหลือเกิน ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เดือนมกราคมนี้ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะเหตุการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าใจหาย ปีใหม่ใครๆก็คาดหวังให้เกิดแต่เรื่องดีๆอยู่แล้ว แต่นั้นเป็นเพียงแค่ความต้องการแบบที่จับต้องไม่ได้เพียงเท่านั้น เพราะทุกวันนี้ภัยสิ่งแวดล้อมยังคงอุบัติขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

แค่เปิดปีใหม่มาก็บันเทิงซะเหลือเกิน กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างกับอัดอั้นมานาน และไม่ต้องมองไปไหนไกล เพราะมันก็ล่องลอยอยู่รอบตัวเรานี่เอง ปี 2022 นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมหลายคนรวมถึงนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่คลุกคลีกับสิ่งแวดล้อมมีความหวังที่จะให้โลกใบนี้ลดปัญหาอาจนำไปสู่การทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือภาวะโลกร้อน และในความเป็นจริงสัญญาณเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้ว เฉกเช่นเดียวกับการเตือนของเรื่อง Don’t look up แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริง มันก็คือภัยหายนะอย่างหนึ่งเกิดขึ้นอย่างช้าๆและพรากสิ่งมีชีวิตลงไปทีละเล็กละน้อยอย่างต่อเนื่อง โดยที่เราไม่รู้ตัวเลย

Springnews ลองรวบรวมข่าวภัยสิ่งแวดล้อมที่เคยนำเสนอในเดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมาว่ามีสถานการณ์สิ่งแวดล้อมแบบใดเกิดขึ้นบ้าง 

เสือโคร่งถูกล่าในเขตหากินและสัตว์ป่าอีกจำนวนมาก

เนื่องในปีนี้เป็นปีเสือทองตามปฏิทินไทย สปริงนิวส์จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเสือมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งเป็นข่าวที่ดีที่ก่อนหน้านี้ไทยได้เข้าร่วมปฏิญญาในการอนุรักษ์เสือโคร่งร่วมกับ 13 ประเทศที่ยังคงมีรายงานการพบประชากรเสือโคร่งอยู่

แต่ข่าวไม่ดีคือ เมื่อวันที่ 12 ม.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้รายงานว่าพบซากเสือ 2 ตัวที่ถูกแล่หนัง และแคร่ย่างเนื้อสัตว์ หลังมีการออกลาดตระเวนตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 8-11 มกราคม 2565 ใกล้ชายแดนไทย-พม่า แต่กลุ่มผู้ต้องสงสัยหนีไปได้ แต่ตามจนเจอในภายหลัง

แม้เรื่องนี้จะดูเป็นข่าวหน่วยเล็กๆที่เกิดขึ้นในป่าไม้ของไทย แต่ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะทุกวันนี้เสือถือเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าต่อผืนป่ามากที่สุดตามเกณฑ์ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศจากรายงานผลการศึกษาของนักวิจัยชั้นนำของโลกหลายแหล่ง

เพราะปัจจุบัน เสือโคร่งทั่วโลกมีที่อยู่อาศัยอยู่เพียงแค่ 13 ประเทศจากทั่วโลกเท่านั้น ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและยังสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ตามรายงานการสำรวจจำนวนประชากรเสือโคร่ง โดย 13 ประเทศที่เป็นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งนั้น ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย (สุมาตรา) ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล รัสเซีย ไทย เวียดนาม และเพิ่มเติมไม่กี่ตัวในเกาหลีเหนือ (เหตุที่ไม่นับเกาหลีเหนือใน 13 ประเทศเพราะว่าไม่ได้ร่วมปฏิญญาในการอนุรักษ์เสือโคร่ง)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เสือโคร่งจัดอยู่ในสถานะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การดักซุ่มโดยผู้ลักลอบล่าสัตว์เป็นภัยคุกคามต่อเสือโคร่งมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่ไปกับการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย และการขยายตัวทางการเกษตร เสือยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการลักลอบล่าสัตว์เพื่อการค้าชื้นส่วนเสืออย่างผิดกฎหมาย

อ่านเรื่องราวของเสือโคร่งต่อได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/819643

‘ประตูสู่นรก’ จะถูกดับลงเพราะปล่อยก๊าซมากเกินไปทำโลกร้อน

The Doorway to Hell หรือ ประตูสู่นรก สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตของเติร์กเมนิสถาน ไฟที่ลุกไหม้มานานหลายปีในหลุมแห่งนี้กำลังจะจบสิ้นลง เพราะกำลังจะถูกทำให้ดับเร็วๆนี้

กูร์บันกูลี เบอร์ดีมูคาเมดอฟ (Gurbanguly Berdymukhamedov) ประธานาธิบดีของประเทศเติร์กเมนิสถาน ต้องการยกเลิกทำให้มันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพของผู้คน เพราะการเผาไหม้เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศโลก

โดยเขากล่าวว่า “เรากำลังสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า ซึ่งเราสามารถได้รับผลกำไรจำนวนมาก และใช้ทรัพยากรเหล่านี้เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนของเรา”

แม้ว่าประตูสู่นรกแห่งนี้จะดูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คุ้นตาของใครหลายๆคนและสร้างความมหัศจรรย์ใจว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ในความเป็นจริงนั้นสถานที่ที่สวยงามและน่าพิศวงไปพร้อมกันแห่งนี้กำลังปล่อยก๊าซจำนวนมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศเรื่อยมาเป็นเวลาหลายสิบปี จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหาทางปิดเส้นทางส่งก๊าซเหล่านี้สู่ชั้นบรรยากาศโลก เพื่อสู้กับภาวะโลกร้อน

อ่านประวัติของ ‘ประตู่สู่นรก’ ได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/news/819839

ภูเขาไฟใต้น้ำตองการะเบิด เกิดคลื่นสึนามิในหลายประเทศใกล้เคียง

จากเหตุการณ์การปะทุล่าสุดของภูเขาไฟตองกา ฮังกา เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2565 ในบริเวณแถบมหาสมุทรแปซิฟิก เหนือนิวซีแลนด์และใกล้เคียงกับฮาวาย ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดย่อม

การปะทุของภูเขาไฟเริ่มมีมาตั้งแต่ 29 ธันวาคม 2564 จนถึง 4 มกราคม 2565 และชะลอตัวการปะทุลง แต่ก็กลับมาปะทุระเบิดอีกครั้งวันที่ 15 ม.ค.เมื่อเวลา 04.10 (GMT) พร้อมกับควันขี้เถ้าที่พวยพุ่งออกมาสูงเกิน 15 กิโลเมตร รัศมีเกิน 2560 กม.ทำให้เกิดคลื่นสึนามิอ่อนๆในออสเตรเลีย 1.2 เมตร ในญี่ปุ่น 1-3 เมตร สหรัฐฯ 80 ซ.ม. เป็นต้น

หลายประเทศใกล้เคียงมีการเตือนภัยล่าช้า และบางพื้นที่ไม่มีการเตือนภัยเลย อย่างเช่น เปรู มีรายงานคลื่นสึนามิเข้าซัดชายฝั่งกระทันหัน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งเปรูอยู่ห่างจากตองกา ฮังกาประมาณ 10,000 กิโลเมตร แต่คลื่นสึนามิเหล่านี้ ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศว่า ‘ไม่มีผลกระทบถึงประเทศไทย’

ครั้งนี้ถือว่าเป็นอันตรายพอสมควรสำหรับผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ศูนย์เตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิกในโฮโนลูลูกล่าวว่า จะยังคงระดับการแจ้งเตือนและข้อบังคับไว้ก่อนเพื่อดูสถาการณ์สำหรับชายฝั่งแปซิฟิกของสหรัฐฯ และแคนาดาในแปซิฟิก

ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ มีแต่หนีเอาตัวรอดและป้องกันตัวเท่านั้น อ่านประวัติของภูเขาไฟตองกาเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/820078

พายุทอร์นาโดพัดถล่มสหรัฐฯ

ข้อมูลจากสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจำนวนการเกิดพายุทอร์นาโดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา มีผู้ได้รับความเสียหายหลายหลังคาเรือนและพลเรือนบาดเจ็บหลายราย ในเมืองฟอร์ตไมเออร์ รัฐฟลอริดา และในวันที่ 22 สำนักข่าวท้องถิ่น NWS ก็ได้รายงานเพิ่มเติมถึงการถล่มของทอร์นาโด 6 ลูกทางตอนใต้ของฟลอริดาในวันเดียวกันคือวันที่ 16 ม.ค.ที่ผานมาว่า

กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติได้ยืนยันว่าพายุทอร์นาโดได้เคลื่อนตัวลงไปทาง Cape Coral ทำให้บ้านพลเรือนหลายหลังทางตอนใต้ของฟลอริดาหลายหลังได้รับความเสียหายจำนวนมาก โดยพายุทอร์นาโดที่เกิดขึ้นนี้ได้รับการจัดอันดับเป็น EF0 ด้วยลม 60-70 ไมล์ต่อชั่วโมง และเกิดทั้งหมด 6 ลูกด้วยกันภายในวันเดียว

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมและรับชมคลิปวินาทีพายุพัดถล่มได้ที่ >>> https://www.winknews.com/2022/01/22/national-weather-service-now-says-6-tornadoes-struck-southwest-florida-last-week/

ดาวเคราะห์เฉียดผ่านโลก 

ดาวเคราะห์น้อยขนาดมหึมา ซึ่งมีมวลมากกว่าตึกเอ็มไพร์สเตทสองตึกกำลังมุ่งหน้ามาทางโลกเรา แต่นั่นไม่เหมือนกับดาวหางนักฆ่าดาวเคราะห์เหมือนในเรื่อง Don’t Look Up หรอกนะ หินอวกาศก้อนนี้จะผ่านโลกไปโดยไม่เป็นอันตราย แต่ก็เฉียดใกล้พอสมควร

ดาวเคราะห์น้อยก้อนนี้ หรือเรียกว่า (7482) 1994 PC1 จะเคลื่อนผ่านจุดที่ใกล้ที่สุดในวันที่ 18 ม.ค. เวลา 16.51 น. EST (2151 GMT) มันเดินทางด้วยความเร็ว 43,754 ไมล์ต่อชั่วโมง (70,415 กม./ชม.) และจะพุ่งผ่านโลกในระยะ 0.01324 หน่วยดาราศาสตร์ เท่ากับ เกือบ 2 ล้านกิโลเมตร ตามรายงานของ Solar System Dynamics (SSD) ของ NASA JPL-Caltech

ฟังดูเหมือนจะเป็นระยะห่างที่ปลอดภัยพอสมควร ซึ่งก็ปลอดภัยจริงๆนั่นแหละ แต่ตามมาตรฐานจักรวาล ถือเป็นวัตถุขนาดใหญ่พอสมควรที่เข้าใกล้เรา ซึ่งนานๆทีจะเกิดขึ้น ดาวเคราะห์นี้มีขนาดยาวประมาณ 3,609 ฟุต (1,100 เมตร) และแม้ว่าจะไม่มีอันตรายจากการชนกับโลก แต่ NASA ก็จำแนกมันไว้ในหมู่วัตถุที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งดาวเคราะห์ที่จะอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ความยาวมากกว่า 460 ฟุต (140 ม.) และมีวงโคจรที่พาพวกเขาไปได้ภายใน 7.5 ล้านกม. จากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ตามรายงานของ Asteroid Watch ของ  NASA

อ่านเรื่องราวต่อได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/820003

ตรุกี ซีเรีย รัสเซีย เผชิญภัยหนาวรุนแรงจนสัตว์หลายพันตัวแข็งตาย ทำคนเสียชีวิตจากการติดอยู่ใต้หิมะ

รายงานจากเพจ Earth ตุรกี เผชิญภัยพิบัติหิมะตกหนักในจังหวัด กาเซียนเท็ป ภาคตะวันตกของตุรกี ในบ่ายวันที่ 18-19 มกราคม และเป็นอยู่อย่างนี้นานเป็นสัปดาห์ ทำให้รถบรรทุกและผู้คนกว่า 7,000 คนติดอยู่บนถนนระหว่างเมืองจากการเกิดอุบัติเหตุ และเมืองถูกปิดตายจากหิมะสูง 1 เมตร วัดอุณหภูมิได้ -6 ไปจนถึง -15 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ยังมีการพบสุนัขจิ้งจอกแข็งตาย ฝูงลาที่เกือบแข็งตาย พืชผักสียหาย สัตว์เลี้ยงบางตัวต้องตาย ถนนกลายเป็นน้ำแข็ง ผู้คนติดอยู่บนท้องถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมงท่ามกลางอากาศติดลม และนี่ไม่ใช่ตุรกี ภัยหิมะตกหนักเช่นนี้ยังเกิดขึ้นใน ซีเรีย ปราก รัสเซีย ในช่วงเวลาเดียวกันด้วย

ติดตามต่อได้ที่ https://web.facebook.com/TheEarth4u

อินโดนีเซียย้ายเมืองหลวง หนีการทรุดตัวของเมืองจากการขุดน้ำบาดาลผิดกฎหมาย

วันที่ 18 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา ป่วน มหาราณี (Puan Maharani) ประธานสภาผู้แทนราษฎรอินโดนิเซีย เผยแพร่ประกาศผ่านร่างกฎหมายอนุมัติย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย จากจาการ์ตาไปยังกาลิมันตัน โดยชนะโหวตด้วยคะแนนเสียง 8 ใน 9 เสียง ด้วยเหตุผลหลักคือ เมืองทั้งเมืองกำลังจมบาดาลเพราะการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ และลดการแออัดจากการจราจรที่ติดขัด

จาการ์ตา คือหนึ่งในเมืองนั้นที่ผู้เชี่ยวชาญมีการคาดการณ์ว่าเมืองทางตอนเหนือกรุงจาการ์ตากว่า 95% จะจมใต้บาดาลภายในปี 2050  ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แล้วจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย

มาพูดถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์กันก่อน อินโดนีเซียเป็นประเทศที่แยกตัวออกจากกันเป็นหมู่เกาะเยอะ แต่จาการ์ตา ก็เป็นเมืองที่อยู่ติดกับทะเลชวา และมีแม่น้ำไหลผ่านเมือง ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง และการทรุดตัวของเมืองนั้นเด่นชัดมากขึ้นทุกๆปี จากบ้านเรือนของผู้อยู่อาศัยที่อยู่ติดริมน้ำหรือชายฝั่งเริ่มจมหายไปทีละหลังจากระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการขุดเจาะบาดาล

10 ปีที่ผ่านมา ทางตอนเหนือของจาการ์ตาพื้นดินทรุดตัวลงไปแล้ว 2.5 เมตร และบางส่วนทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่องประมาณ 25 เซนติเมตรต่อปี โดยตอนนี้ครึ่งเมืองเริ่มต่ำกว่าระดับน้ำทะเลแล้วด้วย หลายอาคารบ้านเรือนเริ่มปล่อยทิ้งร้ายจากการทรุดตัว และดูดตัวตึกลงไปยังใต้ดิน ทำให้เกิดการไหลของประชากรไปยังจังหวัดอื่นๆแทน

แต่ผู้คนบางส่วนก็ยินดีที่เมืองหลวงใหม่นี้ดูดีมากกว่าเดิม ดูทันสมัย และหวังให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น อยากให้เศรษฐกิจคึกคักมากขึ้น มีงานกระจายให้ผู้คนมากขึ้น แม้ว่าช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา จะมีการประท้วงถึงความไม่โปร่งใสของรัฐบาลก็ตาม

อ่านบทความการย้ายเมืองหลวงเต็มๆได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/820273

หิมะตกบนทะเลทรายซาฮารา ครั้งที่ 5 ภายในระยะเวลา 42 ปี ส่อปัญหาภาวะโลกรวน

ทะเลทรายซาฮารา เป็นทะเลทรายร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่มากกว่า 8.6 ล้านตารางกิโลเมตร ข้ามแอฟริกาตอนเหนือระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลแดง ส่วนอุณหภูมิปกติของทะเลทรายซาฮาราคือ 58 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน

ทะเลทรายซาฮารามีแนวโน้มที่จะเห็นหิมะตกในระดับสูงมากขึ้น เช่น ในเทือกเขาแอตลาส ปี 2018 นาซาได้แถลงการณ์การสังเกตจากอวกาศ โดยระบุว่า ฝั่งโมร็อกโกของเทือกเขาแอตลาส มีหิมะตกหนักเช่นกันในปี 2005 และ 2012

เมือง Ain Sefra ในทะเลทรายซาฮารามีหิมะตกบ่อยมากขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังหิมะตกอุณหภูมิลดลงติดลบ 2 องศาเซลเซียสในชั่วข้ามคืน โดย 42 ปีที่ผ่านมา มีหิมะตกที่นี่แล้วประมาณ 5 ครั้ง คือในปีค.ศ. 1979, 2016, 2018, 2021 และ 2022 สังเกตุกันไหมว่ามันเริ่มเกิดถี่ขึ้น?

อ่านบทความเต็มๆต่อได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/news/820219

แกะ-แพะในเคนย่ากว่า 20,000 ตัว ตายเพราะสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรง

เคนย่าเกิดเหตุการณ์น่าเศร้า เมื่อวันที่ 18 ม.ค. มีรายงานจากสำนักข่าว DW และ The Earth พบแกะและแพะกว่า 20,000 ตัวล้มตายภายใน 1 สัปดาห์ จากภาวะฝนตกหนัก อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ในเมือง มาร์ซาบิตทางตอนเหนือของเคนย่า เกิดฝนตกหนักอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ซึ่งฝนตกหนักในเคนย่าล่าสุดคือปี 2541 อากาศที่เกิดขึ้นในวันที่ 18 นั้นแหรหรวนจนสัตว์ทนไม่ไหวและเริ่มล้มตายจากภาวะร่างกาอ่อนแอ สร้างความเสียหายแก่ชุมชนผู้เป็นเจ้าของสัตว์เหล่านี้ และในวันที่ 25 ก็นับจำนวนการเสียชีวิตทั้งหมดของสัตว์ได้ 20,000 ตัว

ก่อนหน้านี้ทาง Springnews เคยรายงานภัยแล้งในเคนย่าไปเมื่อปลายปี 2564 ทำสัตว์ล้มตายไปหลายร้อยตัวเช่นกันและประชาชนขาดแคลนอาหารรุนแรง สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนในเคนย่าว่า สภาพอากาศแปรปรวนรุนแรงขนาดไหน เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว จนสัตว์เริ่มรับมือไม่ไหวและล้มตายไป

อ่านบทความภัยแล้งในเคนย่าได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/news/817199

น้ำมันดิบรั่วกลางทะเลระยอง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ

จากเหตุการณ์  น้ำมันดิบรั่ว กลางทะเลระยอง 400,000 ลิตรนั้น ถือเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ต้องเร่งสกัดเก็บกวาดให้เร็วที่สุดก่อนจะขึ้นไปชายหาด เพราะจะยากต่อการทำความสะอาด และแน่นอนว่าการรั่วไหลในทะเลนั้น เป็นมลพิษทางน้ำต่อสัตว์ทะเลแน่นอน รวมถึงอาจกระจายไปยังบนหาดและนกบริเวณดังกล่าวได้ด้วย

ความกังวลหลายด้านหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ส่งผลกระทบทางตรงต่อระบบนิเวศ แม้จะไม่เกิดขึ้นในทันที แต่ก็จะยังคงอยู่ระยะยาวและค่อยๆซึมลึกสู่ใต้น้ำและหาดทรายจากสารพิษตกค้าง อีกทั้งการกำจัดไม่ง่ายที่จะขจัดให้หมดจดในคราวเดียว

หนึ่งแผลใหญ่ของเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งหนึ่ง คือการรั่วไหลของน้ำมันในแคลิฟอร์เนียทำให้สัตว์ป่าเสียชีวิตและคุกคามพื้นที่คุ้มครอง สำหรับในประเทศไทย เคยเกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วครั้งใหญ่อยู่ 2 ครั้งคือ เมื่อปี 2544 ท่อขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ว จำกัด ท่าเรือมาบตาพุด ระยอง และปี 2548 บริเวณทุ่นผูกเรือ SBM ของบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อ.ศรีราชา ชลบุรี

วิธีการกำจัดมีอยู่หลายวิธี เช่น การปล่อยให้สลายไปตามธรรมชาติ (ต้องคำนึงถึงสิ่งที่รั่วไหล และยากที่จะใช้วิธีนี้ได้) การกักเก็บ การใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน (ไทยใช้วิธีนี้) การเผา และการทำความสะอาดชายฝั่ง

อ่านผลกระทบของน้ำมันดิบรั่วต่อได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/820393

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000003784

https://www.winknews.com/2022/01/22/national-weather-service-now-says-6-tornadoes-struck-southwest-florida-last-week/

https://web.facebook.com/TheEarth4u

related