svasdssvasds

เสาร์อาทิตย์ เราได้วันหยุดสุดสัปดาห์ 2 วันนี้มาได้อย่างไร?

เสาร์อาทิตย์ เราได้วันหยุดสุดสัปดาห์ 2 วันนี้มาได้อย่างไร?

ชวนรู้จักประวัติศาสตร์ของวันหยุดสุดสัปดาห์อย่างวันเสาร์อาทิตย์ 2 วันนี้เราได้มาอย่างไร ใครเป็นคนริเริ่ม เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ชวนหาคำตอบได้ในบทความนี้

Highlight เรื่องราว

  • ประวัติของเสาร์อาทิตย์
  • ปัจจัยที่ทำให้มีวันหยุด
  • เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของการลุกฮือของกลุ่มแรงงาน

สุขสันต์วันแรงงาน วันหยุดที่ใครหลายๆคนชื่นชอบ เราจะได้มีเวลาไปทำในสิ่งที่ชอบ หรือใช้เวลาพักผ่อนไปกับคนรัก ครอบครัว เพื่อนฝูง แต่เคยมีใครสงสัยหรือไม่ว่า วันหยุดสุดสัปดาห์ของมนุษย์เหล่านี้ ใครเป็นคนริเริ่ม แล้วทำไมต้องเป็นวันเสาร์กับวันอาทิตย์ด้วยล่ะ Springnews ชวนไปหาคำตอบ แต่แอบกระซิบบอกไว้ก่อนว่า เรื่องนี้ต้องขอบคุณกลุ่มแรงงานในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนะ

ประวัติของเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดสุดสัปดาห์สุดฮิต

สังคมมนุษย์จะเป็นอย่างไร ถ้าเกิดเราเรียนในโรงเรียนแค่ 2 วันต่อสัปดาห์ หรือจะเป็นอย่างไร ถ้าโรงงานดำเนินการผลิตสินค้าแค่ 2 วันต่อสัปดาห์ มันคงจะเป็นอะไรที่แปลกสำหรับมนุษย์ในยุคนี้แน่ ๆ เลย หรืออาจจะไม่แปลกกันนะ? คุณเชื่อไหมว่าการเริ่มต้นใช้ชีวิตในวันหยุดแบบนี้ไม่ได้มีมานานอย่างที่คิด แต่ว่ามันเริ่มมาเพียงไม่ถึง 100 ปีที่แล้วนี่เอง แต่เริ่มจากการหยุดงานเพียง 1 วันต่อสัปดาห์ก่อน

สาเหตุของการได้วันหยุดเสาร์อาทิตย์มานั้น มี 3 ปัจจัยด้วยกันดังนี้

ปัจจัยของยุคสมัย

ประวัติศาสตร์ของจุดเริ่มต้นวันหยุด 2 วันต่อสัปดาห์นั้น เริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 1800 ย้อนไปในยุคที่ยังมีการทำเกษตรเป็นหลักและกำลังก้าวเปลี่ยนสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม การทำงานในยุคของการเกษตรดั้งเดิมนั้นเป็นอะไรที่เราต้องรอช่วงฤดู ซึ่งการพักผ่อนจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ตามพืชผลที่ต้องเก็บเกี่ยว ตามฤดูกาลหรือตามใจเจ้าของฟาร์มเกษตร

การทำฟาร์มในอลาสกา Cr.www.nrcs.usda.gov แต่พอมนุษย์เริ่มก้าวผ่านยุค มีความต้องการตลาดแรงงานในภาคส่วนของอุตสาหกรรมมากขึ้น การเดินออกจากโรงนาเพื่อมามาเข้าโรงงานจึงมีมากขึ้น ตามอุปสงค์ของตลาดในช่วงเวลานั้น หรือก็คือแนวคิดของวันหยุดสุดสัปดาห์ 2 วันเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โรงงานขนาดใหญ่ที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคได้เริ่มเปลี่ยนเศรษฐกิจเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เกษตรกรรมดั้งเดิมถูกทำให้กลายเป็นอุตสาหกรรมแทน

แต่ด้วยนิสัยหรือการทำงานที่ยังติดการทำนาทำการเกษตรอยู่ ก็เริ่มมีเสียงพร่ำบ่นว่าไม่ชอบทำงานในบางชั่วโมง เนื่องจากความเคยชินกับตารางเวลาของตนเองในฟาร์ม และพวกเขาไม่ชอบความจริงที่ว่า เจ้าของโรงงานจำนวนมากบังคับให้พวกเขาต้องทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเองก็อยากมีเวลาไปพักผ่อนกับครอบครัว

จากเสียงพร่ำบ่นเล็ก ๆ น้อย ๆ เริ่มลามไปสู่การประท้วงของกลุ่มแรงงานทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา ที่นัดกันหยุดงานเพื่อมาประท้วงขอวันหยุดเพิ่ม เป็นการกดดันนายจ้างของตนเอง ซึ่งในระหว่างการประท้วงครั้งนั้นก็เกิดความตึงเครียดระหว่างผู้บังคับใช้กฎหมาย นายจ้างและผู้ประท้วง ทุกวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น และน่าเศร้างกว่า เพราะเหตุการณ์ครั้งนั้นมีความรุนแรงจนมีผู้คนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่การประท้วงครั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มประท้วงนั้นประสบความสำเร็จในการเรียกร้องความต้องการวันหยุด ผู้เขียนอยากให้ดูปัจจัยอื่นๆประกอบก่อน เพราะนี่ไม่ใช่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

โรงงานในยุตปฏิวัติอุตสาหกรรม Cr.www.politics-dz.com

ปัจจัยทางศาสนา

ในยุคของศตวรรษที่ 1800 และเหตุผลส่วนใหญ่อ้างอิงมาจากเหตุผลนี้มากที่สุด ในยุคที่ประเพณีตามศาสนานั้นกำลังแกร่งกล้า ซึ่งส่วนใหญ่ต้องไปทำความเข้าใจประเพณีทางศาสนาของชาวคริสเตียนและชาวยิวเสียก่อน

ในสมัยก่อนประเพณีทางศาสนาแต่ละศาสนาไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ชาวมุสลิมมักจะพักผ่อนในวันศุกร์ ในขณะที่ชาวยิวจะมีธรรมเนียมหยุดทางศาสนาในวันเสาร์ และชาวคริสต์จะพักผ่อนในวันอาทิตย์เพื่อเข้าโบสถ์ แนวคิดนี้ทำให้การดำเนินการขอวันหยุดเริ่มง่ายขึ้นด้วยการนำศาสนามาอ้างอิง สืบเนืองจากปัจจัยข้อแรกที่กล่าวไปข้างต้น

ประเพณีทางศาสนานั้นมีมาช้านาน เมื่อมนุษย์เริ่มเดินข้ามผ่านยุคสมัยสู่อุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้คุ้นเคยกันมากนัก การปรับตัวทั้งธรรมเนียมทางศาสนา การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ทำให้มีการถกเถียงถึงความเหมาะสมและความเท่าเทียมมมากขึ้น โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งมีความต้องการแรงงานจำนวนมาก ประจวบกับในยุคนั้นการอพยพของชาวยิวเข้าเมืองมาจำนวนมากและมีความต้องการที่จะหยุดวันเสาร์ตามธรรมเนียม และธรรมเนียมเดิมของชาวคริสต์ที่มักมีวันหยุดเป็นวันอาทิตย์

เวลาผ่านไป เจ้าของโรงงานเริ่มตระหนักว่า การปล่อยคนพักผ่อนทั้งในวันเสาร์และวันอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของคนงานในโรงงานที่เป็นชาวยิวกับชาวคริสเตียนที่ยังไม่ชินกับการทำงานรูปแบบใหม่ งั้นลองไปดูปัจจัยต่อไปดูว่าจะสำเร็จได้อย่างไร

ปัจจัยจากธุรกิจส่วนบุคคล

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 1900 เจ้าของโรงงานชื่อดังอย่าง Henry Ford มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เราได้วันหยุดเสาร์-อาทิตย์นี้มา แม้ว่ารัฐบาลกลางยังไม่ได้เริ่มจำกัดบริษัทต่างๆที่จะกำหนดให้พนักงานหรือแรงงานใต้การควบคุมทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง และจากการประท้วงและความขัดแย้งของธรรมเนียมทางศาสนาทำให้ฟอร์ดเริ่มคิดบางอย่างได้

Henry Ford เจ้าของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ Ford Motor Company ที่กลายมาเป็นแบรนด์รถยนต์ Ford ในทุกวันนี้ Cr.www.thefamouspeople.com

จนปี 1938 ฟอร์ดเริ่มลองให้คนงานในโรงงานของเขามีวันหยุดสัปดาห์ละ 2 วัน ทำให้นายจ้างหลายๆบริษัทสงสัยว่าเขาทำแบบนั้นไปเพื่ออะไร แล้วเขาจะได้อะไรจากการให้อภิสิทธิ์พนักงานขนาดนั้น

บริษัทของฟอร์ด เป็นบริษัทที่ผลิตรถยนต์ ฟอร์ดต้องการขายรถที่คนงานของเขาเป็นคนทำ ซึ่งฟอร์ดตระหนีกได้ว่าลูกค้าที่ดีที่สุดคือคนงานของเขาเอง ถ้าเขาอยากได้ยอดขายรถเพิ่ม เขาจึงตัดสินใจได้ว่าคนงานของเขาต้องการเวลาพักผ่อนเพื่อที่จะสามารถขับรถและสนุกกับมันได้

หลายบริษัทเริ่มเห็นโมเดลของฟอร์ด และได้รับรู้ถึงประสิทธิภาพของการทำงานของแรงงานมากขึ้นจึงเริ่มทำตามบ้างและก็ได้รู้ว่ามันได้ผลตอบรับดีเยี่ยม พนักงานได้มีเวลาหายใจหายคอจากงาน มีช่วงเวลาผ่อนคลาย ทำให้การทำงานในเวลาที่เหลือนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่างจากการทำงานอันแสนอิดโรยที่รอให้แต่ละวันรีบหมดๆไปอย่างไร้ความหวังที่จะได้พัก

เราต้องขอบคุณทั้ง กลุ่มแรงงานที่สละเวลา สละชีวิต ความกล้าหาญในการออกมาประท้วงสิทธิในการใช้ชีวิตอย่างสมดุล รวมไปถึงธรรมเนียมทางศาสนาของชาวคริสต์และชาวยิว และต้องขอบคุณ Henry Ford ที่ทำให้เรามีวันหยุดเสาร์อาทิตย์มาจนถึงทุกวันนี้

ข้อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงงานทั่วโลก

กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ สังคมมนุษย์ของเรามีการต่อสู้ในด้านของการใช้แรงงานมาอย่างยาวนาน ประวัติศาสตร์การต่อสู้และปัญหาการกดขี่นั้น แน่นอนว่ามันเคยเกิดขึ้น แน่นอน มันเคยเกิดขึ้นในยุคที่ยังมีการแบ่งชนชั้นหรือมีคนคุมบังเหียนคนอยู่ เสรีภาพมันไม่ได้ผุดขึ้นง่ายเหมือนดอกเห็ด บทความส่งท้ายนี้จะเป็นการกล่าวถึงการต่อสู้ภาคแรงงานต่อการกดขี่ของนายจ้างในฉบับสั้น เพื่อให้การต่อสู้ของพวกเขานั้นไม่เสียเปล่า และทำให้เรามีสิทธิมีเสียงในการทำงานทุกวันนี้

หลังสงครามกลางเมือง สหรัฐอเมริกาเข้าสู่ช่วงใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรม เจ้าสัวรถไฟเริ่มรวบรวมและขยายเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ โรงงานต่างๆ ต้องการวัตถุดิบเพื่อขับเคลื่อนสายการผลิตที่ใช้เครื่องจักรมากขึ้น แอนดรูว์ คาร์เนกีใช้แนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการในแนวดิ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตเหล็ก เพื่อที่เขาจะได้ควบคุมคุณภาพและผลกำไรตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งที่เกิดในสหรัฐฯ และผู้อพยพจากทั่วทุกมุมโลกต่างรับงานอันตรายด้วยค่าจ้างต่ำ

เมื่ออุตสาหกรรมก้าวเร็วขึ้น และผลกำไรสะสมอยู่ในมือของคนไม่กี่คน คนงานบางคนเริ่มจัดตั้งและสนับสนุนการรวมตัวเป็นสหภาพ คนงานต้องการกฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่มากขึ้น ค่าแรงที่ดีขึ้น ชั่วโมงที่น้อยลง และเสรีภาพในการพูดและการชุมนุม แต่บริษัทส่วนใหญ่คัดค้านอย่างรุนแรงต่อสหภาพแรงงาน โดยโต้แย้งเรื่องสิทธิในการควบคุมทรัพย์สินส่วนตัวของตน และดำเนินธุรกิจโดยไม่มีการแทรกแซง นักอุตสาหกรรมจ้างยามเฝ้าดูแลคนงาน และขึ้นบัญชีดำสหภาพแรงงานที่รู้จัก และนี่คือตัวอย่างเหตุการณ์การประท้วงของแรงงานที่เคยเกิดขึ้นทั่วโลก

4 ธันวาคม 1874

แรงงานเหมืองในเพนซิลเวเนียถูกลดค่าจ้าง คนงานเหมือง 10,000 คนจึงหยุดงานประท้วง กลุ่มคนงานเหมืองซึ่งเป็นชาวไอริชส่วนใหญ่ วางแผนโจมตีและใช้ความรุนแรงกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและหัวหน้าคนงาน 20 คน โดยถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในเวลาต่อมา

14 กรกฎาคม 1877

Great Railroad Strike เริ่มต้นขึ้นในเมืองมาร์ตินส์เบิร์ก รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย เมื่อบริษัทรถไฟในบัลติมอร์และโอไฮโอลดค่าจ้างเป็นครั้งที่สองในปีนั้น การนัดหยุดงานได้แพร่กระจายไปยังรัฐอื่นๆ และกองกำลังติดอาวุธของรัฐถูกระดมกำลัง ส่งผลให้เกิดการปะทะนองเลือดหลายครั้ง คนงานอย่างน้อย 10 คนเสียชีวิตในคัมเบอร์แลนด์ รัฐแมริแลนด์

12 พฤษภาคม 1902

คนงานเหมืองในภาคตะวันออกของเพนซิลเวเนียนัดหยุดงานเพื่อวันทำงานที่สั้นลง ค่าแรงที่สูงขึ้น และการรับรอง UMWA ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลต์ขู่ว่าจะเข้ายึดเหมืองพร้อมกับกองทหารรักษาการณ์ บังคับให้ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่เต็มใจต้องเจรจา การจู่โจมถ่านหินแอนทราไซต์ในปี 1902 จบลงด้วยการจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 10% สำหรับนักขุดส่วนใหญ่

เหตุการณ์การลุกฮือของแรงงานคงไม่สามารถนำมาเขียนอธิบายหมดได้ในบทความนี้ หากอยากอ่านหรือศึกษาเพิ่มเติมสามารถตามไปอ่านได้ที่ >>> American Experience

เสาร์อาทิตย์ เราได้วันหยุดสุดสัปดาห์ 2 วันนี้มาได้อย่างไร? สรุปจากผู้เขียน

เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการลุกฮือกลุ่มแรงงานที่เคยเกิดขึ้นบนโลกนี้และผ่านความเป็นความตาย ก้ามข้ามศพมาหลายคน เพื่อเรียกร้องสิทธิกันควรได้ของตนอย่างเท่าเทียม ในปัจจุับนกฎหมายได้ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพสังคมมากขึ้น แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่า อาจจะยังไม่เพียงพอในบางสายอาชีพและบางปัจจัยแวดล้อม 

การใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมายและไม่เป็นธรรมยังมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก แม้ว่ากฎหมายจะถูกกำหนดมาให้ผู้คนได้รับทราบหรือเกรงกรัว แต่ก็ไม่ได้ผลกับคนบางกลุ่ม โลกนี้ยังมีความอยุติธรรมอยู่มาก แม้เราจะได้รับสิทธิเสรีภาพไปมากกว่าอดีตแล้ว แต่นั่นก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งความเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่มได้

ที่มาข้อมูล

https://wonderopolis.org/wonder/who-invented-weekends

https://www.bbc.com/worklife/article/20200117-the-modern-phenomenon-of-the-weekend

https://www.pbs.org/wgbh/americanexperience/features/theminewars-labor-wars-us/

related