svasdssvasds

"ภาษีที่ดิน" เรื่องที่ทำให้เศรษฐีเปลี่ยนที่ว่างเปล่ามาปลูกผัก

"ภาษีที่ดิน" เรื่องที่ทำให้เศรษฐีเปลี่ยนที่ว่างเปล่ามาปลูกผัก

กลายเป็นที่พูดถึงบนโลกออนไลน์เมื่อบริษัทใหญ่ ๆ หรือเจ้าของที่ดินใหญ่ ๆ ระดับร้อยล้าน-พันล้าน เปลี่ยนที่ดินว่างเปล่า มาปลูกต้นไม้ เพื่อให้ภาษีที่ดินถูกลง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือที่เราเรียกติดปากว่า ภาษีที่ดิน เป็นภาษีที่เก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีเพื่อ กระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และเพื่อบำรุง-เพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่น นอกจากงบส่วนกลาง โดยแม้เรามีบ้านพร้อมที่ดิน เราก็ยังต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

สำหรับใครที่มีที่ว่างเปล่า ไทยก็มีการจัดเก็บในอัตราที่สูงกว่าที่ดินที่มีการนำไปทำประโยชน์อื่น ๆ ดังนั้นจึงเป็นที่มาให้เจ้าของที่ใหญ่ ๆ แพง ๆ เปลี่ยนที่ว่างเปล่ามาเป็นสวน-ไร่

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

มีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 1.2% แต่จะปรับเพิ่มอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตรารวมไม่เกิน 3%

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือ ที่ดินที่ใช้สำหรับการทำนา ไร่ สวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด และมีกำหนดเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15%

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 – 500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

 

ซึ่งหากเที่ยบกับตารางดังกล่าว ถ้าคิดแบบเร็ว ๆ เรามีที่ดินว่างเปล่า มูลค่า 100 ล้านบาท เราต้องเสียภาษี 4 แสนบาท แต่ถ้าเอาไปปลูกผัก-ผลไม้ตามเกณฑ์ เราจะเสียภาษีที่ดิน 5 หมื่นบาท

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

 

การเปลี่ยนที่ว่างเปล่ามาปลูกผักไม่ใช่ว่าปลูกต้นเดียวก็ลดภาษีได้

"ภาษีที่ดิน" เรื่องที่ทำให้เศรษฐีเปลี่ยนที่ว่างเปล่ามาปลูกผัก

มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการนับว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินสำหรับทำการเกษตรเพื่อให้เชื่อได้ว่าที่ดินนั้นถูกนำมาทำการเกษตรจริง โดยต้องเข้าเกณพ์ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  • กล้วย ไม่ว่าจะกล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า  200 ต้น/ไร่
  • มะม่วง มะพร้าว เงาะ 20 ต้น/ไร่
  • มะละกอ ปลูกแบบยกร่อง 100 ต้น/ไร่ ปลูกแบบไม่ยกร่อง 175 ต้น/ไร่
  • มะนาว 50 ต้น/ไร่
  • ฝรั่ง  45 ต้น/ไร่
  • ผลไม้ตระกูลส้มต่างๆ ได้แก่ ส้มโอ ส้มโอเกลี้ยง ส้มตรา ส้มเขียวหวาน ส้มจุก  45 ต้น/ไร่
  • ขนุน  25 ต้น/ไร่
  • หน่อไม้ไผ่ตง 25 ต้น/ไร่
  • ลางสาด ลองกอง 45 ต้น/ไร่
  • ยางพารา 80 ต้น/ไร่
  • ลิ้นจี่ ลำไย 20 ต้น/ไร่
  • มังคุด 16 ต้น/ไร
  • พุทรา 80 ต้น/ไร่

กรณีเลี้ยงปศุสัตว์

  • โค กระบือ พื้นที่คอกหรือโรงเรือน ขนาด 7 ตารางเมตรต่อตัว การใช้ที่ดิน 1 ตัวต่อ 5 ไร่
  • เลี้ยงแพะ-แกะ พื้นที่คอกหรือโรงเรือนขนาด 2 ตารางเมตรต่อตัว การใช้ที่ดิน 1 ตัวต่อไร่
  • สุกร พ่อพันธุ์ คอกเดี่ยว พื้นที่คอกหรือโรงเรือน ขนาด 7.5 ตารางเมตรต่อตัว
  • สุกรแม่พันธุ์ คอกเดี่ยว พื้นที่คอกหรือโรงเรือนขนาด 1.5 ตารางเมตรต่อตัว
  • สุกรอนุบาล พื้นที่คอกหรือโรงเรือนขนาด 0.5 ตารางเมตรต่อตัว
  • สุกรขุน พื้นที่คอกหรือโรงเรือนขนาด 1.5 ตารางเมตรต่อตัว
  • สัตว์ปีก เลี้ยงปล่อย (เป็ดและไก่) 4 ตารางเมตรต่อตัว