svasdssvasds

มอลตาจมเรือบรรทุกน้ำมัน ให้เป็น แนวปะการังเทียม ฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล

มอลตาจมเรือบรรทุกน้ำมัน ให้เป็น แนวปะการังเทียม ฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล

มอลตา เพิ่งมีการจมเรือบรรทุกน้ำมัน ที่ไม่ใช้แล้ว และหมดอายุการใช้งานลำนี้ ได้กลายเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล (Marine ecosystem) และมุ่งเน้นให้เป็นการ keep the world ในอนาคตด้วย

มอลตา ประเทศเล็กๆในยุโรป (เกาะเล็กๆที่อยู่ทางตอนใต้ของอิตาลี) เพิ่งมีการจมเรือบรรทุกน้ำมันความกว้าง 60 เมตร และหนัก 855 ตัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ เรือบรรทุกน้ำมัน ที่ไม่ใช้แล้ว และหมดอายุการใช้งานลำนี้ ได้กลายเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล (Marine ecosystem) และมุ่งเน้นให้เป็นการ keep the world ในอนาคตด้วย 

สำหรับ เรือบรรทุกน้ำมันลำนี้ เกยตื้น ที่ทะเลมอลตา มาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว และเมื่อประเมินแล้วพบว่าค่าซ่อม มีราคาแพงเกินไป ดังนั้นทาง มอลตา จึงตัดสินใจที่จะ จมเรือ ลำนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในแง่มุมอื่นๆ เช่นกัน เป็นปะการังเทียม 

โดย เรือบรรทุกน้ำมัน ลำนี้ จะถูกจมลงในบริเวณ ทะเลโกโซ , เพื่อดึงดูดนักดำน้ำจากทั้งในและต่างประเทศ และเมื่อเวลาได้ทำหน้าที่ของมันอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ความงามของมันจะเรียกร้องความความสนใจจากผู้ที่มีใจรักอนุรักษ์ความสวยงามทางทะเลเอง พร้อมๆกับการเป็นสถานที่ที่เป็นประโยชน์ในฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล ของมอลตา ด้วยอีกทางหนึ่ง
.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ ไอเดียการ จมเรือ เพื่อมาเป็น แนวปะการังเทียม ไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลก และหลายๆประเทศก็ทำกัน หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน  ก็จะมีตัวอย่างในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

มอลตาจมเรือบรรทุกน้ำมัน ให้เป็น แนวปะการังเทียม ฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล  Credit ภาพจาก Xinhua ​​​​​​​

หากย้อนไปในปี 2011 (พ.ศ.2554) กองทัพเรือไทย เพิ่งใช้ เรือรบ ที่ปลดประจำการแล้ว คือ 1. เรือหลวงปราบ และ 2.เรือหลวงสัตกูด มาเป็นแนวปะการังเทียม ที่ เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเกาะง่ามน้อย จังหวัดชุมพร และเมื่อเวลาผ่านไปเพียง 1 ปี นับจากวันที่วางแนวปะการังเทียม ผลการศึกษาพบว่าไม่พบผลกระทบต่อพื้นท้องทะเล 
.

สำหรับสัตว์เกาะติดและปลาทะเลยังคงมีสภาพเดิม รวมทั้งได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสัตว์เกาะติดและประชากรปลา หลังจากผ่านไป 1 ปี พบว่ามีปลาเพิ่มมากกว่า 40 ชนิด และปัจจุบัน พบว่ามีชนิดของปลาเพิ่มขึ้น 60-70 ชนิด โดยเฉพาะบริเวณ เรือหลวงปราบ จะพบฉลามวาฬได้อย่างสม่ำเสมอ สำหรับสัตว์เกาะติด มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ฟองน้ำเคลือบ และปะการังดำซึ่งเป็นสัตว์พันธุ์เด่น (Dominant Species)  

มอลตาจมเรือบรรทุกน้ำมัน ให้เป็น แนวปะการังเทียม ฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล  Credit ภาพจาก Xinhua


ปัจจุบัน เรือหลวงปราบและเรือหลวงสัตกูด ได้กลายเป็นแหล่งดำน้ำที่คนทั่วโลกรู้จัก ความอุดมสมบูรณ์ของบรรดาสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดที่เข้ามาอาศัยบริเวณเรือ

รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทย มี แนวปะการังเทียม ที่เกิดจากการจมเรือ อยู่ที่ 14 แนวปะการังเทียม โดยข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุไว้ว่า มี เรือกองทัพเรือที่ปลดระวาง ถูกวางไว้เป็นแนวปะการังเทียม เพื่อจัดทำแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน  อาทิ  ชลบุรี ,ชุมพร , สุราษฎร์ธานี , ระยอง , กระบี่ , ตราด , พังงา 

related