svasdssvasds

การรีไซเคิลไม่ใช่ความยั่งยืนที่แท้จริง การลดขยะ ต่างหากที่เป็นไปได้

การรีไซเคิลไม่ใช่ความยั่งยืนที่แท้จริง การลดขยะ ต่างหากที่เป็นไปได้

ผู้อำนวยการ GCNT จาก UN เผย ไทยจะสร้างความยั่งยืนได้ ต้องเริ่มที่ความเข้าใจที่แท้จริง เช่น การรีไซเคิลไม่ใช่แนวทางของความยั่งยืน เพราะจะทำให้เกิดการผลิตเพิ่มมากขึ้น

มีไม่กี่คนเท่านั้นที่จะเข้าใจว่า การรักษ์โลกที่แท้จริง ไม่ใช่การที่เราขับรถยนต์ไฟฟ้า หรือการมีกระบวนการรีไซเคิล การทำให้ประเทศหรือโลกเรายั่งยืนได้อย่างแท้จริงคือ การที่เราจะต้องลดการใช้งาน ใช้ซ้ำและไม่ใช้เลยต่างหากคือความยั่งยืนที่แท้จริง

วันนี้ 30 มีนาคม 2566 กรุงเทพธุรกิจ ได้เปิดเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era ณ ห้องรอยัลมณียา บอลรูม ชั้น M โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์

ในช่วงของการพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นในหัวข้อ Go Green : Global Overview, Go Green : นโยบายรัฐ, Carbon Market : New Economy และ Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว โดยวิทยากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายระดับโลก

สำหรับช่วงของคุณธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ UN Global Compact Network Thailand ผู้มองเห็นและอยู่กับภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คุณธัยพรได้กล่าวว่า ความยั่งยืนที่เราเป็นอย่างตอนนี้ที่มันยังไม่สามารถประสบความสำเร็จหรือเป็นไปได้ยาก มันเป็นเพราะเราขาดความเห็นชอบหรือความเห็นร่วม

ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ UN Global Compact Network Thailand

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนที่วางเอาไว้ของเราจะเป็นไปไม่ได้หากขาดความเข้าใจที่แท้จริง เช่น พนักงานไม่เชื่อไม่เข้าใจว่าทำไมบริษัทจะต้องเปลี่ยนนู่นนี่ให้มันมีต้นทุนเพิ่ม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ความจริงใจจึงเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น เราต้องเร่งแก้ไขด้านการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่ทำ Recycle แต่ต้องเริ่มจาก Reduce หรือการลด

ผู้บริโภคและผู้ผลิตต้องเข้าใจและตัดสินใจไปในทิศทางเดียวกัน สื่อเองก็จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นและชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น Zero Waste Mindset คือสิ่งสำคัญ การรีไซเคิลไม่ใช่แนวทางของความยั่งยืน เพราะมันจะก่อให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะเราคิดว่าเรากำจัดมันได้

ซีอีโอในฐานะผู้นำ จะต้องนำพาธุรกิจของท่านไปสู่ความยั่งยืน 93% ของซีอีโอทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายระดับโลก รู้หรือไม่ว่าทะเลทั่วโลกกำลังเป็นกรดมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการคาดการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม เรารู้แค่ว่าหายนะกำลังจะเกิดแต่จะพลิกแพลงยังไงเราไม่รู้ สิ่งสำคัญของเรื่องนี้ คือ การปรับตัว Adaptation เช่น พันธุ์ของพืชผักผลไม้จะอยู่รอดได้อย่างไรหากวิกฤตเหล่านี้มันเกิดขึ้น เราจะปรับเปลี่ยนพันธุ์ของมันหรือไม่ นี่คือสิ่งที่เราควรคิด

การรีไซเคิลไม่ใช่ความยั่งยืนที่แท้จริง การลดขยะ ต่างหากที่เป็นไปได้

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) เป็นสิ่งที่ประเทศไทยของเราได้เปรียบ ต่างประเทศเดินทางมาไทยเพราะมีความหลากหลาย ทั้งธรรมชาติที่สวยงามสมบูรณ์ เรามีอาหารที่อร่อยและหลากหลาย นี่คือสิ่งที่ประเทศของเขาไม่มีและเขาอยากเข้ามาลอง เราก็ควรสร้างความยั่งยืนในด้านนี้ด้วย

ขยะที่เอามาเผาเป็นพลังงาน ไม่ใช่แนวทางที่เขียวจริง ธนาคารก็ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ก่อนจะอนุมัติด้วย ไทยเราเคยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากไต้หวัน แต่ปัจจุบัน บริษัทใหญ่หลายแห่งเริ่มมองหาฐานการผลิตใหม่ ๆ ที่มีต้นทางของวัตถุดิบการผลิตรวมถึงการขนส่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด ดังนั้น Supply Chain เราจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่งั้นไม่สามารถแข่งขันได้

การรีไซเคิลไม่ใช่ความยั่งยืนที่แท้จริง การลดขยะ ต่างหากที่เป็นไปได้ Green Job ก็กำลังมาแต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเราขาดนักวิเคราะห์ในสายอาชีพนี้ เช่น การทำความเข้าใจจริง ๆ ว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เราจะไม่สามารถเป็น Carbon Neutrality ได้เลย ถ้าทุกวันนี้เรายังเสียบปลั๊กจากเต้าเสียบของการไฟฟ้า เรามี Loss และ Cost ที่สูงมาก

สิ่งที่นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการสามารถทำได้เลยตอนนี้ง่าย ๆ คือ การขายที่ไม่เน้นปริมาณ แต่เน้นที่การเพิ่มมูลค่าของสินค้า ด้วยการสร้างเรื่องราว และต้องทำการตลาดในเรื่องของ Carbon Footprint

ท้ายที่สุดนี้ อุปสรรคสำคัญคือความเข้าใจอย่างแท้จริง ไฟฟ้าที่เราใช้ไม่ได้เป็น Carbon Neutral ไทยได้เปรียบเรื่องพลังงานธรรมชาติ เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เราต้องคอยเช็กต้นทางด้วยว่าต้นทางของพลังงานหรือของที่เราซื้อลดคาร์บอนได้จริง ๆ ไหม การใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็ไม่ได้ทำให้เราดูเท่ ดูเป็นคนรักษ์โลก หากเรายังกลับไปบ้านและเสียบไฟฟ้าที่มาจากพลังงานถ่านหินอยู่

related