svasdssvasds

นับถอยหลัง 10 ปี โลกเดือดจะทำน้ำแข็งทะเลอาร์กติกหายไปแน่ไม่เกินปี 2050

นับถอยหลัง 10 ปี โลกเดือดจะทำน้ำแข็งทะเลอาร์กติกหายไปแน่ไม่เกินปี 2050

หยุดไม่อยู่แล้ว! การศึกษาใหม่เผย โลกเดือดจะทำให้น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกหายไปจนหมดสิ้น ไม่เกินปี 2050 นับถอยหลังไปได้เลยอีก 10 ปีต่อจากนี้เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงแน่

หลายคน โดยเฉพาะในแถบเอเชียอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าถ้าโลกเราปราศจากน้ำแข็งหรือธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในแถบขั้วโลก จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง จะกระทบกับมนุษย์เขตร้อนแบบเราอย่างไร? นี่อาจเป็นหนึ่งกุญแจของคำถามดังกล่าว

งานวิจัยใหม่คาดการณ์ว่า น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกอาจหายไปในระหว่างปี 2030-2050 เร็วกว่าที่ IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Intergovernmental Panel on Climate Change) คาดการณ์ แม้ว่ามนุษย์จะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลงได้ก็ตาม

นับถอยหลัง 10 ปี โลกเดือดจะทำน้ำแข็งทะเลอาร์กติกหายไปแน่ไม่เกินปี 2050 การศึกษาที่ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Nature Communications โดยศาสตราจารย์ Seung-Ki Min และศาสตราจารย์วิจัย Yeon-Hee Kim จากแผนกวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรมศาสตร์ที่ Pohang University of Science และ เทคโนโลยี (POSTECH) และทีมนักวิจัยร่วมจาก Environment Climate Change Canada และ Universität Hamburg ประเทศเยอรมนี

การศึกษาชิ้นนี้เผยว่า มีความเป็นไปได้อย่างมากที่บริเวณอาร์กติกจะปราศจากน้ำแข็งในช่วงระหว่างปี 2030-2050 เนื่องจากนับตั้งแต่โลกนิยามคำว่า "ภาวะโลกร้อน" ขึ้นครั้งแรก ในปี 1988 โลกก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่อาร์กติก ที่อุณหภูมิในพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

การลดลงของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกกระตุ้นให้อาร์กติกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลต่อความถี่การเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่จะเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคละติจูดกลาง

Cr. POSTECH / NATURE COMMINICATIONS จากรูปภาพกราฟดังกล่าว เส้นสีดำคือ การคาดการณ์แบบจำลองดิบของทีมวิจัย ส่วนเส้นสีแดง น้ำเงิน และเขียว เป็นการคาดการณ์แบบจำลองที่ถูกจำดักโดยชุดข้อมูลดั้งเดิม จะเห็นได้ว่า เส้นสีดำจะอยู่เหนือเส้นที่เหลือทั้ง 3 สี หมายความว่า น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกทั้งหมดจะหายไปในช่วงปี 2030 ก็ได้ หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นเท่ากับอัตราการปล่อยในปัจจุบัน และถึงแม้ว่าในช่วงระหว่างนี้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้า อาร์กติกก็จะยังคงหายไปอยู่ดีไม่เกินปี 2050

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทีมวิจัยได้ลองวิเคราะห์ข้อมูล 41 ปี ตั้งแต่ปี 1979-2019 เพื่อคาดการณ์ระยะเวลาที่น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะหมดลง และจากการวิเคราะห์ ผลลัพธ์ยังยืนยันคำตอบเดิม คือ สาเหตุหลักของการทำให้น้ำแข็งอาร์กติกลดลงมาจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น ตลอด 41 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวยังเผยว่า แบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่ใช้ในการพยากรณ์ของ IPCC ก่อนหน้านี้ประเมินแนวโน้มการลดลงของพื้นที่น้ำแข็งในทะเลต่ำเกินไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกอาจหายไปอย่างสมบูรณ์ในปี 2050 แม้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลงก็ตาม

ผลกระทบหากน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกหายไป

แน่นอนว่าจะส่งผลต่อสภาพอากาศในอาร์กติกให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง แต่แท้จริงแล้ว มันส่งผลกระทบกว้างกว่านั้น นั่นคือสังคมมนุษย์และระบบนิเวศทั่วโลก

แน่นอนว่าสัตว์เขตหนาวเหล่านี้จะสูญพันธุ์หายไปพร้อมน้ำแข็งด้วย การลดลงของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกอาจส่งผลในเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วบ่อยมากขึ้น เช่น คลื่นความร้อนสุดขั้ว คลื่นความเย็นรุนแรง และเกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมทั่วโลก และผลกระทบร้ายแรงกว่าที่เราอาจคาดไม่ถึง เหมือนเรากำลังเผชิญกับภาพยนต์ภัยพิบัติที่ทะลุออกจากจอมาอยู่ตรงหน้าของเราจริง ๆ

และสิ่งที่จะกระทบต่อมาคือความเป็นอยู่ของสังคมมนุษย์ เกิดการล่มของเศรษฐกิจในประเทศยากจน ผู้คนอพยพหนีไปยังที่ที่ปลอดภัยมากขึ้น เกิดวิกฤตขาดแคลนอาหาร เนื่องจากภัยสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ จนท้ายที่สุดนำไปสู่การล่มสลายของมนุษยชาติ เพราะสมดุลของโลกหายไป

ที่มาข้อมูล

SciTechDaily

Nature Communications

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related