svasdssvasds

โลกร้อนทำน้ำแข็งขั้วโลกละลายต่อเนื่อง 3 ปีติด! เหลือไม่ถึง 2 ล้านตร.ม.

โลกร้อนทำน้ำแข็งขั้วโลกละลายต่อเนื่อง 3 ปีติด! เหลือไม่ถึง 2 ล้านตร.ม.

การศึกษาพบ น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายเหลือไม่ถึง 2 ล้านตารางเมตร ติดต่อกัน 3 ปีติด สัญญาณอันตราย! หากมนุษย์ยังไม่เร่งแก้ไขการปล่อยมลพิษอันเป็นตัวการของปัญหาโลกร้อน

SHORT CUT

  • น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายจนลดปริมาณต่ำกว่า 2 ตร.ม. ต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน
  • รวมถึงสัตว์ทะเลหลายพันชีวิตต้องสังเวยชีวิตให้กับการละลายของน้ำแข็ง เมืองริมชายฝั่งอาจไม่รอด
  • โลกคือบ้านหลังเดียวที่มนุษย์มี (ในตอนนี้) หากไม่เร่งทุเลาโลก ทุกอย่างอาจสายเกินแก้

การศึกษาพบ น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายเหลือไม่ถึง 2 ล้านตารางเมตร ติดต่อกัน 3 ปีติด สัญญาณอันตราย! หากมนุษย์ยังไม่เร่งแก้ไขการปล่อยมลพิษอันเป็นตัวการของปัญหาโลกร้อน

โดยปกติแล้ว เวลาสถิติอะไรถูกทำลายก็มักจะเป็นเรื่องดี แต่กับกรณีน้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลาย จนลดปริมาณลงต่ำกว่า 2 ล้านตารางเมตร ทำสถิติ 3 ปีติดต่อกันคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะวันหนึ่งบ้านที่คุณอาศัยอยู่อาจถูกน้ำท่วมก็ได้

น้ำแข็งละลายมากที่สุดในเดือนกุมพาพันธ์

ปกติแล้ว น้ำแข็งจะก่อตัวหนาเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือน มี.ค. ถึง ต.ค. จากนั้นก็จะค่อย ๆ ละลายลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน หรือตรงกับช่วงกุมภาพันธ์พอดี ซึ่งก็สอดรับกับการศึกษาของศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ 

น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายมากที่สุดเดือนกุมภาพันธุ์ Credit ภาพ REUTERS

โดยข้อมูลล่าสุด ชี้ว่า จากการที่ศูนย์ฯ เก็บข้อมูลมาทั้งปี พบว่า ปริมาณน้ำแข็งจะลายมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ แม้จะเข้าใจเป็นพื้นฐานอยู่แล้วว่าในเดือนกุมภาพันธ์น้ำแข็งจะลาย แต่สิ่งที่พบล่าสุดก็ยิ่งทำให้รู้ว่าน้ำแข็งละลายลงเร็วมาก  

เอาแค่เฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ศูนย์ฯ เก็บข้อมูลมา พบว่า วันที่ 18 กุมภาพันธ์ น้ำแข็งหนาลดลงเหลือ 1.99 ล้านตารางเมตร ผ่าน 3 วัน ไปเก็บข้อมูลดูอีกที พบว่า ลดลงเหลือ 1.98 ล้านตารางเมตร และจนถึงตอนนี้ปริมาณน้ำแข็งลดลงเหลือแค่ 1.78 ล้านตารางเมตร

คำถามที่ถูกเพิ่มเติมจากเรื่องนี้คือ ปริมาณน้ำแข็งจะละลายและลดปริมาณลงมากกว่านี้อีกหรือไม่ ข่าวร้ายก็คือ ทางศูนย์ฯ ก็คาดเดาไม่ได้เช่นกัน

สาเหตุน้ำแข็งขั้วโลกละลาย?

เช่นเคยตัวการที่ทำให้น้ำแข็งละลายก็คือ "โลกร้อน" เป็นคำศัพท์ที่ถูกผลิตซ้ำมาหลายปี แต่เหมือนดูจะไม่มีน้ำหนักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์เท่าไร เพราะสถิติต่าง ๆ เรื่องการปล่อยมลพิษยังคงทำลายสถิติทุกปี

และถ้าจะพูดกันถึงเรื่องผลกระทบ แน่นอนว่ามีมากมายเกินนิ้วมือจะนับไหว ยกตัวอย่างเช่น เพนกวินจักรพรรดิหลายพันตัวจมน้ำและแข็งทื่อตายคามหาสมุทร เนื่องจากในบางพื้นที่ของขั้วโลกใต้ไม่มีน้ำแข็งให้พวกมันได้อาศัย

เพนกวินจักรพรรดิหลายพันตัวต้องตาย เพราะไร้น้ำแข็งให้อาศัย Credit ภาพ REUTERS

ผลกระทบในอนาคตล่ะ มีอะไรบ้าง? อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น น้ำแข็งละลายจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกหนุนสูงขึ้น เมืองริมชายฝั่งจะเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบ หรือไม่แน่ว่าอาจร้ายแรงถึงขั้นกลายเป็น “นครแอตแลนติส” ก็เป็นได้

โลกคือบ้านหลังเดียวที่เรามี

ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่เราในฐานะมนุษยชาติที่ต้องลงมือลดก่อปัญหาอันเป็นต้นเหตุของโลกร้อนไปพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทใดก็ตาม ซึ่งหลายภาคส่วนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี Keep The World ก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์เรื่องนี้ต่อไป

 

ที่มา: The Guardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related