svasdssvasds

เสือโคร่งมลายู ถูกพบครั้งแรกที่จังหวัดยะลา พร้อมได้ชื่อใหม่ ‘บางลาง101’

เสือโคร่งมลายู ถูกพบครั้งแรกที่จังหวัดยะลา พร้อมได้ชื่อใหม่ ‘บางลาง101’

เสือโคร่งมลายู ถูกถ่ายภาพได้เป็นครั้งแรกโดยเจ้าหน้าที่จากอุทยานแห่งชาติ จ.ยะลา พบรอยเท้ายาว 6 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว สุดเท่ห์! เจ้าหน้าที่ตั้งชื่อให้ใหม่ 'บางลาง101' เพื่อเป็นเกียรติแก่สถานที่ค้นพบ

เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากอุทยานแห่งชาติบางลาง จังหวัดยะลา ได้เปิดเผยภาพเสือโคร่งมลายู หรือ Malayan Tiger ที่ถูกบันทึกได้จากกล้องดักถ่ายอัตโนมัติ ที่เจ้าหน้าที่ได้นำไปติดตั้งเอาไว้ นี่จึงถือเป็นการบันทึกภาพของ ‘เสือโคร่งมลายู’ ตัวเป็น ๆ ได้เป็นครั้งแรก

ต้องบอกว่ากระบวนการค้นพบ ‘เสือโคร่งมลายู’ ตัวนี้ อยู่ภายใต้ระบบลาดตระเว้นเชิงคุณภาพ (Smart Patrol) ที่ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้นำเข้ามาให้กับเจ้าหน้าที่ในอุทยาน ใช้เป็นระบบในการลาดตระเวน สำรวจ และป้องกันภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

ระบบลาดตระเวนดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถสำรวจและบันทึกสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติอันกว้างใหญ่ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณสีเขียว บรรดาสรรพสัตว์ รวมถึงเสือโคร่งมลายู ตัวนี้ด้วย เจ้าหน้าที่จึงตั้งชื่อใหม่ให้ว่า บางลาง101 เพื่อเป็นเกียรติแก่อุทยานแห่งชาติบางลาง

เสือโคร่งมลายู หรือ บางลาง101

เจ้าหน้าที่อุทยานพบรอยเท้าของเสือโคร่งมลายู

รอยเท้าของเสือโคร่งมลายู ความยาว 6 นิ้ว ความกว้าง 5 นิ้ว

รอยเท้าของเสือโคร่งมลายู ความยาว 6 นิ้ว ความกว้าง 5 นิ้ว

เสือโคร่งต่างกันอย่างไร?

ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งในไซบีเรีย รัสเซีย จีน อินเดีย บาว เวียดนาม เมียนมา มาเลเซีย อินโดนิเซีย หรือแม้แต่ไทยเอง ต่างก็มีเสือโคร่งในประเทศแตกต่างกันออกไป

หากใครจำได้ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทางภาคกลาง และภาคตะวันตกของไทย เราเคยพบเสือโคร่งเหมือนกัน แต่นั่นคือ ‘เสือโคร่งอินโดจีน

แต่เสือโคร่งที่พบในอุทยานแห่งชาติบางลางคือ ‘เสือโคร่งมลายู’ โดยปัจจุบันนี้ ในประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าถูกพบแค่ 2 ที่เท่านั้นคือ อุทยานแห่งชาติบางลาง ที่จังหวัดยะลา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ที่จังหวัดนราธิวาส

โดยอุทยานแห่งชาติบางลาง จ.ยะลา นั้น เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 88 ของประเทศไทย มีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่ฝั่งตะวันตกของผืนป่า ‘ฮาลา-บาลา’ ผืนป่าที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย โดยวางตัวแนวเหนือ-ใต้ครอบคลุม 2 ประเทศคือ ไทยและมาเลเซีย โดยมีพื้นที่กว่า 2 ล้านไร่ อุดมไปด้วยสิงสาราสัตว์หลากหลายชนิด และพืชพรรณเขียวขจี

แผนที่อุทยานแห่งชาติบางลาง จ.ยะลา Cr. อุทยานแห่งชาติบางลาง

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี 2562 รัฐบาลมาเลเซียได้ออกถ้อยแถลงว่า ‘เสือโคร่งมลายู’ สุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ภายในอีก 5 หรือ 10 ปีข้างหน้านี้ โดยอ้างอิงจากประชาของเสือโคร่งในป่าของประเทศที่ลดน้อยลงเหลือราว ๆ 150 ตัว

ทางด้านรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของมาเลเซีย ได้ออกมายอมรับว่า สาเหตุที่ ประชากร เสือโคร่งมลายู ลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญก็เพราะ มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและด้านการบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอ

ผลกระทบที่ตามมาคือ เกิดการระบาดของขบวนการค้าสัตว์ป่า และอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจคือ ตลาดมืดได้ตั้งค่าหัวของ เสือโคร่งมลายู ไว้สูงถึง 200,000 เหรียญสหรัฐหรือราว ๆ 7 ล้านบาทเลยทีเดียว ทำให้การไล้ล่าเสือโคร่งมลายูจึงเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ

แต่ทางด้านผู้เชี่ยวชาญก็ได้ออกมาแสดงทรรศนะว่า สาเหตุที่เสือโคร่งมลายูมีจำนวนลดลง ไม่ได้เกิดจากการถูกไล่ล่าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเช่น การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย อาหารการกินที่ลดน้อยลง

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีหลายพื้นที่ในประเทศมาเลเซียสูญเสียพื้นที่ป่าไปจำนวนมาก เพราะผลกระทบจากความต้องการทุเรียนจากแดนมังกรที่เพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น เกษตรกรต้องขยายพื้นที่เพราะปลูกทุเรียนออกไป จนกระทั่งไปลุกล้ำพื้นที่อนุรักษ์ซึ่งมีเสือโคร่งอาศัยอยู่

ที่มา: GreenXpress

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related