svasdssvasds

13 ก.พ. “วันถุงยางอนามัยสากล” เพื่อไม่ให้ลืมคุมกำเนิดในวันวาเลนไทน์

13 ก.พ. “วันถุงยางอนามัยสากล” เพื่อไม่ให้ลืมคุมกำเนิดในวันวาเลนไทน์

ก่อนวันวาเลนไทน์ 1 วัน คือ “วันถุงยางอนามัยสากล” เพื่อให้ไม่ลืมป้องกันโรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์ และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

ไม่แปลกที่จะไม่รู้จักวันถุงยางอนามัยสากล เพราะเวลานี้น่าจะเป็นช่วงที่หลายๆ คนกำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมของขวัญช่วงเทศกาลแห่งความรักในวันที่ 14 ก.พ. มากกว่า

ทว่าวันนี้กลับมีความสำคัญไม่แพ้วันวาเลนไทน์เลย เพราะไม่ได้ตั้งขึ้นก่อนหน้าวันวาเลนไทน์เพียง 1 วันอย่างบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจที่ต้องการส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และป้องกันการแพร่กระจายของ “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs)”

13 ก.พ. “วันถุงยางอนามัยสากล” เพื่อไม่ให้ลืมคุมกำเนิดในวันวาเลนไทน์

ประวัติของวันถุงยางอนามัยสากล

ย้อนกลับไปในปี 2552 มูลนิธิ AIDS Healthcare Foundation (AHF) ได้ประกาศให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์เป็นวันถุงยางอนามัยแห่งชาติในสหรัฐอเมริกา แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวันถุงยางอนามัยสากล เพื่อให้คนทั้งโลกตระหนักถึงผลกระทบของการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ระวัง และเพื่อเตือนใจว่าความรักควรมาพร้อมกับการ ปฏิบัติที่ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ

จุดมุ่งหมายหลักของวันถุงยางอนามัยสากล คือการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย และให้ความรู้กับประชาชนเพื่อให้เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งข้อมูลของ “องค์การอนามัยโลก (WHO) ” พบว่าในเวลานี้มีผู้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งล้านครั้งทั่วโลก ซึ่งมีแต่การใช้ถุงยางอนามัยอยากถูกต้องและสม่ำเสมอเท่านั้น ที่จะช่วยลดตัวเลขนั้นลงได้

อย่างไรก็ตาม การใช้ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์จะคุมกำเนิดได้ถึง 98 % ส่วนอีก 2 % อาจเกิดการตั้งครรภ์ และไม่ได้รับประกันว่าจะปลอดภัยจากการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไว้ก่อนทุกครั้ง เพราะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรง เช่น หนองใน งูสวัด และเอชไอวี

ถุงยางอนามัยมีกี่แบบ ?

ถุงยางอนามัยมีกี่แบบ ?

ปัจจุบันมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นคือ ชนิดที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติและจากสารสังเคราะห์ ส่วนอีกชนิดคือ ทำจากลำไส้สัตว์ ซึ่งไม่ได้รับความนิยมแล้ว

ชนิดที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ (rubber condom or latex condom) ข้อดีคือ ราคาถูก ยืดหยุ่นได้ดีกว่าชนิดที่ทำจากลำไส้สัตว์ การสวมใส่กระชับรัดแนบเนื้อ สามารถใช้ได้ทั้งเพื่อการคุมกำเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ข้อด้อยคือ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นประเภทที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม หรือน้ำมันหล่อลื่นผิวหนัง พวก Mineral oil ได้ เพราะจะทำให้โครงสร้างของน้ำยางเสื่อมลง ส่งผลต่อคุณภาพและการป้องกัน แต่ใช้ได้กับสารหล่อลื่นชนิดที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก (water-based lubricant)

ชนิดที่ทำจาก Polyurethane หรือ Polyisoprene (ถุงยางพลาสติก) โดยแก้ไขข้อด้อยของถุงยางจากน้ำยางธรรมชาติ คือ เหนียวกว่า ทนต่อการฉีกขาด เหมาะสำหรับผู้ที่กลัวแพ้ยางพารา สามารถใช้สารหล่อลื่นที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม หรือน้ำมันหล่อลื่นผิวหนัง พวก Mineral oil ได้ และที่สำคัญคือสามารถทำให้บางได้ถึง 01 มิลลิเมตร ทำให้รู้สึกเสมือนไม่ได้ใส่อะไรเลย (feels like not wearing anything) แต่ราคาอาจสูงกว่าแบบน้ำยางพารา

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในหลายประเทศ การพูดคุยเรื่องเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัยยังคงเป็นเรื่องน่าอาย ดังนั้น “วันถุงยางอนามัยสากล” จึงเป็นโอกาสที่ดีในการสื่อสารออกไปว่า การใช้ถุงยางไม่ใช่เรื่องน่าอาย และสนับสนุนให้ทุกคนเปิดพื้นที่คุยเรื่องเพศกันอย่างเปิดเผย และตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยไม่มีใครต้องอับอายอีกต่อไป

ที่มา : โรงพยาบาล สมิติเวช

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related