svasdssvasds

กู้กยศ. ปรับเกณฑ์เพิ่มค่าครองชีพให้ผู้กู้ 600 บาท/เดือน-ครอบครัวรายได้เป็น 3.6 แสน/ปี

กู้กยศ. ปรับเกณฑ์เพิ่มค่าครองชีพให้ผู้กู้ 600 บาท/เดือน-ครอบครัวรายได้เป็น 3.6 แสน/ปี

กยศ.เห็นชอบให้มีการปรับเกณฑ์คุณสมบัติรายได้ของครอบครัวผู้กู้ยืม จากเดิมมีรายได้ไม่เกินครัวเรือนละ 200,000 บาทต่อปี เป็น 360,000 บาทต่อปีพร้อมเพิ่มค่าครองชีพเดือนละ 600 บาท เผยปีการศึกษา 2563 เตรียมงบฯไว้ 34,000 ล้านบาท

กู้กยศ. นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและค่าใช้จ่าย ในการดำรงชีพของประชาชนจำนวนมาก

"กองทุนขอยืนยันว่าผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะไม่มีเงินส่งให้ลูกหลานได้เรียน เนื่องจากกองทุนมีเงินเพียงพอให้ทุกคนได้กู้ยืมเรียนอย่างแน่นอน" ผู้จัดการ กยศ. กล่าว

โดยในปีการศึกษา 2563 กองทุนได้ปรับเกณฑ์คุณสมบัติเฉพาะเกี่ยวกับรายได้ครอบครัวของผู้กู้ยืมที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ คือ จากเดิมรายได้ไม่เกิน 200,000 บาท/ปี เป็นไม่เกิน 360,000 บาท/ปี

อีกทั้ง กองทุนได้มีการปรับเพิ่มค่าครองชีพรายเดือนให้ผู้กู้ยืมทุกระดับการศึกษาอีกรายละ 600 บาท/เดือน

สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่กำลังมองหาโอกาสทางการศึกษาเพื่อต่อยอดสู่สาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก โดยเฉพาะสาขาวิชาที่อยู่ในโครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน โดยให้สิทธิพิเศษกับผู้กู้ยืมที่เรียนระหว่างปีการศึกษา 2562-2566 เมื่อสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ยอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อปี

สำหรับผู้กู้ยืมระดับปริญญาตรี จะได้ส่วนลดเงินต้นร้อยละ 30 สำหรับผู้กู้ยืมระดับอาชีวศึกษา จะได้ส่วนลดเงินต้นร้อยละ 50 เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC รวมถึงเป็นการป้อนกำลังคนในสายอาชีวะ/สายวิชาชีพที่ยังขาดแคลนสู่ตลาดแรงงานทั่วประเทศ

ทั้งนี้ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

1) อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต

2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

3) อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

5) อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

6) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์

7) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์

8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

9) อุตสาหกรรมดิจิทัล

10) อุตสาหกรรมแพทย์ครบวงจร

ส่วน 3 โครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่

1) อุตสาหกรรมระบบราง

2) อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี

3) อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

ทั้งนี้ กองทุนได้เตรียมงบประมาณให้กู้ยืมจำนวนประมาณ 34,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่คาดว่าจะกู้ยืมในปีนี้จำนวน 590,000 ราย ซึ่งเงินที่ใช้ในการให้กู้ยืมดังกล่าวเป็นเงินที่ได้รับชำระคืนจากผู้กู้ยืมรุ่นพี่ โดยไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

อ่านข่าวแนะนำ >>> How To ดูแล สุขภาพจิต เด็กและเยาวชน ระหว่างโรคระบาด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/635009

อ่านข่าวแนะนำ >>> How to ทำงานจากบ้าน พร้อมเลี้ยงลูกไปด้วย แบบไม่เสียสติ

https://www.springnews.co.th/alive/edutainment-alive/636779

related