svasdssvasds

"ปคบ. -อย." ทลายเครือข่ายลวงโลก ปิด 20 เว็บ หลอกขาย "ผลิตภัณฑ์สุขภาพ"

"ปคบ. -อย." ทลายเครือข่ายลวงโลก ปิด 20 เว็บ หลอกขาย "ผลิตภัณฑ์สุขภาพ"

ตร.สอบสวนกลาง โดย ปคบ. ร่วมกับ ปอท. และ อย. ทลายเครือข่ายลวงโลก ปิด 20 เว็บไซต์ หลอกขาย "ผลิตภัณฑ์สุขภาพ" สร้างข้อมูลเท็จ อวดอ้างโฆษณาเกินจริง ปี 64 โกยเงินกว่า 250 ล้านบาท อ้างสำนักงานใหญ่อยู่ต่างประเทศ

วันที่ 5 เม.ย. 2565 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา ผบก.ปอท., พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ., พ.ต.ท.สุพจน์ พุ่มแหยม รอง ผกก.๔ บก.ปคบ., พ.ต.ท.นิธิ   ตรีสุวรรณ รอง ผกก.๔ บก.ปคบ. และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้สั่งการให้ทลายเครือข่ายลวงโลก สร้างข้อมูลเท็จหลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน

พฤติการณ์กล่าวคือ  ด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า มีกลุ่มเครือข่ายหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ โดยการสร้างเว็บไซต์ที่มีบทความเนื้อหาที่เป็นเท็จและบรรยายสรรพคุณเกินความจริง  เพื่อโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และเสริมอาหารต่างๆ ซึ่งมีประชาชนหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ จำนวนมาก แต่เมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้วก็มิได้เป็นไปตามที่โฆษณาแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเสียหายจากการหลงเชื่อคำโฆษณาดังกล่าว

"ปคบ. -อย." ทลายเครือข่ายลวงโลก ปิด 20 เว็บ หลอกขาย "ผลิตภัณฑ์สุขภาพ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ภายหลังการสืบสวนเจ้าหน้าที่พบว่าบริษัทที่ถูกกล่าวหา เป็นผู้โฆษณาและจำหน่ายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ จึงรวบรวมพยานหลักฐาน ขอหมายจับ นายศุภกร กรรมการบริษัทฯ  พร้อมตรวจค้นสถานที่ที่เกี่ยวข้อง 4 แห่ง จนสามารถจับกุมตัวนายศุภกร  พร้อมตรวจยึด คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการกระทําความผิด จํานวน 3 เครื่อง และเอกสารที่เกี่ยวข้องจํานวนมาก 

เมื่อตรวจสอบหลักฐานที่ตรวจยึดมาได้พบว่า บริษัท ดังกล่าว เปิดเว็บไซต์จำนวน 20 เว็บ เพื่อโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีการบรรยายสรรพคุณเกินจริง  ซึ่งมีผลิตภัณฑ์บางรายการที่ยกเลิกเลข อย. ไปแล้ว 

ทั้งนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย เคยประกาศผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร บางรายการของบริษัทแห่งนี้ แสดงข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ ไม่สามารถรักษาโรคกล่าวอ้างได้ผู้บริโภคอาจเสียโอกาสในการรักษาตัวเอง

 

 

ด้าน นายศุภกร ผู้ต้องหา ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ให้การเพิ่มเติมว่า บริษัท อีเฟิร์ส กรุ๊ป    ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศโปแลนด์ ได้ว่าจ้างให้ นายศุภกรฯ มาเป็นกรรมการกผู้มีอำนาจของบริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย    (ไทยแลนด์) จำกัด โดยได้รับเงินเดือน เดือนละ 350,000 บาท มีหน้าที่ควบคุมดูแล บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเชื้อเชิญ ดูแลลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์ (ลักษณะเหมือน call center) ส่วนการโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาบทความอันเป็นเท็จและมีสรรพคุณเกินจริงนั้น บริษัท อีเฟิร์ส กรุ๊ป (ประเทศโปแลนด์) ได้ว่าจ้างบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศรัสเซียเป็นผู้ดำเนินการ โดยตนเองไม่ทราบรายละเอียดและวิธีในการดำเนินการ และจากการสืบสวนเพิ่มเติมยังพบว่า ในปี พ.ศ.2564 บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด มีรายได้จากเปิดเว็บไซต์ที่มีข้อมูลอันเป็นเท็จเพื่อโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ ประมาณ 250 ล้านบาท

related