svasdssvasds

ประวัติ กลุ่มกบฏฮูตี พันธมิตรฮามาสในเยเมน เมื่อสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ขยายวง

ประวัติ กลุ่มกบฏฮูตี  พันธมิตรฮามาสในเยเมน เมื่อสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ขยายวง

ทำความรู้จัก กลุ่มกบฏฮูตี พันธมิตรฮามาสในเยเมน ที่พร้อมจะซัดกับสหรัฐฯ หรือ พันธมิตรของสหรัฐฯ อย่าง อิสราเอล , เมื่อสงคราม อิสราเอล-ฮามาส เริ่มขยายวงกว้างมากขึ้น

กบฏฮูตี ในประเทศเยเมน เปิดเผยว่าพวกเขาเล็งเป้าโจมตี สหรัฐฯ ทันที หากสหรัฐฯแทรกแซง สถานการณ์ในสงคราม  "อิสราเอล-ฮามาส" ที่เริ่มขยายวง โดยความขัดแย้งรอบใหม่นั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2566

แม้การสู้รบรุนแรงในสงครามอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสจะเกิดขึ้นบริเวณพรมแดนอิสราเอลกับฉนวนกาซาโดยเฉพาะเขตกาซาเป็นหลัก แต่ความเคลื่อนไหวในพื้นที่ทางตอนเหนือของอิสราเอลที่ติดกับเลบานอนนั้น  ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ตอนนี้ซึ่งมีชีวิตสูญเสียจากสงคราม ก็น่ากังวลอยู่เหมือนกัน เพราะอิสราเอลต้องชนปะทะกับกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ พรรคของพระเจ้า 

และส่งผลทำให้กองทัพอิสราเอลต้องเพิ่มกำลังทหารประจำการตามแนวพรมแดนที่อยู่ติดกับเลบานอนอีกหนึ่งทางด้วย 

หลังจากอิสราเอลยิงโจมตีพื้นที่ทางตอนใต้ของเลบานอนเมื่อ 11 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา เพื่อตอบโต้การโจมตีของกลุ่มเฮซบอลเลาะห์  ซึ่งยิงขีปนาวุธต่อต้านรถถัง 2 ลูก พุ่งเป้าไปยังจุดประจำการทหารในพื้นที่ทางตอนเหนืออิสราเอลจากการโจมตี ทำให้บ้านเรือนของชาวเลบานอนอย่างน้อย 10 หลังได้รับความเสียหาย ฐานยิงจรวดได้รับความเสียหาย โดยมีผู้บาดเจ็บ 3 คน , นี่คือฝันร้ายจากไฟสงคราม เพราะทุกๆสงครามคือความล้มเหลวของมนุษย์ในฐานะ สัตว์ที่ควรจะมีความคิด มากกว่าจะฆ่ากันด้วยอาวุธ

ขณะที่เฮซบอลเลาะห์  ระบุว่า การโจมตีดังกล่าวเป็นการตอบโต้อิสราเอลที่สังหารสมาชิกของกลุ่มในระหว่างการปะทะกันเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

บรรยากาศตึงเครียดใน ณ จุดนี้ ทวีความรุนแรงเข้มเครียดมากขึ้น นับตั้งแต่กลุ่มฮามาสบุกโจมตีอิสราเอล อย่างสายฟ้าฟาดอย่างรวดเร็ว เมื่อ 7 ตุลาคม 2023 ท่ามกลางความกังวลว่า การสู้รบรุนแรงจะปะทุขึ้นในบริเวณนี้เพิ่มอีก 1 จุด ซึ่งเฮซบอลเลาะห์ เป็นกลุ่มที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับฮามาส เพราะทั้ง 2 กลุ่มมีศัตรูคนเดียวกัน นั่นคืออิสราเอล

ทั้งนี้ พันธมิตรของฮามาสไม่ได้มีแค่กลุ่มติดอาวุธที่อยู่ในเลบานอนอย่างเฮซบอลเลาะห์เท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มสนับสนุนกระจายตัวยิบย่อยอยู่ในหลายๆพื้นที่ในตะวันออกกลาง ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีจุดร่วมเป็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอิหร่าน เช่น ซีเรีย มีรายงานว่า อิสราเอลต้องยิงปืนใหญ่ เพื่อตอบโต้การโจมตีที่มาจากฝั่งซีเรียในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาด้วย

ขณะที่ผู้นำกลุ่มกบฏฮูตี ใน เยเมน ก็เป็นอีกกลุ่มที่เป็น คู่ขัดแย้งกับอิสราเอล  ล่าสุดพวกเขาออกมาประกาศความพร้อมที่จะร่วมมือกับกลุ่มอื่นๆ โจมตี สหรัฐฯ (ในที่นี้ หมายถึงพันธมิตรสหรัฐฯอย่างอิสราเอลด้วย)  รวมทั้งขู่ว่าจะยิงขีปนาวุธ ใช้โดรนโจมตีและใช้ยุทธวิธีทางทหารต่าง ๆ เพื่อตอบโต้ หากสหรัฐฯ เข้าไปยุ่งกับความขัดแย้งในฉนวนกาซาโดยตรง

หากใครที่จินตนาการไม่ออกว่า ในเมื่อประเทศ เยเมน ไม่ได้มีอาณาเขต ติดต่อกัน ทาง อิสราเอล-ปาเลสไตน์เลย  แล้วทำไมจึงมาเกี่ยวข้องได้ ?

คำตอบของเรื่องนี้ก็คือ เยเมน ซึ่งมีกลุ่ม กบฏฮูตี อยู่นั้น อยู่ทางตอนใต้ของทะเลแดง, พวกเขาสามารถส่งกองกำลังแล่นขึ้นเหนือ ผ่านทะเลแดง ไปเจอไปชนกับ อิสราเอล หรือ โจมตีตัวแทนสหรัฐฯ ในทะเลแดงได้เลยเช่นกัน 

ประวัติ กลุ่มกบฏฮูตี พันธมิตรฮามาสในเยเมน เมื่อสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ขยายวง

• กบฏฮูตี ในประเทศเยเมน คือใคร ? 

ทั้งนี้ กลุ่มกบฏฮูตี มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อันซาร์ อัลลอฮ์ (Ansar Allah) ซึ่งคำคำนี้ มีความหมายว่า ผู้สนับสนุนพระผู้เป็นเจ้า โดยก่อตั้งขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดยชายที่มีชื่อว่า ฮุสเซน บัดเรดดิน อัล-ฮูตี (Hussein Badreddin Al-Houthi) ทางตอนเหนือของเยเมน 

โดยเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดซาดา (Saada) ถือว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าที่เรียกว่า ชาวฮูตี พวกเขานับถือความเชื่อที่เรียกว่า ซัยดี (Zaydi) อันเป็นนิกายย่อยของนิกายชีอะฮ์ อีกทีหนึ่ง 

โดยชาวฮูตีก็อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเยเมนเป็นเวลายาวนานกว่าหลายร้อยปี  , สัดส่วนประชากรในเยเมน 75% นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ (ซึ่งคนส่วนใหญ่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ก็จะนับถือนิกายสุหนี่) ส่วนอีก 25% ก็คือชาวฮูตี

โดยในช่วง กลางศตวรรษที่ 20 พื้นที่ที่เป็นประเทศเยเมน ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ โดยพื้นที่ตอนเหนือถูกปกครองโดยระบอบกษัตริย์ที่เป็นอิหม่ามของชาวฮูตี เรียกว่า ราชอาณาจักรเยเมน (Kingdom of Yemen) หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ เยเมนเหนือ (North Yemen)

ขณะเดียวกัน ในช่วงพื้นที่ตอนใต้ของเยเมนนั้น แบ่งย่อยได้เป็น 2 ส่วน คือ สหพันธ์อาระเบียใต้ (Federation of South Arabia) กับรัฐอารักขาอาระเบียใต้ (Protectorate of South Arabia) โดยทั้งสองรัฐต่างก็เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร 

อย่างไรก็ตาม ต่อมาในปี 1967 โลกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งสอง สหพันธ์อาระเบียใต้ (Federation of South Arabia) กับรัฐอารักขาอาระเบียใต้ (Protectorate of South Arabia) ก็ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร และรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในชื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน (People's Democratic Republic of Yemen) ซึ่งถือเป็นรัฐคอมมิวนิสต์แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคอาหรับ ภายหลังประเทศนี้ก็รู้จักกันในชื่อ เยเมนใต้ (South Yemen)

ในปี 1962 ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นภายในฝั่งเยเมนเหนือ นำโดยนายพล อับดุลลาห์ อัส-ซัลลัล (Abdullah as-Sallal) เพื่อโค่นล้มระบอบกษัตริย์ พร้อมทั้งสถาปนาระบอบสาธารณรัฐในเยเมนเหนือ ซึ่งก็นำไปสู่สงครามกลางเมืองเยเมนเหนือ (North Yemen Civil War) ระหว่างฝ่ายกษัตริย์กับฝ่ายสาธารณรัฐ

ผลสุดท้ายสงครามจบลงในปี 1970 ด้วยชัยชนะของฝ่ายสาธารณรัฐ นำไปสู่จุดจบของระบอบกษัตริย์ และการมีอำนาจของชาวฮูตีในเยเมนเหนือ นายพลอับดุลลาห์ อัส-ซัลลัล (Abdullah as-Sallal) จึงสถาปนาสาธารณรัฐอาหรับเยเมน (Yemen Arab Republic) ปกครองเยเมนเหนือ

ต่อมาในปี 1990 เยเมนเหนือภายใต้การนำของประธานาธิบดี อาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ (Ali Abdullah Saleh) ก็สามารถผนวกรวมเยเมนใต้ได้สำเร็จ เยเมนเหนือกับเยเมนใต้จึงรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในชื่อสาธารณรัฐเยเมน (Republic of Yemen) โดยมีประธานาธิบดีซาเลห์เป็นประธานาธิบดีคนแรก และเขาจะครองอำนาจอย่างยาวนานจนถึงปี 2011 

ประวัติ กลุ่มกบฏฮูตี พันธมิตรฮามาสในเยเมน เมื่อสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ขยายวง

• ชาวฮูตี ถูกกดขี่ จาก เยเมน อีกทอดหนึ่ง! 

การรวมประเทศเยเมน ทำให้ชาวฮูตี ถูกกดขี่จากรัฐบาลประธานาธิบดีซาเลห์ อย่างหนักมาก 

หากจะอธิบายอย่างชัดๆนั้น จากเดิมที่ชาวฮูตีมีอำนาจปกครองเยเมนเหนือมาก่อน แต่พอมีการรวมประเทศ เป็นเยเมนแล้ว ...ชาวฮูตี ก็ได้รับความเดือดร้อน ต้องกลายมาเป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศเท่านั้น 

ความไม่พอใจดังกล่าวทำให้ ฮุสเซน บัดเรดดิน อัล-ฮูตี  นักการเมืองชาวฮูตีที่เป็นฝ่ายค้านของรัฐสภาเยเมน ก่อตั้งกลุ่มอันซาร์ อัลลอฮ์ ขึ้นมา

โดยมีอุดมการณ์สำคัญคือ ฟื้นฟูอำนาจและความยิ่งใหญ่ของชาวฮูตีต่อต้านอิทธิพลของนิกายสุหนี่ รวมถึงต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา

ในช่วงปีหลังๆ มานี้ , ขบวนการเคลื่อนไหวฮูตีของเยเมน ต่อสู้กับพันธมิตรที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย มาตั้งแต่ปี 2015 ในความขัดแย้งหนึ่งที่เข่นคร่าชีวิตไปหลายแสนคน ในช่วงระหว่างนั้น ได้มีการเล็งเป้าหมายเล่นงานสินทรัพย์ทางยุทธศาสตร์ต่างๆ ในอ่าวอาหรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตั้งทางพลังงานในซาอุดีอาระเบีย อีกหนึ่งเพื่อนสหายของสหรัฐฯ , อย่างไรก็ตามปัจจุบัน เยเมนอยู่ในภาวะค่อนข้างสงบมานานนับปีแล้ว ผ่านการเจรจาสันติภาพ หลายวาระ 

ส่วน สงครามอิราเอล กับ กลุ่มฮามาส ครั้งนี้ ก็อาจเริ่มขยายวงกว้างมากขึ้น , ถ้าหาก กลุ่มกบฏฮูตี  พันธมิตรฮามาสในเยเมน กระทำตามที่ "ขู่" ไว้จริงๆ  โลกคงต้องเจอกับความปั่นป่วนในแถบตะวันออกกลางต่อไปอีก ไม่รู้จะอีกนานแค่ไหน ถึงจะถึงจุดสิ้นสุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ที่มา britannica aljazeera   bbc

related