svasdssvasds

กำแพงร้องไห้ สถานที่ใกล้ชิดพระเจ้าของชาวยิว กลางไฟสงครามอิสราเอล-ฮามาส

กำแพงร้องไห้ สถานที่ใกล้ชิดพระเจ้าของชาวยิว  กลางไฟสงครามอิสราเอล-ฮามาส

ทำความรู้จัก กำแพงร้องไห้ หรือ Wailing Wall ศาสนสถานที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และเป็นที่เคารพสักการะของชาวยิวในอิสราเอล และชาวยิวทั่วโลก และตอนนี้ ก็กำลังอยู่ในไฟสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์

กำแพงร้องไห้ อยู่ที่ไหน ? ทำไมถึงเกี่ยวพันกับสงครามระหว่างอิสราเอล กับ กลุ่มฮามาส ที่กำลังครุกรุ่นจนถึงตอนนี้ นับตั้งแต่มีการเปิดฉากรบกันอย่างหนักหน่วงรุนแรงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 และถึงตอนนี้ มีคนตายไปแล้วนับพันคน

สำหรับ กำแพงร้องไห้ หรือ Wailing Wall มีประวัติความเป็นมายาวนาน  เพราะแม้จะมีชื่อเรียกว่า กำแพงร้องไห้ Wailing Wall แต่ไม่ได้หมายความว่า ตัวกำแพงเองจะสามารถร้องไห้ได้จริง รินหลั่งน้ำตา มีคราบน้ำตาไหลออกมาจริงๆ  

ที่มาของชื่อ นั้น เกิดจากการที่ชาวยิวจำนวนมากเดินทางมาที่นี่ เพื่อเป็นการระลึกถึง วัดแห่งโซโลมอน อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์โบราณของชาวยิว ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล แต่ได้ถูกทำลายลง ถึง 2 ครั้ง  คือในช่วงจักรวรรดิบาบิโลน และจักรวรรดิโรมัน จนเหลือเพียงซากของกำแพงด้านตะวันตกของวัดเท่านั้น ซึ่งชาวยิวทั้งหลายได้มาที่นี่พร้อมกับร้องไห้เสียใจกับการล่มสลายของวัด และกลายเป็นที่มาของกำแพงร้องไห้

ทำความรู้จัก กำแพงร้องไห้ หรือ Wailing Wall ศาสนสถานที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และเป็นที่เคารพสักการะของชาวยิวในอิสราเอล และชาวยิวทั่วโลก และตอนนี้ ก็กำลังอยู่ในไฟสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ credit ภาพ reuters

โดยชื่ออย่างเป็นทางการของกำแพงร้องไห้ คือ กำแพงตะวันตกหรือ Western Wall , บริเวณกำแพงนี้ เป็นลานโล่งกว้าง ที่ชาวยิวและผู้ศรัทธา (รวมถึงนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ไปเยือนเยรูซาเลม) ใช้ประกอบพิธีกัน ไม่ว่าจะสวดมนต์ ร่ำไห้และวิงวอนต่อพระเจ้า รวมถึง พิธี “ฉลองความเป็นหนุ่ม” ของเด็กชายยิวเมื่ออายุครบ 13 ปี ก็จะมาทำพิธีกันในบริเวณนี้กัน

ชาวยิว ชาวอิสราเอลเชื่อกัน ว่าบริเวณนี้เป็นสถานที่ใกล้ชิดพระเจ้ามากที่สุดในโลก และพระองค์จะคอยฟังคำขอของผู้ที่มาอ้อนวอน นอกจากการสวดมนต์อธิษฐานแล้ว ยังนิยมเขียนคำอธิษฐานหรือระบายความทุกข์ใจใส่ในกระดาษ และสอดเข้าไปตามรูเล็กๆ ของกำแพงเพื่อให้สาสน์นั้นได้ส่งถึงพระเจ้า และ ชาวยิวเองมีความเชื่อว่า ไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน แต่ในชีวิตต้องเดินทางมาเยี่ยมกำแพงแห่งนี้ ก่อนสิ้นลมให้ได้

ทำความรู้จัก กำแพงร้องไห้ หรือ Wailing Wall ศาสนสถานที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และเป็นที่เคารพสักการะของชาวยิวในอิสราเอล และชาวยิวทั่วโลก และตอนนี้ ก็กำลังอยู่ในไฟสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ credit ภาพ reuters

•เยรูซาเลม- เมืองแห่งศรัทธา นครศักดิ์สิทธิ์ 3 ศาสนา

โดยหากจะขยายภาพในมุมกว้างของเมืองเยรูซาเลม , เยรูซาเลมนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ ด้วยความเป็นมาอย่างยาวนาน และมีความเกี่ยวข้องกับ 3 ศาสนา ได้แก่ ยูดาห์ คริสต์ และอิสลาม เกี่ยวพันกัน  ซึ่งในพื้นที่เมืองเก่าเยรูซาเลม ขนาดไม่ถึง 1 ตารางกิโลเมตร เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของคนทั้ง 3 ศาสนา

สำหรับ ชาวยิว นครเยรูซาเลม คือที่ตั้งของ “The Temple Mount” หรือ พระวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นพื้นที่ที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวยิว ชาวยิวเชื่อว่า ตรงนี้คือที่ที่พระเจ้าทรงปรากฏพระองค์บ่อยครั้งยิ่งกว่าสถานที่ใด บางคนก็เชื่อว่า ตรงนี้คือที่ที่พระเจ้าใช้สร้างโลก คือเป็นจุดแรกที่กำเนิดโลก แล้วโลกค่อยๆ แผ่ขยายออกไป รวมทั้งเป็นที่ที่พระเจ้ารวบรวมดินมาสร้างเป็นมนุษย์คนแรก นั่นคือ อดัม อีกด้วย

นอกจากนี้ บริเวณนี้ยังเป็นสถานที่ที่อับราฮัมมาบูชายัญอิซอัค รวมไปถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในพระคัมภีร์อีกหลายเหตุการณ์ ต่างก็เกิดขึ้นที่จุดนี้จุดเดียวทั้งนั้น ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คือ กษัตริย์โซโลมอน คือผู้สร้างวิหารแรกขึ้นที่นี่ ต่อมาก็ถูกทำลายลงโดยพวกบาบิโลน จากนั้นจึงมีการสร้างวิหารที่ 2 ขึ้น แต่สุดท้ายก็ถูกทำลายลง เหลือเพียงซากกำแพงเก่า และเป็นที่มาของ “กำแพงร้องไห้” ที่อยู่ทางตะวันตกนั่นเอง

กำแพงแห่งนี้ มีอายุกว่าสองพันปีแล้ว สร้างด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ โดยตั้งอยู่ด้านตะวันตกของ Dome of the Rock หรือ มัสยิดอัลอักซอ ศาสนสถานสำคัญของศาสนาอิสลาม

หลังจากอิสราเอลตั้งประเทศเมื่อปี 1948 โดยมีเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวง แต่ส่วนที่เป็นเมืองเก่าอยู่ในส่วนของการยึดครองของจอร์แดน  ตอนนั้น ชาวยิวถูกห้ามมาที่กำแพงตะวันตก จนกระทั่งอิสราเอลชนะสงคราม 6 วัน ในปี 1967 กับกลุ่มสันนิบาตอาหรับ และได้เยรูซาเลมทั้งหมดแล้ว ชาวยิวจึงเข้ามาที่นี่ เพื่อนมัสการและสวดภาวนาได้ตามปกติ

ทำความรู้จัก กำแพงร้องไห้ หรือ Wailing Wall ศาสนสถานที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และเป็นที่เคารพสักการะของชาวยิวในอิสราเอล และชาวยิวทั่วโลก และตอนนี้ ก็กำลังอยู่ในไฟสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ credit ภาพ reuters

ปัจจุบัน เยรูซาเลม เมืองที่มี "กำแพงร้องไห้"  ยังคงเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งทั้ง 3 ศาสนา ที่มีผู้คนอาศัยปะปนกันอยู่ในเขตเมืองเก่าอันศักดิ์สิทธิ์ (The Old City) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ย่านด้วยกันคือ ย่านชาวอาร์เมเนีย (Armenian Quarter) ย่านชุมชนชาวยิว (Jewish Quarter) ย่านชาวคริสต์ (Christian Quarter) ที่ต้องไป โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่ถูกตรึงกางเขนและเป็นหลุมศพของพระเยซู และ ย่านชาวมุสลิม (Muslim Quarter) ทำให้ ที่นี่เป็นเมืองที่อบอวลไปด้วยวัฒนธรรมทางศาสนาที่แตกต่างกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และ ณ บริเวณรอบๆ ก็ยังเต็มไปด้วยไฟสงคราม ที่ไม่รู้จะ หาจุดสิ้นสุดได้เมื่อไร ? 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related