svasdssvasds

เดือนแห่งการหารือ : รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ประจำเดือนพฤศจิกายน

เดือนแห่งการหารือ : รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ประจำเดือนพฤศจิกายน

Keep The World ชวนสำรวจข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมประจำเดือนพฤศจิกายนประจำปี 2022 ว่าเดือนที่ผ่านมานี้มีข่าวสารอะไรน่าสนใจบ้าง และโลกเราย่ำแย่ลงหรือดีขึ้นบ้างแล้วนะ

ห่างกันไปพักใหญ่กับคอลัมน์รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือน แต่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่เดือน ๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อมยังคงเดขึ้นให้เราเห็นอยู่บ่อยครั้งจากทุกมุมโลก จนเรียกได้ว่า เกิดจนเป็นปกติแล้วก็ย่อมได้

แต่แน่นอน เราไม่อยากชินกับเรื่องพวกนี้สักเท่าไหร่ เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมานั้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเรา ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก และส่งผลต่ออนาคต

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นข่าวด่วนที่แก้ไขช้าที่สุด เพราะกว่าจะอุบัติขึ้นมาได้ใช้เวลาสะสมปัญหานานหลายปี แต่บางปปัญหาก็เกิดขึ้นได้เพียงระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น สิ่งที่ควรทำที่สุดในช่วงเวลานี้ คือการต้องมาช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหาต้นเหตุที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุด

สปริงนิวส์ ชวนมาย้อนดูว่าในเดือนพฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา ในแต่ละมุมโลกต้องประสบพบเจอกับเรื่องราวของสิ่งแวดล้อมเรื่องใดบ้าง เรื่องไหนที่ควรดีใจ เรื่องไหนที่ควรติดตาม งั้นดูกันเลย เดือนแห่งการหารือ : รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ประจำเดือนพฤศจิกายน

เพนกวินจักรพรรดิถูกขึ้นบัญชี สัตว์ใกล้สูญพันธุ์เรียบร้อยแล้ว!

จนได้นะเจ้าเพนกวิน! เพนกวินจักรพรรดิ ได้ถูกจัดหมวดหมู่ใหม่ โดยจะได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ หรือ ESA แล้วเรียบร้อย เรื่องนี้เรียกได้ว่าเป็นกระดิ่งอีกอันที่ลั่นเพื่อเตือนใจชาวโลกแล้วว่า สัตว์กำลังสูญพันธุ์ไปอีกสปีชีส์หนึ่งละนะ

ในหมู่มวลของเพนกวินที่เรารู้จักทั้งหมดกว่า 18 สายพันธุ์ เพนกวินจักรพรรดิคือพี่ใหญ่ที่สุดของครอบครัวเพนกวิน น้ำแข็งทะเลบางส่วนของคาบสมุทรแอนตาร์กติกละลายไปมากกว่า 60% ภายใน 30 ปีที่ผ่านมาตามรายงานจากสถาบัน Woods Hole Oceanographic Institution

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้นบ้านของเพนกวินจักรพรรดิจึงถูกคุกคามหนักขึ้นเรื่อย ๆ กับการขาดแคลนบ้าน และการบีบคั้นให้ต้องลงน้ำเอาตัวรอด แม้ในน้ำจะเต็มไปด้วยศัตรูตัวฉกาจอย่างแมวน้ำเสือและวาฬเพชฌฆาตก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งละลาย

องค์กร US Fish and Wildlife Service จึงได้จัดหมวดใหม่ โดยระบุว่า เพนกวินจักรพรรดิ จะได้รับการคุ้มครองใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ หรือ ESA (Environmental Site Assessment) ซึ่งประกาศที่ผ่านมานี้ผ่านการพิจารณามาอย่างยาวนานถึง 1 ปีกว่าเพนกวินจักรพรรดิจะได้การคุ้มครองอย่างเป็นทางการ

อ่านต่อ >>> เพนกวินจักรพรรดิถูกขึ้นบัญชี สัตว์ใกล้สูญพันธุ์เรียบร้อยแล้ว!

เริ่มประชุมหารือแก้ไขโลกร้อน COP27 ได้ก่อตั้งกองทุนช่วยประเทศเปราะบาง

เดือนนี้เป็นอีกเดือนที่สำคัญอีกเดือนหนึ่งเลย เพราะมีการประชุมระดับชาติ ที่เรารู้จักกันดี นั่นคือ COP27 การประชุมนี้ได้รวมเอาผู้นำและตัวแทนของแต่ละประเทศ มาหารือและประกาศเป้าหมายร่วมกัน ในการดำเนินการแก้ปัญหาของภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change

เดือนแห่งการหารือ รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ประจำเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในปีนี้ การประชุม COP27 จัดขึ้นในวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2022 เป็นเวลาทั้งสิ้น 12 วัน ณ เมืองชาร์ม เอล ชีค (Sharm el-Sheikh) ซึ่งเป็นเมืองของอียิปต์ทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรซีนาย (Sinia)

สิ่งที่เราได้หลังจากงานประชุมในครั้งนี้ที่เด่นชัดที่สุด คือนโยบายของแต่ละประเทศที่จะมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน และการจัดตั้งกองทุน Loss and Damage Fund เพื่อชดเชยความสูญเสียและความเสียหายให้กับประเทศเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ส่วนใหญ่มาจากการปล่อยมลพิษของเมืองใหญ่

อ่านเพิ่มเติม

สรุปข้อตกลงใน COP27 เราได้อะไรใหม่จากการประชุมครั้งนี้บ้าง?

เวที COP27 จะบังคับประเทศร่ำรวยช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างไร?

เตรียมความพร้อมเพื่อโลก COP27 คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ หารือเรื่องอะไรบ้าง?

เกรตา ธันเบิร์ก ปฏิเสธเข้าร่วม COP27 ย้ำชัดว่าคืองานฟอกเขียว ดีแต่พูด

อุณหภูมิโลกเพิ่มเป็น 1.15 องศาเซลเซียสแล้ว อุตุฯโลกเผย 8 ปีที่ผ่านมา ร้อนสุด

เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2565 ที่ผ่านมา ณ ชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ (WMO) หรือ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก นำโดย นาย Petteri Taalas เลขาธิการขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้กล่าวบนเวทีเปิด COP27 โดยเผยว่า 8 ปีที่ผ่านมา เป็นเส้นทางของระยะเวลาที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นและความร้อนสะสม คลื่นความร้อนที่รุนแรง ความแห้งแล้ง และอุทกภัยที่รุนแรง

การเปลี่ยนแปลงกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตั้งแต่ปี 1993 โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 10 มม. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 สู่ระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ในปีนี้ หรือหากคิดเป็นเพียง 2 ผีครึ่งที่ผ่านมา ก็คิดเป็น 10% ของระดับน้ำทะเลโดยรวมที่เพิ่งขึ้น นับตั้งแต่มีการตรวจวัดเมื่อราว ๆ 30 ปีก่อน

อ่านต่อ >>> อุณหภูมิโลกเพิ่มเป็น 1.15 องศาเซลเซียสแล้ว อุตุฯโลกเผย 8 ปีที่ผ่านมา ร้อนสุด

เวลส์วอนชาวเอฟล์อย่างวางถุงเท้าให้ด็อบบี้อีก เพราะทำลายชายหาด

ขอเบรกสาวกแฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาพยนตร์แฟนตาซีชื่อดังของอังกฤษหน่อย เกิดเป็นประเด็นดราม่าขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ว่าสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์จุดหนึ่งกลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวอย่างล้นหลาม

ซึ่งหากใครชอบตัวละคร ด็อบบี้ จากภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ละก็จะรู้ดีว่า หนึ่งในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์อย่างการให้ถุงเท้าแก่ด็อบบี้เพื่อปล่อยด็อบบี้เป็นอิสระ ถูกกลายมาเป็นแลนด์มาร์กการท่องเที่ยวไปโดยปริยาย

ซึ่งฉากสุดท้ายคือฉากการตายของด็อบบี้ที่ช่วยแฮร์รี่ไว้ได้ เกิดขึ้นที่ชายหาด Freshwater West Beach ใน Pembrokeshire ตั้งอยู่ที่ประเทศ เวลส์ (Welsh) หนึ่งในสหราชอาณาจักร นั่นจึงทำให้ผู้ชื่นชอบด็อบบี้แห่แหนนำถุงเท้าไปวางไว้ในบริดังกล่าวจำนวนมาก

แต่กลายเป็นว่า การถุงเท้าหรือสิ่งของอื่นๆ ที่คนนำไปวางรำลึกถึง ด๊อบบี้ (Dobby) กลับสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศในภายหลัง ซึ่งหนึ่งในเสียงแสดงความคิดเห็นที่กระตุ้นแนวคิดนี้ ได้เป็นอย่างดีด้วยข้อความที่ว่า

อ่านต่อ >>> รักและรำลึกด็อบบี้ได้แต่วอนไม่วางถุงเท้าทำลายชายหาด-สิ่งแวดล้อมทางทะเล

UN ประกาศ ประชากรโลกแตะ 8 พันล้านคนแล้ว เสี่ยงวิกฤตขาดแคลนทรัพยากร

สหประชาชาติ หรือยูเอ็น เผยแพร่รายงานที่ประเมินว่า ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 8 พันล้านคน ในวันที่ 15 พ.ย. และระบุว่า การเติบโตของจำนวนประชากรอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเป็นผลมาจากอายุขัยมนุษย์เพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากการพัฒนาด้านสาธารณสุข โภชนาการ สุขอนามัยส่วนบุคคล และการแพทย์ รวมถึง การเจริญพันธุ์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางประเทศ

ทั้งนี้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอีก 1 พันล้านคนภายใน 12 ปีที่ผ่านมา แต่อัตราการเติบโตจะลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือไม่ถึง 1% ต่อปี  ซึ่งจะทำให้มีประชากรโลกเพิ่มเป็น 9 พันล้านคน ในอีก 15 ปีข้างหน้า หรือปี 2580 หลังจากนั้นประชากรโลกจะถึงจุดสูงสุดที่ 1.04 หมื่นล้านคน ภายในช่วงปี 2623-2632 และคงที่ต่อเนื่องจนถึงปี 2643

ด้านผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า เมื่อประชากรโลกมากขึ้น แรงกดดันต่อทรัพยากรก็เพิ่มขึ้นด้วยเพราะประชาชนจะแย่งชิงกับสัตว์ป่าเพื่อทรัพยากรน้ำ อาหาร และพื้นที่

นอกจากนี้ การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็วท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จะยิ่งทำให้เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ และความขัดแย้งมากขึ้นในช่วงหลายสิบปีข้างหน้าและเมื่อทรัพยากรอย่าง น้ำ อาหาร หรือ น้ำมันเบนซิน ไม่อาจเพิ่มขึ้นได้ทันการเติบโตของประชากรโลก จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ทรัพยากร

อ่านต่อ >>> ประชากรโลกครบ 8 พันล้านคนแล้ว UN ชี้เสี่ยงวิกฤตทรัพยากรขาดแคลน

จากเวที COP27 กว่า 150 ประเทศลงนามลดปล่อยมีเทน แต่จีน รัสเซีย ตีบทนิ่ง

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือ COP 27 มี กว่า 150 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนระดับโลก ซึ่งหากเทียบกับปีก่อนหน้าใน COP 26 ที่ข้อตกลงเพิ่งเกิดขึ้น จำนวนประเทศที่เข้าร่วมมีเพิ่มขึ้นถึง 50 ประเทศ แต่ทว่าท่าทีของจีน และ รัสเซีย ยังนิ่งเฉยต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมเรื่องนี้

การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30% ในทศวรรษนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของความพยายามในการควบคุมอุณหภูมิโลกร้อนไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ

อ่านต่อ >>> COP 27 : กว่า 150 ประเทศลงนามลดปล่อยมีเทน แต่จีน รัสเซีย ตีบทนิ่ง

แผ่นดินไหวรุนแรงที่ชวาของอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตเกินร้อยราย

เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวอินโดนีเซีย ที่เกาะชวาในครั้งนี้ มีความรุนแรงสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก จากรายงานล่าสุดพบเสียชีวิตแล้ว 200 กว่าราย สูญหายอีกหลายร้อยราย นอกจากนี้ยังมีแผ่นดินถล่มในอีกหลายแห่งรอบๆ เมืองวง Cianjur ทำให้อาคารสถานที่สำคัญได้รับความเสียหายกว่า 10 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล และสิ่งสาธารณะอื่นๆ จึงต้องอพยพประชาชนมายังบริเวณถนนของเมืองเพื่อความปลอดภัย

อ่านต่อ >>> แผ่นดินไหวรุนแรงที่ชวาของอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิต 46 บาดเจ็บราว 700 ราย

แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ที่หมู่เกาะโซโลมอน หวั่นระวังสึนามิ

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2565 เวลา 09.03 น. (เวลาประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ที่หมู่เกาะโซโลมอน ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศปาปัวนิวกินี

ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ผู้คนเมืองหลวง Honiara รายงานว่ามีการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงเป็นเวลาประมาณ 20 วินาที ท่ามกลางคำเตือนสึนามิในทันที สำนักนายกรัฐมนตรีแนะนำชาวบ้านย้ายขึ้นที่สูง และยังมีรายงานเพิ่มเติมว่าเกิดแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 ขนาด 6.0 บริเวณใกล้เคียงในช่วงเวลาห่างจากครั้งแรก 30 นาที

อ่านต่อ >>> เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ที่หมู่เกาะโซโลมอน สั่งเฝ้าระวังสึนามิ

นักวิทย์ คืนชีพ "ไวรัสซอมบี้" อายุ 50,000 ปีที่ถูกพบในไซบีเรีย

อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปว่า นักวิทย์จะขุดค้นเชื้อไวรัสขึ้นมาทำไม ให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เพราะการขุดค้นนี้นั้นสำคัญมาก ๆ

หลังจากน้ำแข็งเริ่มละลายเพราะภาวะโลกร้อน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบกับ “ไวรัสซอมบี้” จำนวนหนึ่งในไซบีเรีย จากการประเมินพบว่า มันมีอายุอยู่ใต้น้ำแข็งมาแล้วประมาณ 50,000 ปี และมีความสามารถในการแพร่เชื้อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้ด้วย

เดือนแห่งการหารือ รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ประจำเดือนพฤศจิกายน

การศึกษาพวกมันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่ว่าเราจะสามารถประเมินประสิทธิภาพของพวกมันได้ว่า เชื้อไวรัสเหล่านี้อันตรายมากแค่ไหน ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราต้องศึกษาพวกมัน เพื่อให้เราสามารถคิดค้นและพัฒนายาต้านไวรัส หรือหาทางป้องกัน หากเชื้อไวรัสเหล่านี้เกิดการแพร่ระบาด

อ่านต่อ >>> นักวิทย์ คืนชีพ "ไวรัสซอมบี้" อายุ 50,000 ปีที่ถูกพบในไซบีเรีย

พบซากเต่าตนุตายเกยตื้น ผ่าพบหมุด ตะปู จากเทศกาลลอยกระทง

วันที่ 27 พ.ย. 65 เวลา 9.30 น. ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ (ศอพต.) ได้รับแจ้งจาก พ.จ.อ.จุลทิตย์ ศรีอนันต์ เจ้าหน้าที่กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก ว่าพบ ซากเต่าทะเลขนาดใหญ่ลอยเกยตื้น บริเวณริมชายหาดกินรี (หาดขลอดสัตหีบ ) อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการเก็บกู้ซากเต่า นำกลับมาผ่าชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตที่ โรงพยาบาลเต่าทะเล กองทัพเรือ

ผลการชันสูตร : สภาพซากเน่ามาก

  • ไม่พบบาดแผลภายนอก ลำตัว
  • อวัยวะหลายส่วนเริ่มเน่าสลาย
  • ภายในระบบทางเดินอาหารพบ อาหารจำพวก สาหาร่ายทะเล แมงกระพรุน ไข่ปลา
  • พบขยะทะเล และสิ่งแปลกปลอมภายในระบบทางเดินอาหารจำนวนมาก เช่น หมุด ตะปู จากกระทง อวน เชือกไนล่อน แผ่นพลาสติก อุดตันในลำไส้

อ่านต่อ >>> สลด! พบซาก "เต่าตนุ" อายุ 20 ปี ผ่าพิสูจน์พบกินหมุด ตะปู จากกระทงดับอนาถ

related