svasdssvasds

เลือกตั้ง 2566 ส.ว.เสียงแตก เมื่อก้าวไกลส่ง "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" นั่งนายกฯ

เลือกตั้ง 2566 ส.ว.เสียงแตก เมื่อก้าวไกลส่ง "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" นั่งนายกฯ

ส.ว. "เสียงแตก" เมื่อพรรคก้าวไกล ที่มีชื่อของ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ประกาศจัดตั้งรัฐบาล และพร้อมเป็นนายกฯ คนที่ 30

 หลังจากผลการนับคะแนนเลือกตั้ง 2566 ผ่านพ้นไป เริ่มเห็นผลคะแนนอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งพรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่ได้ที่นั่งเป็นอันดับ 1 คือ 150 ที่นั่ง รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย 141 ที่นั่ง 

ด้านพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงข่าวประกาศความพร้อมจัดตั้งรัฐบาล ระบุว่า ตอนนี้รวมได้ 5 พรรคแล้ว คือ

• พรรคก้าวไกล

• พรรคเพื่อไทย

• พรรคไทยสร้างไทย

• พรรคประชาชาติ

• พรรคเสรีรวมไทย

• พรรคเป็นธรรม

ซึ่งขณะนี้กำลังเจรจากันอยู่ ได้ 309 เสียง ยืนยันจะตั้ง สสร. แก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมตั้งทีมงานเปลี่ยนผ่านรัฐบาล

ล่าสุด หลายฝ่ายจับตาท่าทีของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 เสียงในสภา ที่มีอำนาจ (พิเศษ) ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี 

ท่าทีของ 5 ส.ว. กับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 

 • นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

เปิดเผยว่า หากใครรวมเสียงได้มากกว่า 250 เสียง ต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ภารกิจก้าวไกลจะรวมพรรคอื่นได้เกิน 251 เสียงจนถึง 376 หรือไม่ ก็ไม่แน่ใจว่าคนได้เสียงอันดับ 1 จะต้องเป็นรัฐบาลเสมอ ครั้งที่แล้วพรรคเพื่อไทยมีเสียงมาอันดับ 1 แต่ก็ต้องเป็นฝ่ายค้าน

ต้องดูว่าพรรคก้าวไกลจะตกลงเรื่องนโยบาย และบุคคลที่เป็นนายกฯกับพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่ ถ้าประสานพรรคเพื่อไทย หรือพรรคอื่นๆอย่างพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา ก็แทบจะขาดลอย ไม่ต้องใช้เสียงส.ว.แม้แต่เสียงเดียว

อย่าคิดว่า ส.ว.จะโหวตให้ใครหรือไม่ เท่าที่สังเกตจะเห็นว่า มี ส.ว.หลายคนประกาศชัด จะไม่ดูที่เสียงข้างมากอันดับ 1 เพียงอย่างเดียว จะต้องดูคนเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี นโยบายพรรคการเมือง  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ที่มา ส.ว. 250 คน มาจากไหน ทำหน้าที่อะไร มีผลกับการเลือกตั้ง 2566 อย่างไรบ้าง

• นักวิชาการ เปิดโหวต ถามประชาชน เห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ

• ย้อนดู อำนาจ ส.ว. กับการเลือกนายกฯ ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน จับตาเลือกตั้ง 66

เลือกตั้ง 2566 ส.ว.เสียงแตก เมื่อก้าวไกลส่ง "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" นั่งนายกฯ

• นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

ผลการเลือกตั้ง 14 พ.ค.66 สะท้อนเจตนามหาชนชัดเจนแล้ว จากนี้ไปควรปล่อยให้กลไกประชาธิปไตยทำงานต่อ

ไม่ว่าใครก็ตาม อย่าได้แทรกแซงไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใด ร่วมกันสานพลังสร้างชาติ ตามบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่าย จะดีกว่าประเทศไทยถึงจะไปต่อได้

• นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

ไม่มีธง แต่ต้องเป็นคนที่จงรักภักดีต่อสถาบันชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ ไม่ทำให้บ้านเมือง วุ่นวาย ขัดแย้งจนต้องลงถนน 

สิ่งที่สำคัญ ถ้าพรรคที่เป็นแกนนำในการตั้งรัฐบาล ไม่สามารถรวมเสียงได้ถึง 376 เสียง เพื่อปิดสวิตช์ ส.ว.อัตโนมัติ ก็อาจเลือกรอบแรกไม่ผ่าน

• นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

“ผมว่าผมชัดเจนมาโดยตลอดนะครับได้ให้สัมภาษณ์มาแต่ครั้ง มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็น 1 ใน 23 ส.ว.ที่ปิดสวิตช์ตนเองในการใช้สิทธิเลือกนายกรัฐมนตรี แต่การที่สื่อนำไปลงสั้นๆ แค่นั้น น่าจะยังไม่ชัดเจนพอ

ขอนำมาสรุปให้ชัดขึ้นว่าคราวนั้น ผมให้สัมภาษณ์ต่อไปว่า

ใครรวมได้เสียงข้างมาก เกิน 250 เสียงในสภาผู้แทนราษฎรก็ได้เป็นนายกฯ ได้เป็นรัฐบาลครับ ไม่มีใครขวางได้

• นายจเด็จ อินสว่าง สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้พรรคก้าวและนายพิธา เคยประกาศในการที่จะเลิกมาตรา 112 ซึ่งกระทบกระเทือนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะด้อยค่าสถาบันฯ ที่เรารับไม่ได้

 นายจเด็จ กล่าวว่า ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้นคือไม่เห็นชอบแม้จะรวมเสียง ส.ส.มาได้เท่าไหร่ก็ตามจะเป็น 309 เสียงของสภาฯ อย่างที่แถลงไว้หรือจะไปถึง 376 เสียงก็แล้วแต่ที่หากได้ถึง 376 ก็ไม่ต้องมาพึ่ง ส.ว.แต่หากได้มาสัก 309 เสียง ก็ยังต้องถาม ส.ว.

ส่วนตัวผม ถ้าเสนอชื่อมาเป็นนายพิธา ผมไม่รับ จะลงมติไม่เห็นชอบเพราะผมจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและคำปฏิญาณ 

related