svasdssvasds

ย้อนดูประวัติศาสตร์ผ่านเนื้อเพลง ความเป็นดิจิทัลอะไรฝังในชีวิตเราบ้าง ?

ย้อนดูประวัติศาสตร์ผ่านเนื้อเพลง ความเป็นดิจิทัลอะไรฝังในชีวิตเราบ้าง ?

ปฎิเสธไม่ได้ว่าใคร ๆ ก็ต้องฟังเพลงไม่มากก็น้อย แต่สิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ สิ่งที่อยู่ในเนื้อเพลง ซึ่งถูกศิลปินใส่ความเป็นอยู่ในยุคนั้น ๆ ลงไปด้วย SPRiNG จะชวนคุณมาดูหน่อยว่า ชีวิตดิจิทัลในเนื้อเพลงมีอะไรที่แทรกซึมลงไปโดยที่เราไม่รู้ตัว

สิ่งหนึ่งที่บ่งบอกประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้เป็นอย่างดีคือ เพลง มนุษย์มักมองหาสิ่งที่สร้างความเพลินเพลินให้กับตัวเองอยู่เสมอ และเพลงก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตใครหลาย ๆ คน หากมองลึกลงไปจะพบว่าในเนื้อเพลงต่าง ๆ มีประวัติศาสตร์มาแอบแฝงอยู่ ตั้งแต่การเกี้ยวพาราสี การติดต่อสื่อสาร ไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน

ยิ่งพอมาถึงยุคดิจิทัล การใช้งานโลกดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราเสียจนแยกไม่ออก ตั้งแต่การเรียกรถโดยสาร-สั่งอาหารผ่าน Grab การสาปแช่งให้โดนทัวร์ลงใน Facebook ไปจนถึงไม่อ่าน LINE แต่ก็ไม่โทรหา เป็นต้น

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

หากยกตัวอย่างให้เห็นเลยคงต้องเริ่มจากหมวดหมู่เพลงยอดนิยมอันดับ 1 ของไทย เพลงลูกทุ่ง อย่างเพลง ห้ามตั๋ว - มีนตรา อินทิรา Feat. OG-ANIC ก็มีท่อนหนึ่งที่ร้องว่า "...ตั๋วเฮาขอให้ไอจีล่ม เฟซถืกถล่ม ทัวร์ลงบ่ฟื้นเด้อ เด้อเธอ..."

ตามาด้วยเพลงยอดฮิตล่าสุดอย่าง ฉลามชอบงับคุณ - Bonnadol Feat. IIVY B กับท่อนแร็พว่า "กินเจ ไม่กินหูฉลาม อยากจะขอเรียก แกร็บ พี่บ้อนโอนได้ป่าว~"

ขณะที่เพลง เกินปุยมุ้ย (aww) - เอ้ย จิรัช ก็ยังคงมี Grab กับท่อนที่ร้องว่า  "ไม่ว่ากลางวัน ไม่ว่ากลางคืน ต่อให้ต้องเรียก GRAB ก็จะไป"

นั่นแสดงให้เห็นว่าชีวิตคนปัจจุบันผูกพันธ์กับ Grab ในการสั่งอาหารและเดินทาง แค่ใช้คำว่า Grab ก็สื่อได้ทันทีว่าคืออะไร

ส่วนเพลง อยู่ดีๆก็... - WONDERFRAME(Feat. YOUNGOHM) กลายเป็นหนึ่งในเพลงที่ SPRiNG นึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ เพราะแอปฯ ที่อยู่ในเพลงนี้เข้ามาปฎิวัติวงการสื่อสารของไทยแอปฯ หนึ่งเลยก็ว่าได้ กับท่อนที่ร้องว่า "อยู่ดีๆ ก็หาย Line ไม่ตอบ อยู่ดีๆ เปลี่ยนไป ไม่รู้ทำไม"

กลายเป็นสิ่งที่สื่อถึงวิถีชีวิตคนในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับแชทต่าง ๆ ลดลงเพราะสามารถติดต่อสื่อสารได้ง่ายและเร็วมากขึ้นจนไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันไป โดยในเนื้อเพลงเป็นการเล่าจากฝ่ายส่งข้อความที่ไม่ได้รับการตอบกลับ ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายรับแค่กดมือถือพิมพ์กลับมา

ต่างจากเพลง Please Mr Postman – เดอะคาร์เพนเทอส์ กับเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่งที่รอบุริษไปรษณีย์ในทุก ๆ เช้า เพื่อรอจดหมายจากคนรัก ซึ่งแสดงถึงความยากลำบากและความสำคัญในการรอการตอบกลับของใครสักคนหนึ่ง

ส่วนเพลง ทักครับ - Lipta Feat. GUYGEEGEE ก็เป็นอีกหนึ่งเพลงที่น่าสนใจเพราะใส่ทั้ง คริปโทเคอร์เรนซี และ แอปฯ ไลฟ์ไว้ในเพลงเดียวกันทั้ง Mico และ คำว่า คริปโทฯ ในเนื้อเพลง "นั่งส่องเธออยู่ใน mico ให้เงินเธอเป็น crypto"

ลองจินตนาการดูว่าในอีก 50 ปี หากแอปฯเหล่านี้สูญพันธุ์ไป เด็กรุ่นใหม่อาจงงก็ได้ว่า คำเหล่านี้คืออะไร ? เหมือนเพลง I Just Called to Say I Love You - สตีวี วันเดอร์ ที่เด็กรุ่นใหม่ไม่เข้าใจว่า แค่การโทรมาบอกรักทำไมมันถึงสำคัญขนาดนั้น ?

แล้วเพลงที่คุณฟังมีเพลงไหนที่แฝงชีวิตดิจิทัลในนั้นบ้าง ?

related